ระบบควบคุมอาคารอัตโนมัติ (Building Automation System : BAS) หรือระบบบริหารจัดการอาคาร (Building Management System : BMS) มีบทบาทสำคัญในการจัดการและควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นระบบปรับอากาศ (HVAC) การควบคุมแสงสว่าง การรักษาความปลอดภัย หรือการจัดการการใช้พลังงานภายในอาคาร
โดยระบบ BAS/BMS นี้ต้องอาศัยสิ่งที่เรียกว่า “โปรโตคอล (Protocol)” หลากหลายรูปแบบในการสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์และระบบต่าง ๆ ภายในอาคาร ซึ่งช่วยให้การทำงานของระบบมีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และหนึ่งในผู้ผลิตเทคโนโลยีชั้นนำที่นำเสนอโปรโตคอลสำคัญในการจัดการระบบ BAS/BMS นั่นคือ “SAUTER” ผู้ซึ่งเป็นที่รู้จักในด้านการพัฒนาโซลูชันการควบคุมระบบอาคารที่ล้ำสมัย
และในวันนี้เราจะพาทุกท่านไปสำรวจโปรโตคอลหลักที่ถูกใช้ในระบบควบคุมอาคารอัตโนมัติ (BAS/BMS) จาก SAUTER ที่ทำให้อุปกรณ์และระบบต่าง ๆ สามารถทำงานร่วมกับส่วนอื่นๆ ในอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะมีอะไรบ้างตามไปดูกันได้เลย !
โปรโตคอล (Protocol) คืออะไร ? เกี่ยวข้องอย่างไรกับระบบ BAS/BMS

โปรโตคอล (Protocol) คือ ข้อกำหนดที่ใช้เพื่อกำหนดวิธีการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบเครือข่าย โดยจะทำหน้าที่กำหนดรูปแบบของข้อมูล วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูล และการจัดการข้อผิดพลาดในระหว่างการสื่อสาร ทำให้ระบบที่ใช้งานโปรโตคอลจึงสามารถทำงานร่วมกันได้ แม้ว่าอุปกรณ์จะมาจากผู้ผลิตที่แตกต่างกัน
โดยการใช้โปรโตคอลในระบบ BAS/BMS จะช่วยให้การจัดการและควบคุมระบบต่าง ๆ ในอาคารเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถปรับเปลี่ยนหรือขยายระบบได้ง่ายในอนาคต ตัวอย่างโปรโตคอลทั่วไปที่นิยมใช้ในระบบ BAS/BMS เช่น BACnet (Building Automation and Control Networks), Modbus หรือ KNX เป็นต้น
Protocol ที่ใช้สำหรับระบบ BAS/BMS ในผลิตภัณฑ์ของ Sauter
ระบบควบคุมอัตโนมัติของ SAUTER มีการใช้โปรโตคอล (Protocol) หลายรูปแบบในการเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการทำงานและการควบคุมภายในอาคาร โดยโปรโตคอลที่ SAUTER ใช้งานนั้นได้รับการออกแบบให้รองรับการใช้งานที่หลากหลายและมีมาตรฐานในระดับสากล ทำให้ผลิตภัณฑ์ของ SAUTER สามารถเข้ากันได้กับอุปกรณ์อื่น ๆ จากหลากหลายผู้ผลิต โดยมีโปรโตคอลหลักที่ SAUTER ใช้สำหรับระบบ BAS/BMS ดังต่อไปนี้
1. BACnet Protocol
BACnet เป็นโปรโตคอลที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายสำหรับระบบ BAS/BMS เนื่องจากสามารถใช้งานร่วมกับระบบต่าง ๆ ภายในอาคารได้หลากหลาย เช่น ระบบปรับอากาศ ระบบควบคุมไฟฟ้า ระบบความปลอดภัย และระบบน้ำ เป็นต้น และนอกจากนี้ BACnet ยังรองรับการสื่อสารผ่านเครือข่ายหลายประเภท เช่น IP และ MSTP อีกด้วย
2. Modbus Protocol
Modbus เป็นโปรโตคอลที่ใช้สำหรับการสื่อสารในระบบอุตสาหกรรมและระบบ BAS/BMS ซึ่งมีความเรียบง่ายและได้รับความนิยมในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์หลายชนิด เช่น เซ็นเซอร์และตัวควบคุม Modbus โดยสามารถใช้ได้ทั้ง TCP/IP (ผ่าน Ethernet) และแบบอนุกรม (RS-485)
3. KNX Protocol
KNX เป็นโปรโตคอลมาตรฐานสำหรับระบบอัตโนมัติภายในอาคาร โดยเฉพาะในยุโรป ซึ่งรองรับการควบคุมทั้งระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ ระบบรักษาความปลอดภัย และระบบอื่น ๆ โดย KNX Protocol สามารถใช้ได้ทั้งสายเคเบิลคู่เกลียว ไฟฟ้า และ IP
4. M-Bus Protocol
M-Bus (Meter-Bus) Protocol คือ โปรโตคอลสำหรับการสื่อสารที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลจากมิเตอร์หรืออุปกรณ์วัดค่าน้ำ ไฟฟ้า แก๊ส ความร้อน และทรัพยากรอื่น ๆ ภายในอาคาร โดยมีความสามารถในการสื่อสารข้อมูลจากมิเตอร์ต่าง ๆ ไปยังระบบควบคุมกลาง เช่น BAS (Building Automation System) หรือ BMS (Building Management System) ผ่านการเชื่อมต่อแบบสายเคเบิลหรือไร้สาย
5. MQTT Protocol
