“จุดความร้อน” (Fire Hotspot) คืออะไร? เกี่ยวข้องอย่างไรกับฝุ่น PM 2.5

“จุดความร้อน” (Fire Hotspot) คืออะไร? เกี่ยวข้องอย่างไรกับฝุ่น PM 2.5

ในปัจจุบันท้องฟ้าต่างปกคลุมไปด้วยหมอกควัน ฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 ที่พุ่งสูงขึ้นจนแตะระดับอันตรายในหลายภาคส่วนของประเทศไทย ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นมลพิษทางอากาศขนาดใหญ่ที่ส่งผลทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ เช่น โรคหัวใจ โรคปอด และระบบทางเดินหายใจ นอกจากนี้มลพิษทางอากาศยังส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน เนื่องจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น คาร์บอนไดออกไซด์และมีเทน ซึ่งสะสมในชั้นบรรยากาศ อีกทั้งยังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ซึ่งหนึ่งในสาเหตุหลักของปัญหามลพิษทางอากาศเหล่านี้มาจาก “จุดความร้อน” (Fire Hotspot) หรือพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงผิดปกติ โดยมักเกิดจากไฟป่า (Forest Fire) ไฟใต้ดิน (Ground Fire) การเผาไหม้ตอซังหรือฟางข้าว การเผาขยะ หรือการเผาเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูก เป็นต้น โดยจุดความร้อนเหล่านี้ส่งผลร้ายแรงต่อทั้งสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์

ทำความรู้จักกับจุดความร้อน (Fire Hotspot)

จุดความร้อน (Fire Hotspot) คือ พื้นที่หรือจุดที่มีอุณหภูมิสูงผิดปกติ ซึ่งสามารถตรวจจับได้จากจานดาวเทียม เมื่อตรวจพบจุดความร้อนที่บ่งบอกถึงการเกิดไฟป่า การเผาไหม้ของพื้นที่การเกษตร หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดความร้อนสูงในพื้นที่นั้น โดยจุดความร้อน Fire Hotspot มีไว้เพื่อวิเคราะห์และติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพพื้นดินและการเกิดไฟไหม้ได้ในเกือบทุกเวลาและทุกสภาพอากาศ ซึ่งทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถระบุตำแหน่งของไฟได้อย่างรวดเร็ว ทำให้สามารถจัดส่งทีมดับเพลิงหรือทำการป้องกันได้อย่างทันท่วงที โดยเราสามารถตรวจสอบจุดความร้อนได้ด้วยตัวเองจากเว็บไซต์ GISTDA  Link: http://fire.gistda.or.th

สาเหตุของการเกิดจุดความร้อนในพื้นที่ต่าง ๆ

สาเหตุของการเกิดจุดความร้อนในพื้นที่ต่าง ๆ

จุดความร้อนเป็นพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงผิดปกติบนผิวโลก โดยสามารถตรวจจับได้ด้วยดาวเทียม ซึ่งจุดความร้อนมักจะเกิดขึ้นจากสาเหตุหลัก ดังต่อไปนี้

  1. พื้นที่ไฟป่า: เป็นพื้นที่ที่เกิดการไหม้ของพืชพรรณและสัตว์ป่าโดยไม่ได้ตั้งใจหรือไม่ได้ถูกควบคุมโดยมนุษย์ การเกิดไฟป่าส่วนใหญ่เกิดจากการเผาพื้นที่ธรรมชาติหรือกิจกรรมมนุษย์ที่ไม่ระมัดระวัง อาทิ ไฟป่าจากธรรมชาติ การเผาเพื่อหาของป่า การล่าสัตว์ การลักลอบเผาป่าเพื่อเปลี่ยนพื้นที่ป่าเป็นพื้นที่เกษตรกรรม การลักลอบค้ายาง หรือความขัดแย้งในพื้นที่ ตลอดจนอุณหภูมิที่สูงขึ้น ความชื้นต่ำ ทำให้อากาศร้อนจัดจนเกิดเชื้อเพลิงสะสมทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า เป็นต้น
  2. พื้นที่เกษตรกรรม: ตัวอย่างเช่น การเผาเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูก การเตรียมดินสำหรับการเพาะปลูก การเผาเพื่อกำจัดวัชพืช  การทิ้งขยะอินทรีย์หรือวัสดุอื่น ๆ ที่สามารถเกิดไฟไหม้ได้ในพื้นที่เกษตรกรรม อาจเป็นตัวเร่งให้เกิดการไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรม หรือการเผาตอซังข้าวหลังการเก็บเกี่ยว จนทำให้ส่งผลต่อปัญหามลพิษทางอากาศและฝุ่น PM 2.5
  3. พื้นที่ชุมชน: โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากการเผาขยะมูลฝอย หรือการเผาเพื่อกำจัดสิ่งปฏิกูล ไม่ว่าจะเป็นเผาใบไม้ เผาเศษวัสดุเหลือใช้ การทิ้งบุหรี่หรือวัสดุไวไฟ เป็นต้น

