สภาพอากาศและสภาวะแวดล้อมถือเป็นส่วนสำคัญทั้งในอาคาร โรงงาน รวมถึงสถานประกอบการขนาดใหญ่ ซึ่งจำเป็นต้องมีการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น การระบายอากาศ และการปรับอากาศให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ เพื่อให้ผู้ใช้งานอาคารนั้นเกิดความสบาย มีอากาศที่ถ่ายเท และเหมาะกับจำนวนคนที่อยู่ภายในอาคาร จึงมีการออกกฎหมายและข้อกำหนดต่าง ๆ ออกมาเพื่อการปรับอากาศในอาคารหรือโรงงานเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน
การปรับอากาศในอาคารสำคัญอย่างไร?
ในโรงงาน อาคาร และสถานประกอบการขนาดใหญ่จำเป็นต้องมีการปรับอากาศ รวมถึงการควบคุมและรักษาระดับความร้อนให้เหมาะสม เนื่องจากการปรับอากาศที่ไม่มีประสิทธิภาพเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความสะดวกสบายของผู้ใช้อาคาร โดยเฉพาะอาคารที่มีการปิดมิดชิด เช่น โรงงาน ห้องคลีนรูม ห้องไลน์ผลิต ฯลฯ ซึ่งอาจมีการหมุนเวียนของอากาศภายในอาคารจำกัดหรือมีการถ่ายเทอากาศจากภายนอกน้อยเกินไป จนอาจทำให้เกิดการสะสมของก๊าซคารบอนไดออกไซด์ในปริมาณมากและเกิดการสะสมสารมลพิษต่างๆ รวมถึงความชื้นที่ไม่สมดุลยังก่อให้เกิดเชื้อโรคและทำให้คุณภาพของอุปกรณ์ต่าง ๆ เสื่อมลงเร็วขึ้นอีกด้วย
นอกจากนี้ อุณหภูมิในอาคารที่มีความร้อนสูง การสะสมของฝุ่นและสารเคมีในอาคารอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายของผู้ใช้งานอาคารอีกหลายประการ เช่น ภาวะ Sick Building Syndrome โดยจะมีอาการปวดศีรษะ คัดจมูก ระคายเคืองตา ไอ จาม และเป็นผื่นตามผิวหนัง รวมถึงปัญหาสุขภาพที่เกิดจากความร้อน ได้แก่
- มีไข้ (Fever หรือ Pyrexia)
- ลมแดด (Heat Stroke) และการเป็นลม (Heat Syncope)
- หน้ามืดเป็นลม (Fainting หรือ Heat Syncope)
- อ่อนเพลียเนื่องจากความร้อน (Heat Exhaustion)
- ร่างกายขาดน้ำ (Dehydration)
- เกิดตะคริวเนื่องจากความร้อน (Heat Cramp)
ดังนั้น ในโรงงาน อาคาร และสถานประกอบการขนาดใหญ่ จึงจำเป็นต้องมีการติดตั้งระบบปรับอากาศและจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคารให้มีคุณภาพที่ดี โดยติดตั้งระบบปรับอากาศ HVAC และออกแบบระบบระบายอากาศให้เพียงพอกับพื้นที่หรือกิจกรรมภายในอาคาร ตลอดจนการปฏิบัติตามแนวทางของกฎหมายและข้อกำหนดอย่างถูกต้อง
กฎหมายแรงงานและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง มีอะไรบ้าง?
ในประเทศไทยของเรานั้นได้มีการออกกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการปรับและรักษาคุณภาพอากาศในอาคารให้เหมาะสม ดังนี้
กฎกระทรวงแรงงาน
กระทรวงแรงงานได้ออกกฎกระทรวง การกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่างและเสียง พ.ศ. 2559
- ข้อที่ 2 ได้กำหนดไว้ว่า ให้นายจ้างควบคุมและรักษาระดับความร้อนภายในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้าง ทํางานอยู่ไม่ให้เกินมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
(1) งานที่ลูกจ้างทำในลักษณะงานเบาต้องมีมาตรฐานระดับความร้อนไม่เกินค่าเฉลี่ย อุณหภูมิ wet bulb 34 องศาเซลเซียส
(2) งานที่ลูกจ้างทําในลักษณะงานปานกลางต้องมีมาตรฐานระดับความร้อนไม่เกินค่าเฉลี่ย อุณหภูมิ wet bulb 32 องศาเซลเซียส
(3) งานที่ลูกจ้างทําในลักษณะงานหนักต้องมีมาตรฐานระดับความร้อนไม่เกินค่าเฉลี่ย อุณหภูมิ wet bulb 30 องศาเซลเซียส - ข้อที่ 3 ในกรณีที่ภายในสถานประกอบกิจการมีแหล่งความร้อนที่อาจเป็นอันตราย ให้นายจ้างติดป้ายหรือประกาศเตือนอันตรายในบริเวณดังกล่าว โดยให้ลูกจ้างสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
ในกรณีที่บริเวณการทํางานตามวรรคหนึ่งมีระดับความร้อนเกินมาตรฐานที่กําหนด ให้นายจ้างดําเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขสภาวะการทํางานทางด้านวิศวกรรม เพื่อควบคุมระดับความร้อนให้เป็นไปตามมาตรฐานและจัดให้มีการปิดประกาศและเอกสารหรือหลักฐานในการดําเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขเพื่อให้พนักงานสามารถตรวจสอบได้
แต่ในกรณีที่ไม่สามารถดําเนินการได้ ให้นายจ้างจัดให้มีมาตรการควบคุมหรือลดภาระงาน และต้องจัดให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามที่กําหนดตลอดเวลาที่ทํางาน
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม. ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2513)
ในมาตรา 39 แหงพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 รัฐมนตรีวาการกระทรวง อุตสาหกรรม ออกประกาศกํ าหนดหลักเกณฑและวิธีการที่ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานทุกประเภทหรือชนิดมีหน้าที่กระทำการไว้ ดังนี้
- ข้อที่ 24 ต้องจัดให้มีการระบายอากาศที่เหมาะสม โดยให้มีพื้นที่ ประตู หน้าต่าง และช่องลมรวมกันโดยไม่นับที่ติดต่อระหว่างห้องไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ส่วน ของพื้นที่ของห้องในเวลาปฏิบัติงาน หรือมีการระบาย อากาศไม่น้อยกว่า 0.5 ลูกบาศก์เมตรต่อนาทีต่อคนงาน 1 คน ทั้งนี้สำหรับโรงงานโดยทั่วไปที่ไม่มีการเก็บหรือ การใช้วัตถุมีพิศ วัตถุเคมี วัตถุไวไฟ วัตถุระเบิด หรือวัตถุอื่นที่อาจเป็นอันตราย หรือที่อาจเป็นฝุ่นละออง
- ข้อที่ 25 ในการปฏิบัติงานเป็นครั้งคราวในที่อับ ซึ่งอากาศไม่ถ่ายเท ต้องใช้เครื่องช่วยในการหายใจ หรือ เครื่องระบายอากาศที่ดีช่วยในการปฏิบัติงานของคนงาน และอย่างน้อยต้องมีคนหนึ่งประจําอยู่ปากทางเข้าออกที่อับ สำหรับคอยให้ความช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา
นอกจากนี้ ยังมีมาตรฐานของคุณภาพอากาศภายในอาคารที่มีการกำหนดจากหลายหน่วยงาน เช่น ASHRAE 62.1-2010, Singapore : SS 554 : 2009, Singapore : SS 554 : 2016, Hong Kong, OSHA และ NIOSH ที่มีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายรวมถึงในประเทศไทยบ้านเราด้วยเช่นกัน
การจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคาร ทำได้อย่างไร?
ปัจจุบันในอาคาร โรงงาน และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่นิยมใช้ HVAC เข้ามาเป็นระบบระบายอากาศในโรงงานและระบบระบายอากาศในอาคาร เนื่องจาก HVAC ประกอบไปด้วย Heating (การทำความร้อน) , Ventilation (การระบายอากาศ) และ Air conditioning (การปรับอากาศ) ที่สามารถควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น ความดัน รวมถึงกรองสิ่งสกปรกในอากาศเพื่อให้อากาศบริสุทธิ์และเหมาะสมกับพื้นที่ใช้งานขนาดใหญ่ รวมถึงพื้นที่ที่ต้องการควบคุมสภาวะอากาศอย่างเคร่งครัด เช่น ห้องคลีนรูม ห้องปลอดเชื้อความดันบวก ห้องปลอดเชื้อความดันลบ ห้องทดลอง อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ เป็นต้น
ทำไมอาคาร โรงงาน และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จึงเลือกใช้ระบบปรับอากาศ HVAC มากกว่า Air Conditioner?
อ่านต่อ ระบบปรับอากาศ HVAC ต่างจาก Air Conditioner อย่างไร
ออกแบบและติดตั้งระบบปรับอากาศในอาคารกับ CAI Engineering
CAI Engineering รับออกแบบและติดตั้งระบบปรับอากาศภายในห้องคลีนรูม อาคาร และโรงงานอุตสาหกรรมหลากหลายประเภทโดยวิศวกรชำนาญการด้านระบบ HVAC ที่มีประสบการณ์กว่า 19 ปี และได้มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างระบบบริหารจัดการอาคารอัตโนมัติ (BAS) ด้วยคอนโทรลเลอร์คุณภาพสูงจากแบรนด์ Sauter เพื่อมอบความความปลอดภัยขั้นสูงและความสะดวกสบายในการใช้งานอาคาร เพื่อให้ระบบปรับอากาศและระบายอากาศในอาคารหรือโรงงานเป็นไปตามข้อกำหนดของกฏหมายแรงงานและมาตรฐานที่สากลกำหนด