Circular Economy สู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อสร้างเพื่อความยั่งยืน

Circular Economy สู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อสร้างเพื่อความยั่งยืน

อุตสาหกรรมก่อสร้างเป็นหนึ่งในภาคส่วนที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากที่สุดของโลก และเป็นต้นเหตุสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการใช้พลังงานมหาศาล การปล่อยก๊าซเรือนกระจก และขยะจากการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยความตระหนักถึงผลกระทบเหล่านี้จึงได้ถือกำเนิด…

แนวคิด “Circular Economy” หรือ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” ที่ถูกนำมาใช้เพื่อปฏิวัติวงการก่อสร้างให้ก้าวสู่ยุคใหม่ที่ลดการใช้ทรัพยากร ลดของเสีย ลดขยะ ลดมลพิษ และเพิ่มการหมุนเวียนวัสดุก่อสร้างให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยหลักการพื้นฐานคือการหมุนเวียนทรัพยากรกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตซ้ำแล้วซ้ำเล่าแทนที่จะทิ้งไปเมื่อหมดความจำเป็น

เราจะมาดูกันว่าหลักการสำคัญและแนวทางปฏิบัติของ Circular Economy ในอุตสาหกรรมก่อสร้างมีอะไรบ้าง รวมถึงประโยชน์ที่ธุรกิจจะได้รับจากการนำแนวคิดนี้ไปปรับใช้เพื่อช่วยกันลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมสร้างอนาคตที่ยั่งยืนด้วยกัน

เศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy คืออะไร

เศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy คืออะไร

เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คือ แนวคิดทางเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โดยการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ ซ่อมแซม รีไซเคิล หรือยืดอายุการใช้งาน และลดของเสียให้น้อยที่สุด ซึ่งแตกต่างจากเศรษฐกิจแบบเส้นตรง (Linear Economy) ที่ใช้หลักการ “ผลิต-ใช้-ทิ้ง” ที่ก่อให้เกิดขยะเป็นจำนวนมาก ซึ่งวัตถุประสงค์ของเศรษฐกิจหมุนเวียน คือการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ลดขยะ และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น มลพิษและโลกร้อน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจ โดยใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการใช้นวัตกรรมในการออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตที่ยั่งยืน

หลักการสำคัญและหลักปฏิบัติของแนวคิด Circular Economy

โดยมีหลักการสำคัญ 8 ประการที่เกี่ยวข้องกับแนวคิด Circular Economy ดังนี้ต่อไปนี้

  1. ความทนทาน (Durability) : การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้แข็งแรง คงทน มีอายุการใช้งานยาวนาน เพื่อลดความต้องการผลิตใหม่
  2. การใช้ทรัพยากรหมุนเวียน (Renewability) : การใช้วัสดุที่สามารถหมุนเวียนหรือย่อยสลายได้ เช่น พลังงานหมุนเวียน หรือวัสดุชีวภาพ
  3. การใช้ซ้ำ (Reuse) : การใช้ผลิตภัณฑ์เดิมซ้ำโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการผลิตใหม่ เช่น ขวดแก้ว หรือกล่องบรรจุภัณฑ์
  4. การซ่อมแซม (Repair) : การซ่อมแซมผลิตภัณฑ์ที่เสียหายแทนการทิ้ง เช่น การเปลี่ยนชิ้นส่วนโทรศัพท์แทนการซื้อใหม่ เป็นต้น
  5. การเปลี่ยนชิ้นส่วนแทนการเปลี่ยนทั้งผลิตภัณฑ์ (Replacement) : การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สามารถเปลี่ยนเฉพาะส่วนที่เสียหายได้ เช่น เปลี่ยนแบตเตอรี่แทนการเปลี่ยนโทรศัพท์ทั้งเครื่อง
  6. การอัปเกรด (Upgrade) : การเพิ่มประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์แทนการซื้อใหม่ เช่น อัปเกรดซอฟต์แวร์แทนการเปลี่ยนอุปกรณ์
  7. การปรับปรุงใหม่ (Refurbishment) : การปรับปรุงผลิตภัณฑ์เก่าให้มีสภาพดีขึ้น เช่น รีโนเวทเฟอร์นิเจอร์เก่าให้กลับมาใช้งานได้
  8. การลดการใช้วัสดุ (Reduced Material Use): การออกแบบให้ใช้วัสดุน้อยลงแต่ยังคงคุณภาพ เช่น บรรจุภัณฑ์บางลง หรือใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบา เป็นต้น

