ห้องสะอาดหรือห้องคลีนรูม (Cleanroom) เป็นห้องที่ต้องมีความสะอาดเป็นอย่างมาก รวมถึงมีการควบคุมพารามิเตอร์ต่าง ๆ และยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้องยังต้องคำนึกถึงเพื่อให้ได้ห้องคลีนรูม ราคาไม่เกินงบประมาณที่ยังสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งานและมาตรฐานของห้องคลีนรูมระดับสากล
ปัจจัยในการสร้างห้องคลีนรูมให้ได้ตามมาตรฐาน ISO 14644-1 และ GMP Pic/s
- พื้นที่ใช้งาน หรือ ผังโครงสร้าง : การสร้างห้องคลีนรูมนอกจากจะต้องคำนึกถึงลักษณะการใช้งานแล้วนั้น ยังต้องคำนึกถึงทิศทางการไหลของอากาศร่วมอีกด้วย
- วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างห้องคลีนรูม : การสร้างห้องสะอาด ควรเลือกใช้วัสดุที่ไม่กักเก็บฝุ่น ไม่มีการผ่านของอากาศ ไม่ติดไฟหรือลามไฟ เป็นต้น
- การระบายอากาศ: ห้องคลีนรูมจะต้องมีการระบายอากาศเสียและอุณหภูมิออกไปภายนอก โดยปกติห้องคลีนรูมจะมีการหมุนเวียนอากาศต่อหนึ่งชั่วโมงอยู่ที่ 20-60 ACH ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับระดับความสะอาดที่ต้องการ
- การสร้างห้องคลีนรูมให้เหมาะสมกับการใช้งาน : การที่ต้องควบคุมความดันอากาศภายในห้องว่าต้องการห้องคลีนรูมที่เป็นความดันลบหรือความดันบวก โดยจะต้องขึ้นอยู่กับประเภทการใช้งานของลูกค้า รวมถึงการควบคุมความชื้นและอุณหภูมิให้มีความมั่นคง โดยจะขึ้นอยู่กับห้องคลีนรูมประเภทนั้น ๆ
- แผ่นกรอง HEPA : ควรเลือกใช้แผ่นกรองที่สามารถกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กได้ถึง 0.3 ไมครอน เพื่อให้ได้อากาศที่บริสุทธิ์
- แสงไฟ: ห้องคลีนรูมควรมีแสงสว่างที่เพียงพอ และสม่ำเสมอ เพื่อให้มองเห็นฝุ่น และสะดวกในการทำกิจกรรมภายในห้อง
ทั้งนี้ปัจจัยดังกล่าวเป็นเพียงปัจจัยเบื้องต้น โดยสามารถดูหลักการออกแบบห้องคลีนรูมเพิ่มเติมได้ที่บทความ 12 จุดสำคัญ การออกแบบห้องคลีนรูมต้องดูอะไรบ้าง?
ปัจจัยที่ใช้ประเมินราคาหรือค่าใช้จ่ายในการสร้างห้องคลีนรูม
ห้องคลีนรูมเป็นห้องที่ต้องใช้วิศวกรผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้เกี่ยวกับระบบปรับอากาศในการออกแบบเป็นผู้ประเมินราคาในการสร้าง ทำให้ไม่สามารถกำหนดราคาของห้องคลีนรูมจากพื้นที่ได้โดยตรง เพราะห้องคลีนรูมนั้นมีปัจจัยที่หลากหลายที่จะคำนึกถึง โดยมีองค์ประกอบหลัก ๆ ในการพิจารณา ดังต่อไปนี้
การแบ่ง Class ของห้องคลีนรูม
ห้องคลีนรูมจะมีมาตรฐานสากลที่เรียกว่า “ISO 14644-1” เพื่อจำแนกระดับความสะอาดของห้องคลีนรูม (Cleanroom Class) โดยใช้อนุภาคของฝุ่นเป็นตัวกำหนดเกณฑ์ในการควบคุมปริมาณฝุ่นและกำจัดปริมาณฝุ่นไม่ให้มีการรั่วไหลเข้ามาในห้อง Cleanroom โดยมีตั้งแต่ ISO 3 ไปจนถึง ISO 8 ซึ่งมีราคาไม่เท่ากัน โดย ISO 3 จะเป็นห้องคลีนรูมที่มีความสะอาดมากที่สุด
พื้นที่ติดตั้งและบริเวณที่ตั้งอาคาร
ผู้ออกแบบห้องคลีนรูมจะต้องคำนึงถึงความสำคัญของปัจจัยสภาพแวดล้อมในการสร้างห้องคลีนรูม เช่น ระดับความสูงของห้อง หรือโครงสร้างอาคาร เป็นต้น รวมไปถึงประเมินความยาก-ง่ายของบริเวณพื้นที่ที่ติดตั้งห้องคลีนรูม เพื่อคำนวนระยะเวลาในการติดตั้งร่วมกับค่าใช้จ่ายในการสร้างอีกด้วย
วัสดุและอุปกรณ์
ผู้ออกแบบควรคำนึงถึงการเลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ที่นำมาติดตั้งในห้องคลีนรูม เช่น ประตู หน้าต่าง ผนัง พื้นห้อง หรือเพดาน ที่มีราคาแตกต่างกันออกไปตามวัสดุและคุณภาพที่เลือกใช้งาน ดังนั้นผู้รับเหมาควรเลือกวัสดุและอุปกรณ์ที่มีความทนทาน มีคุณภาพและประสิทธิภาพที่ดี อีกทั้งได้รับการรองรับมาตรฐานสากลเพื่อพิจารณาในการสร้างห้องคลีนรูมให้ได้ห้องที่มีมาตรฐาน ดูแลรักษาง่ายและสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาในระยะยาว
