โครงการ T-VER คืออะไร? ทำไมธุรกิจที่เริ่มทำคาร์บอนเครดิตต้องรู้ !

โครงการ T-VER คืออะไร? ทำไมธุรกิจที่เริ่มทำคาร์บอนเครดิตต้องรู้ !

วิกฤตโลกร้อนกำลังคุกคามโลกของเราจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่กลายเป็นวิกฤติระดับโลก ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG : Greenhouse Gas Emissions) ซึ่งถูกจับตามองอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรมที่มีการใช้พลังงานในปริมาณมาก ดังนั้นทั่วโลกจึงเร่งหามาตรการในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างความท้าทายให้กับธุรกิจที่ต้องการก้าวเข้าสู่ยุคแห่งความยั่งยืน

 

คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) หรือปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดหรือกักเก็บได้จากการดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกผ่านกลไกการลดก๊าซเรือนกระจกต่าง ๆ จึงกลายมาเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่ช่วยลดผลกระทบจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และส่งเสริมให้ธุรกิจต่าง ๆ เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น 

 

โดยในประเทศไทย โครงการ T-VER (Thailand Voluntary Emission Reduction Program) ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสามารถลดและบริหารจัดการการปล่อยเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนั้นบทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกับโครงการ T-VER ว่าคืออะไร ทำไมจึงสำคัญต่อธุรกิจที่เริ่มทำคาร์บอนเครดิต และเพราะเหตุใดโครงการนี้จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความยั่งยืนและแข่งขันในยุคที่โลกให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าที่เคย

รู้จักกับโครงการ T-VER

รู้จักกับโครงการ T-VER

โครงการ T-VER (Thailand Voluntary Emission Reduction Program) คือ โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย จัดขึ้นโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) เพื่อส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทยแบบสมัครใจ โดยโครงการที่ผ่านการรับรองจะได้รับ คาร์บอนเครดิต (1 คาร์บอนเครดิต = 1 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า) ซึ่งสามารถขายในตลาดคาร์บอนหรือใช้ชดเชยการปล่อยก๊าซขององค์กร โดยมีวัตถุประสงค์ คือ ลดก๊าซเรือนกระจก สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน และสร้างตลาดคาร์บอนในประเทศ องค์กรสามารถเข้าร่วมโครงการเพื่อลดการปล่อยก๊าซหรือซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อสร้างความยั่งยืนและเสริมภาพลักษณ์ด้านสิ่งแวดล้อม

ประเภทของโครงการ T-VER

ประเภทโครงการลดก๊าซเรือนกระจกที่สามารถพัฒนาและเข้าร่วมในโครงการ T-VER ได้ มีดังต่อไปนี้

  • การใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy): เช่น การติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ ลม หรือชีวมวล
  • การจัดการภาคโรงงานอุตสาหกรรม (Factory) : เช่น การปรับเปลี่ยนสารทำความเย็นธรรมชาติ หรือการใช้วัสดุทดแทนปูนเม็ด
  • การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน (Energy Efficiency)  : เช่น การปรับปรุงระบบผลิตหรืออาคารประหยัดพลังงา
  • การจัดการของเสีย (Waste) : เช่น การผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะหรือระบบจัดการน้ำเสี
  • การอนุรักษ์ป่าไม้ (Land Use : Agriculture & Forestry) : เช่น การปลูกป่าและการป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า
  • การจัดการภาคขนส่ง (Transport) : เช่น การใช้ระบบขนส่งสาธารณะ หรือการใช้ยานพาหนะไฟฟ้า
  • การดักจับ กักเก็บ หรือใช้ประโยชน์จากก๊าซเรือนกระจก (CUUS) : เช่น การนำก๊าซที่ปล่อยออกมาเข้าสู่กระบวนการกักเก็บเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์
  1.  

หลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการ T-VER

หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาเพื่อเข้าร่วมโครงการ T-VER สำหรับองค์กรที่ต้องการทำคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) มีดังนี้

  1. ความเพิ่มเติม (Additionality) : โครงการต้องแสดงให้เห็นว่าการลดก๊าซเรือนกระจกเกิดขึ้นจริงและไม่ซ้ำซ้อนกับนโยบายหรือโครงการที่มีอยู่แล้ว
  2. การวัดผลได้ (Measurable) : ต้องสามารถคำนวณและตรวจสอบปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้อย่างชัดเจน
  3. ความถาวร (Permanence) : การลดหรือกักเก็บก๊าซเรือนกระจกต้องคงอยู่ในระยะยาว
  4. ไม่มีผลกระทบเชิงลบ : โครงการต้องไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม
  5. ความสมัครใจ: โครงการต้องดำเนินการโดยความสมัครใจขององค์กร

ระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ

ระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจสำหรับประเภทโครงการต่าง ๆ ได้แก่

  • พลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานที่ใช้ทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล : สร้างหรือเปลี่ยนมาใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม หรือพลังงานชีวมวล เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากเชื้อเพลิงฟอสซิล
  • การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าและการผลิตความร้อน : ปรับปรุงกระบวนการผลิต เช่น การใช้เทคโนโลยีประสิทธิภาพสูงหรือระบบ Combined Heat and Power (CHP) เป็นต้น
  • การใช้ระบบขนส่งสาธารณะ : ส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งมวลชนเพื่อลดการใช้รถส่วนบุคคล ลดการปล่อยก๊าซจากการเดินทาง
  • การใช้ยานพาหนะไฟฟ้า : ส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) เพื่อลดการปล่อยก๊าซจากเชื้อเพลิงฟอสซิลในภาคขนส่ง
  • การเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องยนต์ : พัฒนาเครื่องยนต์หรือใช้เทคโนโลยีที่ช่วยลดการใช้พลังงานต่อระยะทาง
  • การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคารและโรงงานและในครัวเรือน : ปรับปรุงการใช้พลังงาน เช่น ติดตั้งระบบประหยัดพลังงานในอาคารหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง
  • การปรับเปลี่ยนสารทำความเย็นธรรมชาติ : แทนที่สารทำความเย็นที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกสูง เช่น สารทำความเย็น HFCs ด้วยสารทำความเย็นธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • การใช้วัสดุทดแทนปูนเม็ด : ใช้วัสดุอื่นแทนปูนเม็ดในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์เพื่อลดการปล่อย CO₂
  • การจัดการขยะมูลฝอย : ลดขยะที่ส่งไปฝังกลบ โดยใช้ระบบรีไซเคิล กำจัดขยะ หรือผลิตพลังงานจากขยะ
  • การจัดการน้ำเสียชุมชน : บำบัดน้ำเสียด้วยระบบที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนและไนตรัสออกไซด์
  • การนำก๊าซมีเทนกลับมาใช้ประโยชน์ : ดักจับก๊าซมีเทนจากหลุมฝังกลบหรือระบบน้ำเสียเพื่อใช้เป็นพลังงาน
  • การจัดการน้ำเสียอุตสาหกรรม : ใช้ระบบบำบัดที่ลดการปล่อยก๊าซ เช่น ระบบไร้ออกซิเจนที่ผลิตก๊าซชีวภาพ
  • การลด ดูดซับ และการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกจากภาคป่าไม้และการเกษตร : ส่งเสริมการปลูกป่า อนุรักษ์พื้นที่สีเขียว และการใช้การเกษตรแบบยั่งยืน
  • การดักจับ กักเก็บ และการใช้ประโยชน์จากก๊าซเรือนกระจก : ใช้เทคโนโลยี Carbon Capture and Storage (CCS) เพื่อลดการปล่อยก๊าซสู่บรรยากาศ

ประโยชน์ของโครงการ T-VER

ประโยชน์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรที่เข้าร่วมโครงการ T-VER มีดังนี้

  1. ช่วยลดต้นทุนพลังงานและปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิต
  2. สร้างภาพลักษณ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อองค์กร
  3. เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ โดยเฉพาะในตลาดที่ให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์และบริการที่ลดคาร์บอนฟุตพรินต์
  4. มีส่วนช่วยประเทศไทยในการบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามข้อตกลงระหว่างประเทศ เช่น ข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) เป็นต้น

 

ที่มา : กลไกก๊าซเรือนกระจก. (2559). T-VER คืออะไร, จาก https://ghgreduction.tgo.or.th/th/about-tver/t-ver.html

กลไกก๊าซเรือนกระจก. (ม.ป.ป.). ระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ, จาก https://ghgreduction.tgo.or.th/th/t-ver.html

CAI Engineering ขอสนับสนุนและส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรม เราจึงมุ่งเน้นในการประหยัดพลังงานสำหรับอุตสาหกรรมคลีนรูมและอุตสาหกรรมปรับอากาศ เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อพิชิต Net Zero ในภาคธุรกิจร่วมกัน พร้อมเชิญชวนให้ทุกคนหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการที่มีอยู่อุตสาหกรรมคลีนรูมและอุตสาหกรรมปรับอากาศ

 

ขอแนะนำบทความที่น่าสนใจ : 

 

ปรึกษาเรื่องการสร้างห้องคลีนรูม

หรือติดตามความรู้เรื่องนวัตกรรมการปรับอากาศ

Line OA : @caihvac หรือคลิก https://lin.ee/RTsrnHb

E-mail : veeraya@caiengineering.com

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

By clicking “Accept”, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts. Privacy Policy

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า