DDC Controller : เทคโนโลยีสำคัญเพื่อการควบคุมระบบปรับอากาศ (HVAC) ในอาคาร

DDC Controller : เทคโนโลยีสำคัญเพื่อการควบคุมระบบปรับอากาศ (HVAC) ในอาคาร

การจัดการและการควบคุมระบบต่าง ๆ ในอาคารมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันซึ่งมีหนึ่งในเทคโนโลยีที่สำคัญ นั่นก็คือ “ระบบ DDC Controller” ที่เป็นระบบควบคุมดิจิทัลที่ช่วยให้การทำงานของระบบปรับอากาศ HVAC ในอาคารมีความแม่นยำในการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น และคุณภาพอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

โดยระบบ DDC Controller จะทำงานโดยการเชื่อมต่อส่วนประกอบที่สำคัญ เช่น เซ็นเซอร์และอุปกรณ์ควบคุมภายในระบบปรับอากาศ HVAC เข้ากับระบบควบคุมอัตโนมัติ BAS/BMS ทำให้สามารถตรวจสอบสถานะการทำงาน ปรับเปลี่ยนค่าต่าง ๆ ได้แบบเรียลไทม์ ช่วยลดข้อผิดพลาดจากการควบคุมแบบแมนนวล สามารถปรับเปลี่ยนควบคุมและมีความยืดหยุ่นสูงจากตำแหน่งที่อุปกรณ์ควบคุมติดตั้งอยู่และการควบคุมจากทางไกล ทำให้ระบบปรับอากาศสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 

 

บทความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ : 

Direct Digital Control (DDC) คืออะไร

Direct Digital Control (DDC) คืออะไร

Direct Digital Control (DDC) คือระบบควบคุมเชิงเลขโดยตรงที่ใช้ตัวควบคุมไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor Controller) ในการประมวลผลและควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ในะบบควบคุมอาคารอัตโนมัติ (BAS/BMS) เช่น ระบบปรับอากาศ (HVAC) โดยตัวควบคุมไมโครโปรเซสเซอร์จะรับข้อมูลจากเซ็นเซอร์ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น และความดัน จากนั้นจึงประมวลผลตามโปรแกรมที่กำหนด แล้วส่งสัญญาณไปควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น พัดลม วาล์ว และเครื่องทำความเย็น เพื่อให้สภาพแวดล้อมภายในอาคารเป็นไปตามที่ต้องการ โดยระบบ DDC Controller จะช่วยเพิ่มความแม่นยำ ลดการใช้พลังงาน และทำให้ระบบปรับอากาศทำงานได้อัตโนมัติและมีประสิทธิภาพสูงขึ้นนั่นเอง

ส่วนประกอบของระบบ DDC Controller

ส่วนประกอบสำคัญในระบบ DDC Controller มีดังนี้

  • เซ็นเซอร์ (Sensor) : อุปกรณ์ตรวจจับค่าทางกายภาพ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ความดัน และการไหลของอากาศ ส่งข้อมูลไปยังแผงควบคุมหลักเพื่อประมวลผลและปรับระบบให้เหมาะสม
  • แผงควบคุมหลัก (Main Control Panel) : หน่วยประมวลผลที่ใช้ไมโครโปรเซสเซอร์ในการรับข้อมูลจากเซ็นเซอร์ วิเคราะห์ตามโปรแกรมควบคุม และส่งสัญญาณไปยังแอคชูเอเตอร์เพื่อควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบปรับอากาศ
  • แอคชูเอเตอร์ (Actuator) : อุปกรณ์ที่แปลงสัญญาณควบคุมจากแผงควบคุมเป็นการทำงานจริง เช่น ควบคุมวาล์วปรับน้ำเย็น ปรับมุมเปิดของแดมเปอร์ หรือควบคุมการทำงานของปั๊มน้ำ เพื่อให้ระบบ HVAC ทำงานได้ตามต้องการ

 

ขอแนะนำผลิตภัณฑ์ SAUTER ที่น่าสนใจ : SAUTER Smart Actuator แอคชูเอเตอร์อัจฉริยะด้วยเทคโนโลยี IoT