งานระบบภายในห้องคลีนรูม
เพื่อการสร้างห้องคลีนรูมให้ได้ตรงตามมาตรฐาน เป็นไปตามข้อบังคับและมาตรฐานอุตสาหกรรม ควรจะคำนึงถึงระบบที่คอย Monitor ค่าต่าง ๆ ในห้อง Cleanroom เช่น ความดัน อุณหภูมิ และความชื้น เป็นต้น เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย หากมีค่าที่ผิดปกติจะสามารถแก้ไขได้ในทันที จึงมีค่าใช่จ่ายในส่วนนี้เข้ามาเกี่ยวข้องในการพิจารณาร่วมอีกด้วย
งานระบบปรับอากาศ
เนื่องจากห้องคลีนรูม เป็นห้องที่ต้องปราศจากฝุ่นให้ได้มากที่สุด จึงจำเป็นที่จะต้องใช้วิศวกรหรือผู้ออกแบบที่มีประสบการณ์ เพื่อให้ห้องคลีนรูมที่ได้นั้น มีประสิทธิภาพ และตรงตามมาตรฐานสากล โดยอากาศภายในห้องคลีนรูมจะต้องได้รับการปรับสภาพจากการคำนวณค่าอุณหภูมิและความชื้นสัมพันธ์ ที่มีความจำเป็นต้องใช้เครื่องเติมอากาศหรือระบบ HVAC ซึ่งเป็นอีกหนึ่งส่วนที่นำมาประเมินราคาในการสร้างห้องคลีนรูมด้วย
สร้างห้องคลีนรูมต้องทำสัญญาจ้างก่อสร้างแบบไหน
ก่อนอื่นมารู้จักสัญญาจ้างออกแบบและการควบคุมงานก่อสร้างที่ใช้กันโดยทั่วไป มีทั้งหมด 5 แบบ ดังนี้
1. สัญญาจ้างแบบเหมารวม (Lump Sum Contract)
เป็นสัญญาจ้างที่ผู้รับจ้างตกลงทำงานทั้งหมดที่ระบุในสัญญา โดยรวมค่าแรง ค่าวัสดุ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ทั้งหมด ในจำนวนเงินที่คงที่ สัญญาจ้างแบบเหมารวมนี้ เหมาะกับผู้ว่าจ้างที่มีแบบก่อสร้างสมบูรณ์แล้ว
2. สัญญาจ้างแบบคิดค่าใช้จ่ายทั้งหมดแบบบวกเงินเพิ่มพิเศษ (Cost-plus Contract)
เป็นสัญญาจ้างที่ผู้ว่าจ้างตกลงทำงานทั้งหมดที่ระบุในสัญญา โดยได้รับเงินตามจริง และบวกกับเงินที่เพิ่มตามที่ตกลง เช่น ค่าดำเนินการ เป็นต้น
3. สัญญาจ้างแบบราคาต่อหน่วย (Unit Price Contract)
ผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง ประมาณปริมาณงานเบื้องต้น โดยตกลงราคาต่อหน่วยตามจริงและบวกค่าดำเนินการ
4. สัญญาเหมาจ้างแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey Contract)
เป็นสัญญาที่ผู้รับจ้างเหมาตั้งแต่การหาเงินทุน เทคโนโลยี การออกแบบ ตลอดจนการดำเนินการก่อสร้างจนเสร็จ
5. สัญญาออกแบบร่วมก่อสร้าง (Design-build Contract)
ผู้ว่าจ้างรวมการออกแบบและการก่อสร้างไว้ที่ผู้รับจ้างเพียงรายเดียว โดยผู้รับจ้างจะต้อง ออกแบบ ไปตลอดจนก่อสร้างแล้วเสร็จ
ซึ่งงานก่อสร้างคลีนรูมในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น โรงงานยา มักมีความซับซ้อนสูง โดยเจ้าของโครงการนิยมใช้สัญญาจ้างก่อสร้างแบบ Design & Build หรือสัญญา EPC Turnkey เพื่อให้ผู้ออกแบบงานสร้างห้องคลีนรูมสามารถส่งมอบห้องที่ได้ประสิทธิภาพตาม User Requirement Specification (URS) ได้มากกว่าสัญญาจ้างรูปแบบอื่น
CAI Engineering ผู้นำในการสร้างห้องคลีนรูมโดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ
CAI Engineering รับออกแบบและสร้างห้องคลีนรูมได้มาตรฐานสากล ด้วยทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญและทันสมัย ด้วยการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น BAS, BIM, Digital twin และ Hololens เข้ามาประยุกต์ใช้ในงานคลีนรูม เพื่อให้ได้ห้องคลีนรูมที่ทันสมัย ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ สะดวกสบายต่อผู้ใช้งาน