ในโลกของอุตสาหกรรมการผลิตและการวิจัยที่ต้องการความสะอาดและความแม่นยำสูง “ห้องคลีนรูม (Cleanroom)” จึงกลายเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยควบคุมสภาพแวดล้อมเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด โดยแต่ละประเภทของห้องคลีนรูมต่างมีการออกแบบ การใช้งาน รวมถึงมาตรฐานของห้องคลีนรูมที่แตกต่างกันออกไปตามความต้องการเฉพาะของแต่ละสาขา
และเพื่อให้เข้าใจถึงความเหมาะสมในการใช้งานห้องคลีนรูมแต่ละประเภทให้มากยิ่งขึ้น ในบทความนี้เราจะพาคุณไปรู้จักกับความแตกต่างระหว่างห้องคลีนรูมทั้ง 2 ประเภทใหญ่ ๆ ที่คนนิยมใช้ นั่นก็คือ ห้องคลีนรูมแบบอุตสาหกรรม (Industrial Cleanroom) และห้องคลีนรูมแบบชีวภาพ (Biological Cleanroom) มาดูกันว่าทั้งสองแบบนั้นเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
การจำแนกประเภทของห้องคลีนรูม (Cleanroom)
ถึงแม้ว่าห้องคลีนรูมจะมุ่งเน้นการสร้างสภาพแวดล้อมภายในห้องที่มีความสะอาดสูง ปราศจากสิ่งปนเปื้อน และควบคุมอนุภาคให้อยู่ในปริมาณที่กำหนดไว้ก็ตาม แต่ห้องคลีนรูมที่ใช้ในอุตสาหกรรมแต่ละแบบต่างก็มีความแตกต่างกันออกไป โดยสามารถจำแนกประเภทของห้องคลีนรูมได้หลากหลายแบบ ซึ่งขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการจำแนก เช่น ระดับความสะอาด หรือวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักตามการใช้งาน ได้แก่ Industrial Cleanroom และ Biological Cleanroom
ห้องคลีนรูมทางอุตสาหกรรม (Industrial Cleanroom) คืออะไร
ห้องปลอดเชื้อในอุตสาหกรรม หรือ Industrial Cleanroom คือพื้นที่ที่ออกแบบมาเพื่อควบคุมสภาพแวดล้อมทางอากาศและป้องกันการปนเปื้อนจากฝุ่นละอองและอนุภาคต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตหรือประกอบชิ้นส่วนที่ต้องการความแม่นยำสูง มีลักษณะเป็นห้องคลีนรูมความดันบวก คือความดันอากาศภายในห้องมากกว่าความดันอากาศภายนอกห้อง
ห้องคลีนรูมทางชีวภาพ (Biological Cleanroom) คืออะไร
ห้องคลีนรูมทางชีวภาพ หรือ Biological Cleanroom คือพื้นที่ที่ออกแบบมาเพื่อควบคุมสภาพแวดล้อมและป้องกันการปนเปื้อนจากจุลินทรีย์และเชื้อโรค เพื่อใช้ในการวิจัยและการผลิตที่เกี่ยวข้องกับชีวภาพ มีลักษณะเป็นห้องคลีนรูมความดันลบ คือความดันอากาศภายในห้องน้อยกว่าความดันอากาศนอกห้อง
เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง Industrial Cleanroom กับ Biological Cleanroom
ปัจจัยในการจำแนกประเภทของห้องคลีนรูมซึ่งทำให้เห็นถึงความแตกต่างของ Industrial Cleanroom กับ Biological Cleanroom สามารถแยกตามหัวข้อต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี้นั่นคือ
วัตถุประสงค์การใช้งาน
- Industrial Cleanroom : เพื่อป้องกันการปนเปื้อนในกระบวนการผลิตหรือการประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตชิ้นส่วนเครื่องบิน การผลิตเซมิคอนดักเตอร์ การประกอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ การผลิตอาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น
- Biological Cleanroom : เพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากจุลินทรีย์และเชื้อโรคในการวิจัยทางชีวภาพ การผลิตยาชีวภาพและวัคซีน การเพาะเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อ การวิจัยทางการแพทย์และเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นต้น
การควบคุมสภาพแวดล้อม
- Industrial Cleanroom : มีเป้าหมายหลักเพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากฝุ่นละอองและอนุภาคต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตหรือการประกอบชิ้นส่วน โดยใช้ระบบกรองอากาศแบบ HEPA หรือ ULPA และใช้ระบบการไหลของอากาศแบบลามินาร์ ที่มีการไหลของอากาศไปในทิศทางเดียวกันและรักษาความดันภายในห้องให้เป็นบวก