แนวทางปฏิบัติ Circular Economy ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง

แนวทางปฏิบัติ Circular Economy ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง

แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมก่อสร้าง โดยมุ่งเน้นการลดของเสียและใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพในการก่อสร้างและออกแบบอาคารให้รองรับการนำกลับมาใช้ใหม่อย่างยั่งยืน ซึ่งสามารถนำไปปฏิบัติได้ผ่านแนวทางต่าง ๆ ดังนี้

  1. การออกแบบอาคารแบบหมุนเวียน (Design for Circularity) : ออกแบบให้วัสดุสามารถถอดประกอบและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และใช้โครงสร้างที่มีความยืดหยุ่นสามารถปรับเปลี่ยนหรือขยายต่อเติมได้ง่าย
  2. การเลือกใช้วัสดุที่ยั่งยืน (Sustainable Materials) : การใช้วัสดุรีไซเคิล เช่น คอนกรีตรีไซเคิล ไม้หมุนเวียน หรือเหล็กรีไซเคิล โดยเลือกวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือย่อยสลายได้
  3. กระบวนการก่อสร้างที่ยั่งยืน (Sustainable Construction Processes) : การลดของเสียจากการก่อสร้างอาคารโดยการใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าด้วยวิธีการก่อสร้างแบบสำเร็จรูป (Modular Construction) เพื่อลดเศษวัสดุ เป็นต้น
  4. การจัดการของเสีย (Waste Management) : การแยกและนำของเสียจากการก่อสร้างอาคารไปรีไซเคิลหรือนำมาใช้ใหม่ และลดการฝังกลบโดยหาทางนำเศษวัสดุกลับมาใช้ในโครงการอื่น
  5. วงจรชีวิตอาคารและและการรื้อถอน (Building Lifecycle & Demolition) : การวางแผนให้วัสดุสามารถถอดและนำกลับมาใช้ใหม่เมื่อหมดอายุการใช้งาน และรีไซเคิลหรือดัดแปลงอาคารเก่าเพื่อลดการใช้ทรัพยากรใหม่

 

ประโยชน์ของ Circular Economy ต่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง

เมื่ออุตสาหกรรมก่อสร้างได้นำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาประยุกต์ใช้ในวงการก่อสร้าง โดยควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร จึงทำให้เกิดประโยชน์และข้อดีทั้งในแง่มุมของธุรกิจและสิ่งแวดล้อม เช่น

  • ประโยชน์ของ Circular Economy ต่อภาคธุรกิจ
    • ลดต้นทุนวัสดุ : การใช้วัสดุรีไซเคิลและหมุนเวียน เป็นการลดการใช้ทรัพยากรใหม่ และลดของเสียจากการก่อสร้างทำให้ต้นทุนก่อสร้างลดลงได้
    • เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ : ช่วยเปิดตลาดใหม่สำหรับวัสดุหมุนเวียนและการก่อสร้างที่ยั่งยืน อีกทั้งยังเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจจากแนวทางก่อสร้าง อาคารสีเขียว (Green Building)
    • สร้างภาพลักษณ์และความยั่งยืน : ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือของบริษัทด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และดึงดูดนักลงทุนและลูกค้าที่สนใจอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


