ปัจจุบันเข้าสู่เทคโนโลยี 4.0 ทำให้เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก อุตสาหกรรมต่าง ๆ ก็มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมห้องสะอาดหรือคลีนรูม ก็มีการนำเทคโนโลยีที่หลากหลายมาใช้งานในต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยีเสมือนจริงที่นำมาช่วยสร้างห้องคลีนรูม ไม่ว่าจะเป็น Hololens, Digital Twin และ Al ทำให้เราสามารถเห็นถึงโครงสร้างหรือการทำงานต่าง ๆ ได้อย่างเสมือนจริง
เทคโนโลยี VR AR และ MR คืออะไร?
เทคโนโลยีเหล่านี้เป็นเทคโนโลยีเสมือน หรือเรียกว่า Reality Technology เป็นหัวใจสำคัญในการผสานโลกความจริงเข้ากับโลกเสมือน เทคโนโลยีเหล่านี้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย หนึ่งในนั้นคือ อุตสาหกรรมห้องสะอาดหรือห้องคลีนรูม นั่นเอง
Virtual Reality - VR
VR คือ เทคโนโลยีที่จำลองสถานที่จริงขึ้นมา โดยผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับสถานที่หรือสิ่งแวดล้อมที่จำลองขึ้นมาได้ผ่านอุปกรณ์ ต่าง ๆ เช่น แป้นพิมพ์ เม้าส์ หรืออุปกรณ์ที่ทำขึ้นมาโดยเฉพาะ VR ซึ่งสามารถใช้ในการเล่นเกมส์, ใช้ในการจำลองการฝึกขับเครื่องบิน, ใช้ในการจำลองห้องที่มีการตกแต่งแล้ว เป็นต้น
Augmented Reality - AR
AR เป็นเทคโนโลยีที่นำวัตถุสามมิติมาจำลองเข้าสู่โลกจริง โดยหลักการทำงานคือ ใช้เซ็นเซอร์ในการตรวจจับภาพ เสียง การสัมผัสหรือการรับกลิ่น จึงจะสามารถสร้างภาพสามมิติขึ้นมาตามเงื่อนไขที่ได้รับ ด้วยการประมวลจากซอฟต์แวร์โดยผู้ใช้งานจะต้องมองผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่แสดงภาพได้ AR สามารถใช้ในงานศิลปะได้ ทำให้เห็นความละเอียดจากชิ้นงานจริง ใช้ในโฆษณาในการแสดงสินค้าต่าง ๆ ใช้ในการซ้อมรบของทหาร การดูภาพ 3 มิติ จากโทรศัพท์ และแสดงเนื้อหาในสถานที่นั้น ๆ
Mixed Reality - MR
MR คือ เทคโนโลยีที่ผสมระหว่างโลกความเป็นจริงกับโลกเสมือนจริงไว้ด้วยกัน เป็นการใช้สิ่งของเทียมมาวางไว้ในโลกความจริง และสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งานผ่านแว่นตาแบบเฉพาะ MR สามารถใช้ในการฝึกอบรมได้ เป็นการทำให้ผู้คนมีโอกาสรับรู้สถานการณ์ในสภาพแวดล้อมที่เสมือนจริงได้ก่อน MR ยังช่วยในการพัฒนาโครงการต่าง ๆ ได้อีกด้วย
สรุป: ความแตกต่างระหว่าง AR VR MR
VR – เป็นการจำลองโลกเสมือนแยกออกจากโลกแห่งความจริง
AR – เป็นการนำวัตถุเสมือนมาใช้กับโลกแห่งความเป็นจริง
MR – เป็นการนำโลกความจริงผสมกับโลกเสมือน
AR มีประโยชน์อย่างไรในการสร้างห้องคลีนรูม
หลักการทำงานของ AR สามารถอธิบายได้ ดังนี้
- เทคโนโลยี AR ใช้กล้องหรือเซ็นเซอร์ต่าง ๆ ในการส่งข้อมูลจากความเป็นจริงมายังอุปกรณ์ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปประมวลผลเพื่อให้เทคโนโลยี AR รู้ว่าวัตถุหรือสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในภาพคืออะไร โดยประมวลผลด้วยซอฟต์แวร์พิเศษ เพื่อทำความเข้าใจวัตถุ และสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ หลังจากนั้น ระบบจะนำข้อมูลเสมือนมาผสมผสานกับภาพความเป็นจริงที่ได้รับมาจากกล้อง ภาพเสมือนที่ผสมผสานกันระหว่างความเป็นจริงและข้อมูลเสมือนจะถูกแสดงผลผ่านหน้าจอ, แว่นตา AR หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ตามที่ผู้ใช้มีอยู่ ผลลัพธ์นี้จะทำให้ผู้ใช้เห็นข้อมูลเสมือนรวมกับความเป็นจริง
