สูด PM2.5 เข้าปอดเท่ากับสูบบุหรี่กี่มวน?

ในปัจจุบันนั้นปริมาณของฝุ่น PM 2.5 นั้นมีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้มีฝุ่น PM 2.5 อัดกันอย่างหนาแน่นอยู่ในชั้นบรรยากาศที่มีปริมาณมากพอที่จะส่งผลเสีย หรืออันตรายต่อสุขภาพของเราได้ แต่ว่าก็ยังมีหลาย ๆ คนมองข้ามถึงเรื่องนี้ไป เพราะคิดว่าคงไม่อันตรายอย่างที่คิด ดังนั้น ในบทความนี้ทาง CAI Engineering จะพาทุกคนไปดูว่าการสูด PM 2.5 เข้าปอดนั้นเท่ากับการสูบบุหรี่กี่มวน พร้อมแนะนำวิธีการป้องกันฝุ่น PM 2.5 แบบง่าย ๆ

ฝุ่น PM2.5 คืออะไร?

PM 2.5 หรือ Particulate Matter with Diameter of less than 2.5 เป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน เป็น 1 ใน 8 ตัววัดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ ที่สามารถเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และอวัยวะอื่น ๆ จนสามารถส่งผลเสีย หรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

ฝุ่น PM2.5 เกิดจากอะไร?

ฝุ่น PM 2.5 เกิดจาก 4 ปัจจัยหลัก ๆ ได้แก่
1. ไอเสียจากรถยนต์ หรือจากการจราจร เป็นการเผาไหม้ของน้ำมันดีเซลกับการจราจรที่ติดขัด ทำให้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด PM 2.5
2. อากาศพิษจากปล่องโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงโรงงานไฟฟ้าที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง ฟอสซิล และการเผาไหม้ถ่านหิน
3. การเผาในที่โล่ง และในที่ไม่โล่ง อย่างการเผาของภาคการเกษตร เช่น การเผาป่า การเผาสวน การเผาไร่นา หรือการเผาขยะ เป็นต้น
4. สภาพภูมิอากาศ หากสภาพอากาศไม่มีลมก็จะทำให้เกิดการสะสมสารพิษเอาไว้ภายในชั้นบรรยากาศ

สูด PM 2.5 เข้าปอดเท่ากับสูบบุหรี่กี่มวน

จากงานวิจัยเผยว่าการสูดฝุ่น PM 2.5 เข้าสู่ร่างกาย 22 ไมโครกรัมต่อวัน เทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ 1 มวน
ยกตัวอย่างเช่น ในเขตบางนา วัดปริมาณฝุ่น PM 2.5 ได้ 54 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร และถ้าหากสูดฝุ่น PM 2.5 ในเขตบางนาเข้าปอดใน 1 วัน ก็สามารถเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ 2.5 มวน

ฝุ่น PM 2.5 อันตรายแค่ไหน และส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง?

อันตรายจาก PM 2.5 คือ การที่ฝุ่น PM2.5 นั้นเป็นตัวกลางที่พาสารต่าง ๆ เช่น สารก่อมะเร็ง หรือสารโลหะหนักเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้ เพราะว่า ฝุ่น PM 2.5 นั้นมีขนาดเล็ก จึงสามารถผ่านการกรองของขนจมูกเข้าสู่ชั้นในสุดของปอดได้ และถึงแม้ว่าผลเสียของฝุ่น PM 2.5 นั้นจะไม่ได้ส่งผลแบบฉับพลัน แต่เมื่อเกิดการสะสมก็สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพตามมาได้ในอนาคต

วิธีการป้องกันฝุ่น PM 2.5 แบบง่าย ๆ

  1. หลีกเลี่ยงทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน ๆ โดยเฉพาะกลุ่มเด็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ และผู้ป่วย
  2. ปิดหน้าต่าง และประตู เพื่อป้องกันฝุ่น หรืออาจใช้ผ้าผืนใหญ่ชุบน้ำหมาด ๆ แล้วขึงทำเป็นม่าน เพื่อดักจับฝุ่น
  3. หากมีความจำเป็นต้องออกนอกบ้าน ต้องสวมหน้ากากอนามัยที่ป้องกันฝุ่น PM 2.5 เช่น หน้ากาก N95 ที่ได้มาตรฐาน หากไม่มีสามารถใช้หน้ากากอนามัยแบบธรรมดาแล้วนำกระดาษทิชชู่มาซ้อนกัน 2 ชั้นแทนได้
  4. หลีกเลี่ยง หรือลดการทำงานหนัก หรือออกกำลังกายกลางแจ้ง
  5. ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อช่วยขับฝุ่นออกจากร่างกาย
  6. ช่วยกันลดการใช้รถยนต์เมื่อไม่จำเป็น
  7. ไม่เผาขยะ
  8. เตรียมยาให้พร้อม สำหรับคนที่แพ้ฝุ่น และหากมีอาการผิดปกติ เช่น ไอหนัก หรือหายใจไม่ออก ควรรีบพบแพทย์ทันที

นอกจากนี้ CAI Engineering ยังมีวิธีรับมือกับฝุ่น PM 2.5 ฉบับวิศวกรรมปรับอากาศ สามารถติดตามได้ที่ Facebook Page : CAI Engineering สร้างห้อง Clean room คลีนรูม ห้องสะอาด

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ระบบทำความเย็นแบบรวมศูนย์ (District Cooling System) ทางเลือกปรับอากาศสำหรับอาคารประหยัดพลังงาน

ระบบทำความเย็นแบบรวมศูนย์ (District Cooling System) ทางเลือกปรับอากาศสำหรับอาคารประหยัดพลังงาน

ระบบทำความเย็นแบบรวมศูนย์ (District Cooling System) หนึ่งในทางเลือกที่ช่วยประหยัดพลังงานสำหรับระบบปรับอากาศในอาคารขนาดใหญ่

Read More »
อาคารคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Building) หนทางเปลี่ยนโลกสู่ Net Zero Carbon

อาคารคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Building) หนทางเปลี่ยนโลกสู่ Net Zero Carbon

อาคารคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Building) ลดการปล่อยคาร์บอนสู่สิ่งแวดล้อม พร้อมมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero เพื่อการประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับโลก

Read More »
5 ข้อดีในการใช้เครื่องเติมอากาศ DOAS ในระบบปรับอากาศสำหรับอาคาร

5 ข้อดีในการใช้เครื่องเติมอากาศ DOAS ในระบบปรับอากาศสำหรับอาคาร

เปิด 5 ข้อดีของเครื่องเติมอากาศภายนอกชนิดอสระ DOAS (Dedicated Outdoor Air Systems) ในระบบปรับอากาศ เพื่อเพิ่มคุณภาพอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ

Read More »

By clicking “Accept”, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts. Privacy Policy

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า