 

สถานการณ์จุดความร้อนปัจจุบันในประเทศไทย

จากรายงานของ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ GISTDA เมื่อวันที่ 5 มีนาคม  พ.ศ. 2567  ได้กล่าวว่าประเทศไทยพบจุดความร้อนทั้งหมดจำนวน  2,230 จุด โดยระบุว่าส่วนใหญ่พบในพื้นที่ป่าอนุรักษ์จำนวน  883 จุด ตามด้วยพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 734 จุด พื้นที่เกษตร 284 จุด พื้นที่เขต สปก. 173 จุด จากแหล่งชุมชนหรือพื้นที่อื่น ๆ จำนวน 145 จุด  และพื้นที่ริมทางหลวงจำนวน 11 จุด โดยในส่วนของจังหวัดที่พบจุดความร้อนมากที่สุด ได้แก่ ลำปาง 305 จุด เชียงใหม่ 277 จุด และตาก 240 จุด 

สำหรับพื้นที่ของประเทศเพื่อบ้านใกล้เคียงระบุว่าตรวจพบจุดความร้อนมากสุดอยู่ที่ประเทศพม่าจำนวน 4,564 จุด ตามด้วยประเทศลาวจำนวน 3,184 จุด เวียดนามอยู่ที่ 905 และกัมพูชาจำนวน 838 จุด

ข้อมูลอ้างอิง: GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)

https://shorturl.asia/pXorA

ผลกระทบจากจุดความร้อนที่ทำให้เกิด PM 2.5

ผลกระทบจากจุดความร้อน (Fire Hotspot) ที่ทำให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ ได้แก่

  • เกิดฝุ่น PM 2.5: การเผาไหม้ที่จุดความร้อนเป็นแหล่งก่อให้เกิดฝุ่น PM 2.5 ที่มีขนาดเล็กและสามารถลอยไปได้ในอากาศได้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศและสุขภาพของมนุษย์ เนื่องจากฝุ่น PM 2.5 สามารถเข้าสู่ทางเดินหายใจและกระทบต่อระบบทางเดินหายใจและหัวใจของมนุษย์ ทำให้เกิดภาวะการเป็นโรคทางระบบทางเดินหายใจและโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจได้ เป็นต้น
  • ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม: บริเวณที่เกิดจุดความร้อนสามารถส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะหากมีการเผาไหม้ในพื้นที่ป่า อาจทำให้เกิดการทำลายของระบบนิเวศ และการเผาไหม้ยังส่งผลกระทบต่อสัตว์ป่าและพันธุกรรมของพืชในพื้นที่ดังกล่าวได้อีกด้วย
  • ความเสี่ยงต่อความปลอดภัย: ไฟป่าที่เกิดขึ้นอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ และอาจเป็นการก่อให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม การถลอกผิวดิน หรือลดความสามารถในการระบายน้ำของแม่น้ำในพื้นที่นั้นได้
  • การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ: การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ จากการเผาไหม้เพิ่มความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศได้นั่นเอง

 

จุดความร้อนหรือ Fire Hotspot เหล่านี้ส่งผลร้ายแรงต่อทั้งสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ทั้งการเผาไหม้ การปล่อยมลพิษทางอากาศ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5  ที่สามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจและกระแสเลือด จนส่งผลให้เกิดโรคร้ายแรงต่าง ๆ ขึ้นได้

 

ซึ่งเรา CAI Engineering เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของอากาศบริสุทธิ์ จึงมุ่งมั่นที่จะสร้างห้อง Cleanroom ที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันฝุ่น PM 2.5 และรักษาสุขภาพของผู้ใช้งาน ซึ่งท้ายนี้เรา CAI ขอฝากบทความที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานห้องคลีนรูมไม่มากก็น้อยกับบทความเรื่อง แนวทางป้องกันฝุ่นเพื่อรักษาประสิทธิภาพห้อง Cleanroom โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดฝุ่น PM 2.5 ปริมาณมากอย่างปัจจุบันนี้นั่นเอง 

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

By clicking “Accept”, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts. Privacy Policy

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า