6 องค์ประกอบสำคัญในการสร้างห้องเย็น (Cold Room)

6 องค์ประกอบสำคัญในการสร้างห้องเย็น (Cold Room)

ห้องเย็นมีความสำคัญอย่างมากในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เนื่องจากห้องเย็นช่วยให้สามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในระดับที่เหมาะสมสำหรับการจัดเก็บผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ห้องเย็นถูกใช้งานในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย เช่น อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมเคมีและพลาสติก เป็นต้น ในการสร้างห้องเย็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบที่สำคัญในห้องเย็นเพื่อให้ห้องเย็นสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหลักการออกแบบและงานติดตั้งห้องเย็น มีปัจจัยหลักที่ต้องคำนึง เช่น ขนาดและการออกแบบของห้องเย็น การเลือกวัสดุก่อสร้าง ระบบทำความเย็น หรือระบบระบายอากาศ เป็นต้น เพื่อให้ได้ห้องเย็น (Cold Room) ที่มีประสิทธิภาพในการใช้งาน และตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งาน โดยมีองค์ประกอบสำคัญในการสร้างห้องเย็นอยู่ 6 องค์ประกอบ ได้แก่

1. ผนังห้องเย็น พื้น และหลังคา

แผ่นฉนวนกันความร้อนสำเร็จรูปอย่าง Sandwich Panel ประกอบด้วยวัสดุฉนวน เช่น PIR เป็นไส้ตรงกลาง และมีวัสดุที่แข็งแรงทนทานประกบอยู่ทั้งสองด้านคล้ายกับแซนวิช โดย Sandwich Panel นิยมใช้ในการก่อสร้างอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาคาร ห้องเย็น เป็นต้น เนื่องจากมีคุณสมบัติในการกันความร้อน เก็บรักษาความเย็น ทนไฟ กันน้ำได้ดี และน้ำหนักเบา 

ซึ่งสาเหตุที่นิยมเลือกใช้ PIR Sandwich Panel ในการสร้างห้องเย็น เนื่องจาก PIR  Sandwich Panel มีประสิทธิภาพในการทนไฟ ไม่ติดไฟ ไม่ลามไฟ ได้ดีกว่าผนังแบบ PU Sandwich Panel ที่ถึงแม้ว่าจะทนความร้อนได้สูง แต่ยังสามารถติดไฟได้นั่นเอง 

2. ประตูห้องเย็น

ประตูเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญต่อห้องเย็น เนื่องจากการเปิด-ปิดประตูสามารถส่งผลต่ออุณหภูมิภายในห้องเย็น ถ้าหากประตูปิดไม่สนิทอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อสินค้าได้ ดังนั้นจึงควรเลือกประตูในห้องเย็นให้เหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อช่วยลดการสูญเสียอุณหภูมิภายในห้อง เช่น ประตูห้องเย็นแบบบานพับ หรือประตูห้องเย็นแบบบานเลื่อน เป็นต้น

3. ระบบทำความเย็น

อุปกรณ์และระบบทำความเย็นที่ใช้สำหรับห้องเย็น มี 7 องค์ประกอบหลัก ๆ ดังนี้

  1. คอมเพลสเซอร์ (Compressor) : เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดของระบบทำความเย็น ทำหน้าที่ในการเพิ่มความดันให้กับสารทำความเย็นที่อยู่ในสถานะเป็นไอ
  2. สารทำความเย็น (Refrigerant) : ทำหน้าที่เปลี่ยนสถานะระหว่างก๊าซและของเหลว เพื่อดูดซับความร้อน 
  3. คอยล์ร้อน (Condenser Coil) : ทำหน้าที่ระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็น เพื่อทำให้สารทำความเย็นที่มีสถานะเป็นไอกลับมาเป็นของเหลวอีกครั้ง
  4. วาล์วลดความร้อน (Expansion Valve) : ส่วนสุดท้ายของการทำความเย็นมีหน้าที่ช่วยทำให้ความดันและอุณหภูมิของสารทำความเย็นลดลง
  5. คอยล์เย็น (Evaporator Coil) : ทำหน้าที่ดูดรับปริมาณความร้อนจากบริเวณที่ต้องการทำความเย็น
  6. ระบบควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Control System) : ช่วยให้สามารถควบคุมอุณหภูมิภายในห้องเย็นให้อยู่ในระดับที่ต้องการได้
  7. ระบบระบายอากาศ (Ventilation System) : ช่วยรักษาความสมดุลของอากาศภายในห้องเย็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการควบคุมระดับความชื้น

 

ซึ่งประเภทของห้องเย็นสามารถแบ่งตามการใช้งานได้ 5 ประเภท ดังนี้

  1. ห้องแช่แข็งลมเย็นจัด (Air Blast Freezer Room) เหมาะสำหรับการแช่แข็งสินค้าให้เย็นแบบรวดเร็ว เพื่อเป็นการไม่ทำให้เซลล์สินค้าที่เราต้องการแช่เกิดความเสียหาย
  2. ห้องแช่แข็ง (Freezer Room) เป็นห้องเก็บสินค้าที่ต้องการให้สินค้ามีระยะเวลาที่ยาวนาน
  3. ห้องเย็นเก็บรักษาสินค้า (Cold Storage Room) ห้องสำหรับการเก็บสินค้าที่ผ่านการแช่แข็งมาแล้ว 
  4. ห้องแช่เย็นเฉียบพลัน (Air Blast Chill Room) ใช้สำหรับลดอุณหภูมิสินค้า เพื่อรอเข้าสู่กระบวนการต่อไป
  5. ห้องเย็นพักสินค้า (Anti Room) ช่วยเก็บรักษาสินค้าให้มีความสมบูรณ์สดใหม่เหมือนเดิม เพื่อรอการจัดส่งเป็นขั้นตอนต่อไป โดยสินค้าที่ถูกจัดเก็บในห้องเย็นพักสินค้าส่วนใหญ่จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการแช่แข็งในห้องเย็นมาแล้ว