- Biological Cleanroom : การควบคุมสภาพแวดล้อมใน Biological Cleanroom มีความเข้มงวดมากกว่า Industrial Cleanroom เนื่องจากต้องป้องกันการปนเปื้อนจากจุลินทรีย์และเชื้อโรคที่อาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการวิจัยหรือการผลิตที่เกี่ยวข้องกับชีวภาพ โดยใช้ระบบกรองอากาศแบบ HEPA หรือ ULPA และใช้ระบบการไหลของอากาศแบบลามินาร์ ที่มีการไหลของอากาศไปในทิศทางเดียวกันและรักษาความดันภายในห้องให้เป็นบวกหรือลบตามความต้องการการใช้งานของห้อง
คลาสของห้องคลีนรูม
- Industrial Cleanroom
- ISO Class 1 : เป็นคลาสที่มีความสะอาดสูงสุด ใช้ในกระบวนการผลิตที่ต้องการความแม่นยำสูงสุด เช่น การผลิตเซมิคอนดักเตอร์
- ISO Class 5 (เทียบเท่า Class 100) : ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์การแพทย์
- ISO Class 7 (เทียบเท่า Class 10,000) : ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตทั่วไปที่ต้องการความสะอาด เช่น อุตสาหกรรมการบินและอวกาศ
- ISO Class 8 (เทียบเท่า Class 100,000) : ใช้ในกระบวนการผลิตที่ต้องการความสะอาดน้อยกว่า เช่น การประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป
- Biological Cleanroom
- ISO Class 5 (เทียบเท่า Class 100) : ใช้ในการผลิตยาชีวภาพและวัคซีนที่ต้องการความสะอาดและปลอดเชื้อสูงสุด และมีการควบคุมการปนเปื้อนจากจุลินทรีย์อย่างเข้มงวด
- ISO Class 7 (เทียบเท่า Class 10,000) : ใช้ในการวิจัยและการพัฒนาทางชีวภาพ เช่น การเพาะเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อ และมีการควบคุมการปนเปื้อนจากจุลินทรีย์ในระดับสูง
- ISO Class 8 (เทียบเท่า Class 100,000) : ใช้ในการผลิตทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับชีวภาพ เช่น การบรรจุผลิตภัณฑ์ทางชีวภาพ และมีการควบคุมการปนเปื้อนจากจุลินทรีย์ในระดับที่เหมาะสม
อุตสาหกรรมที่ใช้งาน
- Industrial Cleanroom : อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, อุตสาหกรรมยานยนต์, อุตสาหกรรมอุปกรณ์ทางการแพทย์, อุตสาหกรรมการบินและอวกาศ
- Biological Cleanroom : อุตสาหกรรมยาชีวภาพ, อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ, อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม, ห้องปฏิบัติการวิจัยทางการแพทย์สถาบันการศึกษาและวิจัย
“ห้องคลีนรูม” เป็นพื้นที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมที่ต้องการความสะอาดสูง ดังนั้นการเลือกประเภทของห้องคลีนรูมขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานของแต่ละอุตสาหกรรม โดย Industrial Cleanroom จะเน้นการควบคุมฝุ่นละอองเป็นหลัก ส่วน Biological Cleanroom จะเน้นไปที่การควบคุมเชื้อโรค เพราะฉะนั้นการทำความเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างทั้งสองประเภทจะช่วยให้เลือกใช้ห้องคลีนรูมได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสำหรับการผลิตหรือการวิจัยให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างราบรื่นนั่นเอง
CAI Engineering รับสร้างห้องคลีนรูมเพื่อทุกอุตสาหกรรม
CAI Engineering บริษัทรับออกแบบและสร้างห้องคลีนรูมแบบครบวงจร สำหรับทุกโครงการทุกอุตสาหกรรมทั้งในไทยและต่างประเทศ ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบไปจนถึงตรวจสอบความเรียบร้อยก่อนส่งมอบงานให้ออกมาดีที่สุด เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานและงบประมาณที่คุ้มค่ากับสิ่งที่ได้ ด้วยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมคลีนรูมมามากกว่า 20 ปี
โดยการเลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพ เช่น ผนังแซนวิชพาแนล Sandwich Panel แบรนด์ WISKIND รวมถึงประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสุดล้ำในการสร้างห้องคลีนรูม เช่น BIM หรือการควบคุมจัดการอย่างระบบ BAS/BMS เป็นต้น
หากคุณกำลังมองหาโซลูชันที่เหมาะสำหรับการสร้างห้องคลีนรูมของคุณ CAI Engineering ยินดีให้คำปรึกษาและบริการที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการ
สามารถติดต่อ CAI Engineering เพื่อรับคำปรึกษาได้แล้ววันนี้ !
Line OA : @caihvac หรือคลิก https://lin.ee/RTsrnHb
E-mail : veeraya@caiengineering.com