ไฮโดรเจนไซยาไนด์อันตรายที่มาพร้อมกับเพลิงไหม้_CAI

ไฮโดรเจนไซยาไนด์ อันตรายในอาคารที่มากับเพลิงไหม้

รู้หรือไม่ว่าสาเหตุการเสียชีวิตเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ไม่ได้เกิดจากเปลวไฟเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากการได้รับ “ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Hydrogen cyanide : HCN)” ซึ่งเป็นก๊าซพิษอันตรายชนิดหนึ่ง เมื่อเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะเป็น การสัมผัส หรือการสูดดมโดยตรง จะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ หายใจติดขัด หมดสติ และหัวใจหยุดเต้นในที่สุด

ไฮโดรเจนไซยาไนด์ เกิดจากอะไร?

ไซยาไนด์ (cyanide) คือ สารพิษชนิดรุนแรงที่สามารถออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว จัดอยู่ในกลุ่มของสารเคมีที่มีองค์ประกอบของไซยาไนด์ไอออน (CN-) สามารถพบได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นสารละลายอย่าง โพแทสเซียม ไซยาไนด์ (potassium cyanide) และ โซเดียม ไซยาไนด์ (sodium cyanide) รวมไปถึงในรูปแบบก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้อย่าง ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Hydrogen cyanide)

ไฮโดรเจนไซยาไนด์ คือ ก๊าซพิษที่ไม่มีสี มีกลิ่นฉุนคล้ายอัลมอนด์ หรืออาจอยู่ในรูปแบบของของเหลวใสระเหยเป็นก๊าซได้ง่ายที่อุณหภูมิห้องจากการทำปฏิกิริยาของเกลือไซยาไนด์ (Cyanide Salt) กับกรด มักเกิดจากการเผาไหม้สารพลาสติกที่เรียกว่าโพลียูริเทน (Polyurethane : PU) และหนังเทียม ที่มักจะใช้เป็นส่วนประกอบของเฟอร์นิเจอร์ เสื่อบุฟองน้ำ และฉนวนกันความร้อนโพลียูรีเทนโฟมในผนัง (Polyurethane Foam, PU Foam) เป็นต้น นอกจากนี้ยังนิยมใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมผลิตยา รวมถึงใช้เป็นสารช่วยจับโลหะและส่วนผสมของยาฆ่าแมลงอีกด้วย

ไฮโดรเจนไซยาไนด์ คืออะไร อันตรายแค่ไหน_CAI

ไฮโดรเจนไซยาไนด์ อันตรายแค่ไหน?

หลายคนอาจไม่รู้ว่าไฮโดรเจนไซยาไนด์ มาจากไหน? ซึ่งเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้จะทำให้ควันกระจายตัวไปได้อย่างรวดเร็ว โดยในส่วนผสมของควันจะมีก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และไฮโดรเจนไซยาไนด์เป็นส่วนประกอบ ซึ่งไฮโดรเจนไซยาไนด์จะมีความอันตรายมากกว่าและจะส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อร่างกาย แบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ ดังนี้

  1. พิษแบบเฉียบพลัน เช่น อาการหายใจติดขัด เลือดไหลเวียนผิดปกติ สมองบวม หัวใจหยุดเต้น ชักและหมดสติ และเสียชีวิตได้ในเวลา 30-60 นาที แต่อาการแบบเฉียบพลันอาจพบได้ค่อนข้างน้อย
  2. พิษแบบเรื้อรัง หากได้รับไฮโดรเจนไซยาไนด์ในปริมาณเล็กน้อยแต่ต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ง่วงซึม เกิดผื่นแดง และอื่น ๆ ตามมา ส่งผลให้รูม่านตาขยาย อ่อนแรง หายใจแผ่วเบา ตัวเย็น เป็นต้น หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด

อาการเมื่อได้รับพิษของไฮโดรเจนไซยาไนด์

การเกิดพิษจากการได้รับไฮโดรเจนไซยาไนด์ จะเกิดจากสารกลุ่มไซยาไนด์ไปจับกับไซโตโครมส์ ออกซิเดส (Cellular Cytochrome Oxidase) ทำให้เกิดการยับยั้งการหายใจของเซลล์และเกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากกรดแลคติกในเลือดสูง (Lactic Acidosis) จึงทำให้มีอาการทางสมองปรากฏอาการขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น

  • หายใจลำบาก
  • ปวดหัว วิงเวียน รู้สึกมึนงง
  • กล้ามเนื้อล้า อ่อนแรง
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ชักหมดสติ หรือเสียชีวิตภายใน 10 นาที

โดยความรุนแรงของอาการนั้นอาจขึ้นอยู่กับชนิดของ Cyanide ปริมาณ และระยะเวลาในการได้รับไฮโดรเจนไซยาไนด์ นอกจากนี้พิษของไซยาไนด์ยังสามารถพบได้อีกหลากหลายรูปแบบ เช่น