หลักการทำงานของ DDC Controller

หลักการทำงานของระบบ DDC Controller ในการควบคุมการทำงานระบบอัตโนมัติด้วยคอมพิวเตอร์และไมโครโปรเซสเซอร์พร้อมเซ็นเซอร์สำหรับระบบปรับอากาศ HVAC โดยแบ่งการทำงานออกเป็น 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่

  • การรับข้อมูล (Input) : ระบบ DDC ใช้เซ็นเซอร์ตรวจจับค่าต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ความดัน และการไหลของอากาศ จากนั้นเซ็นเซอร์จะแปลงค่าทางกายภาพเป็นสัญญาณไฟฟ้าและส่งไปยังแผงควบคุมหลักเพื่อประมวลผล
  • การประมวลผล (Processing) : แผงควบคุมหลักที่ใช้ไมโครโปรเซสเซอร์จะประมวลผลข้อมูลจากเซ็นเซอร์ตามโปรแกรมที่ตั้งไว้ เช่น คำนวณว่าต้องเพิ่มหรือลดอุณหภูมิ เพื่อให้ระบบ HVAC ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงาน
  • การสั่งการ (Output) : หลังจากประมวลผล ระบบจะส่งสัญญาณควบคุมไปยังแอคชูเอเตอร์ เช่น ปรับเปิด-ปิดวาล์วน้ำเย็น ปรับการทำงานของพัดลม หรือควบคุมแดมเปอร์ เพื่อปรับสภาพแวดล้อมภายในอาคารให้เป็นไปตามค่าที่ต้องการ

จุดเด่นของระบบ DDC Controller

คุณสมบัติหลักของระบบ DDC Controller ที่เป็นข้อดีในการควบคุมระบบปรับอากาศ (HVAC) หรือระบบควบคุมอัจฉริยะ BAS/BMS มีดังต่อไปนี้

  • ความแม่นยำและประสิทธิภาพสูง : ระบบควบคุม DDC สามารถตรวจจับและปรับค่าการทำงานของระบบ HVAC ได้แบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น และการไหลของอากาศได้อย่างแม่นยำและช่วยลดข้อผิดพลาดจากการควบคุมแบบแมนนวล
  • การทำงานอัตโนมัติและลดการใช้พลังงาน : DDC Controller สามารถตั้งโปรแกรมให้ทำงานตามตารางเวลา หรือปรับการทำงานตามสภาวะแวดล้อมจริง ส่งผลให้ลดการใช้พลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมระบบปรับอากาศ HVAC
  • ความสามารถในการเชื่อมต่อและการตรวจสอบระยะไกล : ระบบ DDC สามารถเชื่อมต่อกับระบบควบคุมอัจฉริยะ BAS/BMS เพื่อให้ผู้ดูแลอาคารสามารถตรวจสอบ วิเคราะห์ และควบคุมอุปกรณ์จากศูนย์กลางหรือผ่านอินเทอร์เน็ตได้ เพื่อเพิ่มความสะดวกและลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา

DDC เกี่ยวข้องอย่างไรกับระบบ BAS/BMS ในการควบคุม HVAC System ในอาคาร

ระบบ DDC Controller ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการควบคุมและเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ของระบบ HVAC ภายในอาคารผ่านระบบควบคุมอัจฉริยะ BAS/BMS โดยรับข้อมูลจากเซ็นเซอร์ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น และความดัน จากนั้นประมวลผลและส่งคำสั่งไปยังแอคชูเอเตอร์ เช่น วาล์ว ปั๊ม และแดมเปอร์ เพื่อปรับการทำงานของระบบปรับอากาศ HVAC ให้มีประสิทธิภาพ โดยระบบ DDC ยังสามารถสื่อสารกับระบบ BAS/BMS เพื่อให้ผู้ดูแลสามารถตรวจสอบและควบคุมอุปกรณ์จากศูนย์กลาง ช่วยลดการใช้พลังงานและเพิ่มความสะดวกในการบริหารจัดการอาคารอีกด้วย