- เทคโนโลยี AR สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ทั้งการเคลื่อนที่ของผู้ใช้ และการเปลี่ยนแปลงของวัตถุหรือสิ่งแวดล้อม ได้โดยอัตโนมัติ
- ผู้ใช้สามารถมีกระทำกับข้อมูลเสมือนที่ถูกนำเข้ามาในความเป็นจริงโดยตรง
เทคโนโลยี AR ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการสร้างห้องคลีนรูมในหลายด้าน ได้แก่ การสร้างแผนและออกแบบห้องคลีนรูม สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับ BIM ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเห็นภาพเสมือนจริงของรูปแบบห้องคลีนรูม, การบำรุงรักษาและซ่อมบำรุง โดยสามารถนำมาคาดการณ์เวลาในการซ่อมบำรุงของอุปกรณ์นั้น ๆ ได้ เป็นต้น
Digital 4.0 ในการสร้างห้องคลีนรูมอัจฉริยะ
การนำเทคโนโลยี 4.0 เข้ามาใช้ในการสร้างห้องคลีนรูม มีการใช้เทคโนโลยี ดังนี้
- Cloud Computing ใช้ในการจัดเก็บ จัดการ และประมวลผลข้อมูล เพื่อกระบวนการที่รวดเร็ว
- Internet of Things ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับเครื่องจักรเพื่อส่ง-รับข้อมูล เพื่อนำประมวลผล
- Simulation ใช้ในการจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ
- Predictive Maintenance เป็นการนำข้อมูลจากระบบ IoT เพื่อนำไปเก็บเป็น Big Data แล้วนำ AI มาใช้ในการในการประมวลผล เพื่อทำนายอายุการใช้งานของอุปกรณ์ต่าง ๆ
- Predictive Control นำข้อมูลพยากรณ์อากาศ มาประมวลผลเพื่อควบคุมการทำงานของ DOAS ให้มีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงานให้ได้มากที่สุด
- Voice Commander นำระบบสั่งการด้วยเสียงมาประยุกต์ใช้ร่วมกันกับระบบ BAS เพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้แก่ผู้ใช้งาน
- Mix Reality Integration นำเทคโนโลยี HoloLens มาประยุกต์ใช้ร่วมกับ BIM และ BAS ทำให้ผู้ใช้งานสามารถสั่งการณ์ผ่านโลกเสมือน เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งาน รวมถึงผู้ใช้งานสามารถเห็นภาพหน้างานได้ แม้จะอยู่ที่ไหนก็ตาม ผ่าน Microsoft HoloLens 2
สร้างห้องคลีนรูมด้วยเทคโนโลยี 4.0 ไปกับ CAI Engineering
CAI Engineering ผู้ออกแบบและสร้างห้องคลีนรูม ด้วยเทคโนโลยี 4.0 โดยมีการนำ Microsoft HoloLens มาผสานเข้ากับ BIM และ BAS เพื่อทำให้ผู้ใช้งานสามารถเห็นภาพเสมือนจริงและสามารถสั่งการณ์ได้อย่างง่ายได้ เพียงแค่คลิ๊ก โดนการสวมแว่นตา Hololens นอกจากนี้ CAI Engineering ยังขอเป็นส่วนหนึ่งในการผลักด้านเป้าหมาย Net Zero ด้วยการนำ BAS มาคาดวิเคราะห์ข้อมูลพยากรณ์อากาศ เพื่อนำไปควบคุมการทำงานของ DOAS ทำให้ลดโลกร้อนไปพร้อม ๆ กับการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย