อาคารคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Building) หนทางเปลี่ยนโลกสู่ Net Zero Carbon

อาคารคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Building) หนทางเปลี่ยนโลกสู่ Net Zero Carbon

วิกฤตสภาพภูมิอากาศโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกปีจึงเกิดการผลักดันให้เราทุกคนหันมาตระหนักถึงความสำคัญของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเร่งด่วน ซึ่งหนึ่งในภาคส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมากคือ “ภาคอสังหาริมทรัพย์” โดยเฉพาะอาคารต่าง ๆ ทั้งอาคารที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์ ซึ่งมีการใช้พลังงานปริมาณมากและปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศจำนวนมหาศาล 

ดังนั้นการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จึงได้กลายมาเป็นเป้าหมายสำคัญในการสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อม และการก่อสร้างอาคารที่มีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานต่ำหรือ “อาคารคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Building)” จึงเป็นหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงในการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้นั่นเอง

อาคารคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Building) คืออะไร

อาคารคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Building) คืออะไร

อาคารคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Building) หมายถึง อาคารที่ออกแบบและพัฒนาเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยเฉพาะคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ตลอดวัฎจักรวงจรชีวิตของอาคาร (Life Cycle of Building) ตั้งแต่การวางแผน ออกแบบ ก่อสร้าง การใช้งาน จนถึงการรื้อถอน โดยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน

แนวคิด Net Zero Carbon กับอาคารคาร์บอนต่ำ

แนวคิด Net Zero Carbon คือ เป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ โดยสมดุลระหว่างปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการดูดซับหรือชดเชยด้วยวิธีต่าง ๆ ในขณะที่ อาคารคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Building) เป็นแนวทางที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวงจรชีวิตของอาคาร ทั้งในขั้นตอนการออกแบบ การก่อสร้าง การใช้งาน และการรื้อถอน 

โดยการประยุกต์แนวคิดทั้งสองจึงช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกันเพื่อบรรลุเป้าหมาย “Net Zero” โดยมีแนวทางดังนี้ เช่น การออกแบบอาคารและการก่อสร้างที่ยั่งยืน การใช้พลังงานหมุนเวียน การบริหารจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการทรัพยากรน้ำและของเสีย และการชดเชยคาร์บอน เป็นต้น

แนวทางการสร้างอาคารคาร์บอนต่ำ

แนวทางในการสร้างอาคารคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Building) ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานและทรัพยากรในอาคาร อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว และสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัยและผู้ใช้งานอาคาร โดยมีแนวทางในการสร้างอาคารคาร์บอนต่ำ ดังนี้

  1. การออกแบบและก่อสร้างที่เน้นประสิทธิภาพพลังงาน เช่น การออกแบบอาคารตามหลัก Passive Design และใช้เทคโนโลยีเพื่อลดพลังงาน
  2. การเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น วัสดุคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Materials) วัสดุรีไซเคิล และวัสดุจากแหล่งผลิตที่ยั่งยืน
  3. การใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ และระบบพลังงานร่วม
  4. การใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ เช่น ระบบบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะ และระบบควบคุมอาคารอัตโนมัติ BAS/BMS
  5. การจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน เช่น ระบบหมุนเวียนน้ำและการจัดการขยะ
  6. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ใช้อาคาร เช่น การให้ความรู้และออกแบบพื้นที่ส่งเสริมสุขภาพของผู้อยู่อาศัย

5 วัสดุคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Materials) ที่น่าสนใจ

การเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างอาคารคาร์บอนต่ำ เนื่องจากวัสดุเหล่านี้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่าวัสดุทั่วไปในกระบวนการผลิต การใช้งาน และการจัดการหลังหมดอายุการใช้งาน โดยวัสดุคาร์บอนต่ำจะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญ โดยมี Low Carbon Materials ที่น่าสนใจสำหรับการก่อสร้างอาคารคาร์บอนต่ำ ดังนี้

 