“CAI Engineering” ผู้เชี่ยวชาญนวัตกรรมปรับอากาศด้วยระบบควบคุมอัจฉริยะ

CAI Engineering เราคือผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมปรับอากาศสำหรับอาคารและห้องคลีมรูม ที่มีการพัฒนาการควบคุมระบบปรับอากาศด้วยการใช้ระบบควบคุมอาคารอัตโนมัติ BAS/BMS จากแบรนด์ SAUTER สำหรับการติดตั้งระบบควบคุมการทำงานและมอนิเตอร์ระบบปรับอากาศ HVAC สำหรับอาคารแต่ละประเภท เช่น อาคารสำนักงาน โรงพยาบาล โรงงานอุตสาหกรรม และอาคารขนาดใหญ่ให้แก่ลูกค้าในหลากหลายอุตสาหกรรม

 

โดยข้อดีของการใช้ระบบ BAS/BMS มีดังนี้

  1. ประหยัดพลังงานและลดค่าใช้จ่าย
    •  สามารถควบคุมและปรับแต่งการใช้พลังงานของอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ปิดไฟและเครื่องปรับอากาศอัตโนมัติเมื่อไม่มีคนอยู่
    •  ลดการสูญเสียพลังงานจากการใช้งานที่ไม่จำเป็น เช่น ควบคุมแสงสว่างตามระดับแสงธรรมชาติ

 

  1. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของอาคาร
    • ควบคุมระบบ HVAC (Heating, Ventilation and Air Conditioning) ให้ทำงานอย่างเหมาะสมกับสภาพอากาศภายในอาคาร

 

  1. เพิ่มความสะดวกและความปลอดภัย
    •  ตรวจสอบและแจ้งเตือนเมื่อมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น เช่น ไฟไหม้ ควัน การบุกรุก หรืออุปกรณ์ทำงานผิดปกติ
    • ควบคุมระบบรักษาความปลอดภัย เช่น กล้องวงจรปิด คีย์การ์ด และระบบล็อกอัตโนมัติ

 

  1. ช่วยให้การบำรุงรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
    • ระบบสามารถแจ้งเตือนการบำรุงรักษาอุปกรณ์ล่วงหน้า ลดโอกาสที่เครื่องจักรหรือระบบเกิดความเสียหาย
    • ช่วยให้ฝ่ายซ่อมบำรุงสามารถติดตามและแก้ไขปัญหาได้เร็วขึ้น

 

  1. รองรับการบริหารจัดการจากระยะไกล
    • สามารถตรวจสอบและควบคุมระบบอาคารผ่านอินเทอร์เน็ตหรือแอปพลิเคชันได้จากที่ใดก็ได้ในระยะไกล
    • ช่วยให้ผู้จัดการอาคารสามารถติดตามสถานะของระบบได้ตลอดเวลา

 

  1. รองรับการพัฒนาอาคารอัจฉริยะ (Smart Building)
    • สามารถรวมเข้ากับเทคโนโลยี IoT และ AI เพื่อปรับปรุงการทำงานของอาคารให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
    • ช่วยให้อาคารสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและพฤติกรรมของผู้ใช้งานได้

 

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องข้อดีของการใช้งานระบบ BAS/BMS ได้ที่นี่ : 



ปรึกษาเรื่องการสร้างห้องคลีนรูม

หรือติดตามความรู้เรื่องนวัตกรรมการปรับอากาศ

Line OA : @caihvac หรือคลิก https://lin.ee/RTsrnHb

E-mail : veeraya@caiengineering.com

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

Circular Economy สู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อสร้างเพื่อความยั่งยืน

Circular Economy สู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อสร้างเพื่อความยั่งยืน

Circular Economy แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อสร้าง มุ่งสู่ความยั่งยืนด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าในวัฏจักรชีวิตอาคาร

Read More »
เคล็ดลับยืดอายุผนังแซนวิช (Sandwich Panel) ให้คงทน ใช้งานได้ยาวนาน

เคล็ดลับยืดอายุผนังแซนวิช (Sandwich Panel) ให้คงทน ใช้งานได้ยาวนาน

เผยเคล็ดลับดูแลรักษาและทำความสะอาดผนังสำเร็จรูป หรือผนังแซนวิชพาแนล (Sandwich Panel) ให้ทนทาน ยืดอายุการใช้งาน ช่วยลดค่าซ่อมบำรุงได้

Read More »

By clicking “Accept”, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts. Privacy Policy

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า