  • พิษของโซเดียมไซยาไนด์ (Sodium Cyanide) มีลักษณะเป็นของแข็งสีขาว พบได้ในการเคลือบเงา และยังเป็นส่วนประกอบของยาฆ่าแมลง ซึ่งสามารถเข้าสู่ร่างกายได้โดยการสัมผัส และสูดดม หากรับประทานเข้าไปอันตรายที่สุดถึงขั้นเสียชีวิตได้
  • พิษของไซยาโนเจนคลอไรด์ (cyanogen chloride) มีลักษณะเป็นของเหลวหรือแก๊สไม่มีสี แต่มีกลิ่นฉุน เมื่อเผาไหม้จะเป็นพิษ ทำให้เมื่อสูดดมจะเกิดการระคายเคือง

การป้องกันและการหลีกเลี่ยงไฮโดรเจนไซยาไนด์ในอาคาร

โดยทั่วไปแล้ววัสดุในอาคารหรือเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ จำเป็นต้องใช้พลาสติกกลุ่มโพลียูรีเทน เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้อาจทำให้เกิดไฮโดรเจนไซยาไนด์ จึงจำเป็นต้องออกแบบตัวอาคารและระบบรักษาความปลอดภัยให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เช่น

  • การใช้ระบบจัดการอาคารอัตโนมัติ เช่น ระบบ BAS ที่สามารถควบคุมระบบไฟฟ้าและ Fire Alarm รวมถึงสามารถตรวจสอบสถานะและการสั่งเปิด-ปิดอุปกรณ์ต่าง ๆ ในอาคารได้อัตโนมัติ
  • การเลือกวัสดุที่ใช้ในอาคารที่มีความเสี่ยงต่อการติดไฟได้น้อยหรือไม่ลามไฟ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยา โรงพยาบาล โรงงานต่าง ๆ ที่ควรใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ไม่ลามไฟ เช่น ผนังห้องคลีนรูม Sandwich Panel สำหรับห้องคลีนรูม ควรเลือกที่ทำจากใยหิน (Mineral Wool) เพราะมีคุณสมบัติพิเศษในเรื่องการทนไฟและมีค่าการนำความร้อนจะต่ำ
  • การซ้อมอพยพ/หนีไฟอยู่เสมอ
  • ใช้สารเคมีดับเพลิงที่ไม่ทำปฏิกิริยากับไซยาไนด์
  • สวมชุดหรืออุปกรณ์ป้องกันเมื่อต้องทำงานกับสารเคมีหรือต้องอยู่ในบริเวณที่มีการปนเปื้อนของไซยาไนด์

นอกจากนี้ ผู้ที่มีความเสี่ยงได้รับพิษสูง เช่น ช่าง เกษตรกร นักดับเพลิง ผู้ที่อยู่ในกระบวนการการผลิตกระดาษ สิ่งทอ ยางหรือพลาสติก ควรพบแพทย์และเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ หรือหากได้รับการสัมผัสกับไฮโดรเจนไซยาไนด์มาแล้ว ควรรีบรับมือด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  1. การสัมผัสทางผิวหนัง
    ให้ถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนสารพิษโดยการใช้กรรไกรตัดเสื้อผ้าออกเป็นชิ้น ๆ และถอดออกจากลำตัว อย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันไม่ให้สัมผัสกับผิวหนังส่วนอื่นและไม่ควรให้ผู้อื่นสัมผัสร่างกายหรือเสื้อผ้าโดยตรง จากนั้นทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำและสบู่ก่อนนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
  2. การสูดดมหรือรับประทาน
    ควรรีบออกจากพื้นที่บริเวณนั้นทันที หรือหากอยู่ในพื้นที่ควรก้มต่ำลงบนพื้น กรณีที่หายใจลำบากหรือหยุดหายใจ ต้องปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยการทำ CPR แต่ห้ามใช้วิธีเผาปากหรือผายปอด จากนั้นรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที
  3. การสัมผัสทางดวงตา
    ใช้น้ำสะอาดล้างตาต่อเนื่องอย่างน้อย 10 นาที และรีบเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล
ผนังคลีนรูม sandwich panel ลดโอกาสเกิดเหตุเพลิงไหม้และไฮโดรเจนไซยาไนด์_CAI

CAI Engineering ลดโอกาสเกิดเพลิงไหม้ด้วยมาตรฐานสากล

เนื่องจากไฮโดรเจนไซยาไนด์จากเหตุเพลิงไหม้สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินเป็นอย่างมาก การใช้ระบบอัตโนมัติในอาคารและการเลือกวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ด้วยเหตุนี้ CAI Engineering จึงเลือกใช้ผนังห้องคลีนรูมที่ได้มาตรฐานอย่าง Sandwich Panel แบรนด์ WISKIND ที่มีคุณสมบัติที่สามารถกักเก็บความเย็นและกันไฟได้ รวมถึงมีการนำระบบ BAS ด้วยคอนโทรลเลอร์ แบรนด์ SAUTER ที่ได้มาตรฐานในระดับสากลมาใช้ในงานก่อสร้างในส่วนต่าง ๆ ของอาคาร เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายและความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานอย่างสูงสุด

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

By clicking “Accept”, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts. Privacy Policy

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า