  • ประโยชน์ของ Circular Economy ต่อภาคสิ่งแวดล้อม
    • ลดของเสียและการฝังกลบ : การใช้วัสดุหมุนเวียน จะช่วยลดขยะก่อสร้าง และลดปริมาณการฝังกลบในสิ่งแวดล้อมได้
    • ลดการใช้พลังงานและคาร์บอนฟุตพริ้นต์ : การใช้วัสดุที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียน เป็นการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อช่วยลดโลกร้อนได้
    • อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ : การลดการใช้ทรัพยากรใหม่ เช่น ไม้ เหล็ก และคอนกรี รวมถึงยังช่วยปกป้องระบบนิเวศและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

ตัวอย่างการนำ Circular Economy มาใช้ในการก่อสร้างอาคาร

ตัวอย่างการนำ Circular Economy มาใช้ในการก่อสร้างอาคาร

การนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาใช้ในการก่อสร้างอาคาร โดยมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและลดของเสีย ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ “โครงการเคหะของรัฐในเดนมาร์ก” ซึ่งเป็นโครงการแรกที่สร้างขึ้นตามหลักการ Circular Economy โดยมีการนำอิฐเก่าจากการรื้อถอนมาทำความสะอาดด้วยเทคโนโลยีการสั่นสะเทือน ตรวจสอบคุณภาพ และนำกลับมาใช้ในการก่อสร้างใหม่ ซึ่งกระบวนการนี้ช่วยประหยัดพลังงานได้มากกว่าร้อยละ 95 เมื่อเทียบกับการผลิตอิฐใหม่ และการนำอิฐเก่าจำนวน 2,000 ก้อนกลับมาใช้สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 1 ตัน  

 

ขอแนะนำบทความที่น่าสนใจ : 

 

Circular Economy ไม่ได้เป็นเพียงเทรนด์แต่เป็น “กุญแจสำคัญ” ที่จะนำอุตสาหกรรมก่อสร้างไปสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง โดยการเปลี่ยนแปลงแนวคิดจาก “ใช้แล้วทิ้ง” มาเป็น “หมุนเวียนกลับมา” ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ และเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรอีกด้วย

 

CAI Engineering ในฐานะผู้อยู่ในอุตสาหกรรมคลีนรูมและนวัตกรรมปรับอากาศ เราเองต่างก็ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการก่อสร้าง จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญกับการนำแนวคิด Circular Economy มาปรับใช้ในโครงการต่าง ๆ ของลูกค้า ตั้งแต่การออกแบบระบบเพื่อการจัดการพลังงานในโครงการอย่างยั่งยืน ตลอดจนวางแผนการก่อสร้างให้ใช้งานวัสดุอย่างคุ้มค่าเพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับทุกโครงการจากเรา เช่น การใช้เทคโนโลยี BIM ในการออกแบบก่อนเริ่มการก่อสร้าง เป็นต้น

 

ปรึกษาเรื่องการสร้างห้องคลีนรูม

หรือติดตามความรู้เรื่องนวัตกรรมการปรับอากาศ

Line OA : @caihvac หรือคลิก https://lin.ee/RTsrnHb

E-mail : veeraya@caiengineering.com

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

Circular Economy สู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อสร้างเพื่อความยั่งยืน

Circular Economy สู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อสร้างเพื่อความยั่งยืน

Circular Economy แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อสร้าง มุ่งสู่ความยั่งยืนด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าในวัฏจักรชีวิตอาคาร

Read More »
เคล็ดลับยืดอายุผนังแซนวิช (Sandwich Panel) ให้คงทน ใช้งานได้ยาวนาน

เคล็ดลับยืดอายุผนังแซนวิช (Sandwich Panel) ให้คงทน ใช้งานได้ยาวนาน

เผยเคล็ดลับดูแลรักษาและทำความสะอาดผนังสำเร็จรูป หรือผนังแซนวิชพาแนล (Sandwich Panel) ให้ทนทาน ยืดอายุการใช้งาน ช่วยลดค่าซ่อมบำรุงได้

Read More »

By clicking “Accept”, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts. Privacy Policy

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า