MQTT Protocol คือโปรโตคอลสื่อสารที่มีความเบาและเรียบง่าย ซึ่งถูกออกแบบมาสำหรับการส่งข้อมูลในระบบที่มีข้อจำกัดด้านพลังงานและเครือข่าย เช่น IoT (Internet of Things) การส่งข้อมูลผ่าน MQTT จะใช้โครงสร้างแบบ Publish/Subscribe ทำให้การสื่อสารระหว่างอุปกรณ์สามารถทำได้โดยไม่ต้องมีการเชื่อมต่ออย่างถาวร
โดยการใช้งาน MQTT ในระบบ BAS/BMS ถูกนำมาใช้เพื่อสื่อสารข้อมูลระหว่างเซ็นเซอร์ อุปกรณ์ควบคุม และระบบบริหารจัดการต่าง ๆ ของอาคาร ซึ่งเป็นไปตามโครงสร้างของระบบอัตโนมัติแบบ IoT ที่มีการเชื่อมต่ออุปกรณ์จำนวนมาก เช่น เซ็นเซอร์อุณหภูมิ ความชื้น ระบบปรับอากาศ หรือระบบแสงสว่าง
6. RADIUS Protocol
RADIUS (Remote Authentication Dial-In User Service) Protocol เป็นโปรโตคอลที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในการตรวจสอบสิทธิ์ (authentication) การอนุญาต (authorization) และการเก็บบันทึก (accounting) ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดย RADIUS มักถูกใช้ในระบบที่ต้องการการควบคุมการเข้าถึงของผู้ใช้งานที่เชื่อมต่อผ่านเครือข่าย เช่น เครือข่ายไร้สาย (Wi-Fi) หรือระบบ VPN (Virtual Private Network)
โดยในระบบ BAS/BMS โปรโตคอล RADIUS ถูกนำมาใช้เพื่อควบคุมการเข้าถึงระบบเครือข่ายที่ใช้ในการจัดการและควบคุมระบบอาคารอัตโนมัติ ผู้ใช้งานระบบ BAS/BMS เช่น ผู้ดูแลระบบหรือผู้ใช้งานที่มีสิทธิ์สามารถเข้าถึงระบบควบคุมอาคารต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายได้ แต่จะต้องผ่านการตรวจสอบสิทธิ์ด้วย RADIUS ก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ใช้งานมีสิทธิ์เข้าถึงเฉพาะฟังก์ชันที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
รู้จักกับ SAUTER Modulo 6 และ SAUTER Vision Center

“SAUTER” คือผู้นำด้านเทคโนโลยีการควบคุมอัตโนมัติและการจัดการอาคารที่มีนวัตกรรมและประสิทธิภาพสูง โดยมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการในระบบ BAS/BMS สำหรับอาคาร โดยมีสองผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น ได้แก่ SAUTER Modulo 6 และ SAUTER Vision Center ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการควบคุมและจัดการอาคารให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- SAUTER Modulo 6 : เป็นระบบควบคุมอาคารอัตโนมัติที่ทันสมัย ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การบริหารจัดการพลังงาน การเชื่อมต่อกับระบบและอุปกรณ์หลากหลาย รวมถึงการใช้เทคโนโลยี IoT เพื่อทำให้การจัดการอาคารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
- SAUTER Vision Center : SAUTER Vision Center เป็นระบบซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาเพื่อการจัดการอาคารอัตโนมัติอย่างมีประสิทธิภาพ รองรับการตรวจสอบและควบคุมระบบต่าง ๆ ภายในอาคารจากแพลตฟอร์มเดียว นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการจัดการพลังงาน การวิเคราะห์ข้อมูล และการแจ้งเตือนเมื่อเกิดปัญหา โดยจุดเด่นของ SAUTER Vision Center คือ อินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่ายรองรับการเชื่อมต่อกับระบบหลายประเภทและการควบคุมจากระยะไกล ทำให้การจัดการอาคารเป็นไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพสูงสุด
SAUTER พาร์เนอร์ด้านนวัตกรรมควบคุมอาคารที่ CAI ENGINEERING ไว้ใจ !
CAI Engineering ไว้วางใจเลือก SAUTER บริษัทที่มีชื่อเสียงระดับโลกด้านเทคโนโลยีการควบคุมอาคารและระบบอัตโนมัติในความสามารถและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในการสร้างนวัตกรรมปรับอากาศภายในอาคารร่วมกับการใช้เทคโนโลยีควบคุมอาคารอัจฉริยะของ Sauter ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การเลือก SAUTER เป็นพันธมิตรที่ไว้วางใจ ทำให้ CAI Engineering สามารถมอบโซลูชันที่ล้ำสมัย เพื่อยกระดับการบริหารจัดการอาคารให้แก่ลูกค้าให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนได้ในอนาคต
ขอแนะนำบทความที่เกี่ยวข้อง :
ติดต่อ CAI Engineering เพื่อรับคำปรึกษาได้แล้ววันนี้ !
Line OA : @caihvac หรือคลิก https://lin.ee/RTsrnHb
E-mail : veeraya@caiengineering.com