4. ระบบระบายอากาศและดูดอากาศ

ระบบระบายอากาศและดูดอากาศต้องออกแบบและติดตั้งให้เหมาะสมเพื่อช่วยรักษาอุณหภูมิ ความชื้น คุณภาพอากาศ และช่วยควบคุมการไหลเวียนของอากาศภายในห้องเย็นได้เป็นอย่างดี เนื่องจากระบบระบายอากาศและดูดอากาศในห้องเย็นเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้สินค้าภายในห้องเย็นมีคุณภาพคงที่ รักษาอุณหภูมิที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และป้องกันการสะสมของเชื้อโรคหรือเชื้อรา โดยการออกแบบระบบระบายอากาศและดูดอากาศให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรักษาความสมดุลของอากาศเข้าและอากาศออกนั้น จึงต้องพิจารณาถึงปริมาณอากาศที่ต้องการ การกระจายอากาศในห้อง ขนาดของห้องเย็น ประเภทของห้องเย็น และการใช้งาน ซึ่งมีองค์ประกอบย่อย ๆ เช่น พัดลมดูดอากาศ พัดลมเป่าอากาศ ช่องระบายอากาศ หรือแผ่นกรองอากาศ เป็นต้น

5. เครื่องทำความชื้นและการควบคุมความชื้น

เครื่องทำความชื้นในห้องเย็นเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมในการเก็บรักษาสินค้าได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งมีผลต่อคุณภาพ ความปลอดภัย และอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ ซึ่งการรักษาความชื้นที่เหมาะสมจะสามารถช่วยยืดอายุการเก็บรักษาของอาหารและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ โดยป้องกันการเกิดเชื้อราและการเน่าเสีย ซึ่งเครื่องทำความเย็นมีหน้าที่เพิ่มหรือลดความชื้นสัมพัทธ์ของห้องเย็น โดยควบคุมให้ความชื้นของห้องเย็นอยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการเก็บรักษาความเย็นอย่างสม่ำเสมอทั่วทั้งห้อง 

6.ระบบไฟฟ้า

ห้องเย็นจะต้องออกแบบให้มีความปลอดภัยสูง โดยใช้แสงสว่างที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิต่ำและมีความชื้นสูง รวมถึงระบบไฟฟ้าต้องมีความน่าเชื่อถือและปลอดภัยต่อการใช้งานในระยะยาวอีกด้วย

CAI Engineering ติดตั้งผนังห้องเย็นด้วย PIR Sandwich Panel

CAI Engineering ติดตั้งผนังห้องเย็นด้วย PIR Sandwich Panel

CAI Engineering รับออกแบบและสร้างห้องคลีนรูมแบบครบวงจร รวมถึงเป็น Partner กับแบรนด์ WISKIND แบรนด์ผนังที่มีชื่อเสียงในการผลิตผนัง Sandwich Panel ให้กับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทำให้เราไว้วางใจในการใช้ผนัง WISKIND กับทุกงานคลีนรูมที่ทาง CAI Engineering ออกแบบ เพราะ ผนังมีความยืดหยุ่นในการใช้งาน สามารถใช้งานได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมห้องเย็น ทางเราเลือกใช้ PIR Sandwich Panel เพราะ มีความสามารถในการกันไฟ กันทิ้งน้ำ กันความร้อนและความเย็น อีกทั้งยังมีความแข็งแรง มีการออกแบบที่ทันสมัย และ ได้รับการรองรับมาตรฐาน FM Approvals อีกด้วย

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ระบบทำความเย็นแบบรวมศูนย์ (District Cooling System) ทางเลือกปรับอากาศสำหรับอาคารประหยัดพลังงาน

ระบบทำความเย็นแบบรวมศูนย์ (District Cooling System) ทางเลือกปรับอากาศสำหรับอาคารประหยัดพลังงาน

ระบบทำความเย็นแบบรวมศูนย์ (District Cooling System) หนึ่งในทางเลือกที่ช่วยประหยัดพลังงานสำหรับระบบปรับอากาศในอาคารขนาดใหญ่

Read More »
อาคารคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Building) หนทางเปลี่ยนโลกสู่ Net Zero Carbon

อาคารคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Building) หนทางเปลี่ยนโลกสู่ Net Zero Carbon

อาคารคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Building) ลดการปล่อยคาร์บอนสู่สิ่งแวดล้อม พร้อมมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero เพื่อการประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับโลก

Read More »
5 ข้อดีในการใช้เครื่องเติมอากาศ DOAS ในระบบปรับอากาศสำหรับอาคาร

5 ข้อดีในการใช้เครื่องเติมอากาศ DOAS ในระบบปรับอากาศสำหรับอาคาร

เปิด 5 ข้อดีของเครื่องเติมอากาศภายนอกชนิดอสระ DOAS (Dedicated Outdoor Air Systems) ในระบบปรับอากาศ เพื่อเพิ่มคุณภาพอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ

Read More »

By clicking “Accept”, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts. Privacy Policy

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า