1. คอนกรีต (Concrete) : การใช้วัสดุทดแทนบางส่วนของปูนซีเมนต์ เช่น เถ้าลอย (Fly Ash) หรือตะกรันเตาหลอม (Ground Granulated Blast-Furnace Slag) ซึ่งช่วยลดการปล่อย CO₂ จากกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์

2. ไม้ (Timber) : ตัวอย่างเช่น ไม้ที่มีตรา FSC (Forest Stewardship Council) ซึ่งเป็นทรัพยากรหมุนเวียน ช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ระหว่างการเติบโต และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้

3. เหล็ก (Steel) : เหล็กที่ผลิตจากเศษเหล็กใช้พลังงานในการผลิตน้อยกว่าเหล็กจากวัตถุดิบใหม่ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

4. อิฐ (Brick) : อิฐที่รีไซเคิลมาจากเศษวัสดุก่อสร้างหรือตกแต่ง และอิฐธรรมชาติที่ใช้กระบวนการผลิตโดยการใช้พลังงานต่ำ เช่น การตากแห้งด้วยแสงอาทิตย์ เป็นต้น

5. ฉนวนกันความร้อน (Insulation) : เช่น ฉนวนจากเส้นใยธรรมชาติ (Wool, Hemp, Cotton) หรือวัสดุรีไซเคิล เช่น ฉนวนจากขวดพลาสติก PET เป็นต้น

 

CAI Engineering เราคือผู้เชี่ยวชาญในด้านการออกแบบและติดตั้งนวัตกรรมปรับอากาศสำหรับอาคารที่มีประสิทธิภาพสูง โดยเฉพาะในด้านการประหยัดพลังงานและการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนเพื่อการสร้างระบบปรับอากาศในอาคารที่มีความยั่งยืนและตอบโจทย์แนวคิด Net Zero Carbon ตั้งแต่การออกแบบระบบโดยการใช้เทคโนโลยี BIM ในขั้นตอนการออกแบบและก่อสร้าง ตลอดจนการใช้ระบบควบคุมอาคารอัตโนมัติอย่างระบบ BAS/BMS สำหรับการควบคุมระบบต่าง ๆ ภายในอาคารให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยประหยัดพลังงาน

 

ปรึกษาเรื่องการสร้างห้องคลีนรูม

หรือติดตามความรู้เรื่องนวัตกรรมการปรับอากาศ

Line OA : @caihvac หรือคลิก https://lin.ee/RTsrnHb

E-mail : veeraya@caiengineering.com

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

5 แนวทางในการออกแบบอาคารที่ช่วยลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint)

5 แนวทางในการออกแบบอาคารที่ช่วยลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint)

เปิด 5 แนวทางการออกแบบอาคารที่ลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) ลดก๊าซเรือนกระจก พร้อมทั้งช่วยประหยัดพลังงานในอาคารได้อย่างยั่งยืน

Read More »
SAUTER Smart Sensor viaSens : เทคโนโลยีเซ็นเซอร์อัจฉริยะสำหรับระบบอัตโนมัติในอาคาร

SAUTER Smart Sensor viaSens : เทคโนโลยีเซ็นเซอร์อัจฉริยะสำหรับระบบอัตโนมัติในอาคาร

SAUTER Smart Sensor viaSens เซ็นเซอร์อัจฉริยะ ตรวจวัดอุณหภูมิ ความชื้น คุณภาพอากาศในอุปกรณ์เดียวเพื่อระบบอัตโนมัติในอาคาร (Room Automation)

Read More »
5 เป้าหมายหลักในการติดตั้งระบบ BAS/BMS เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงานบริหารอาคาร

5 เป้าหมายหลักในการติดตั้งระบบ BAS/BMS เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงานบริหารอาคาร

อยากรู้ว่าระบบควบคุมอัตโนมัติ BAS/BMS ช่วยให้งานบริหารอาคารของคุณมีประสิทธิภาพขึ้นได้อย่างไร มาสำรวจ 5 เป้าหมายที่คนเลือกติดตั้งระบบนี้กัน !

Read More »

By clicking “Accept”, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts. Privacy Policy

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า