จับตาเทรนด์ธุรกิจ “เซมิคอนดักเตอร์” กับโอกาสการลงทุนครั้งแรกในไทย

จับตาเทรนด์ธุรกิจ “เซมิคอนดักเตอร์” กับโอกาสการลงทุนครั้งแรกในไทย

ปัจจุบันเทรนด์ธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ หนึ่งในชิป (Chip) ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ ตลอดจนอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งมาจากความต้องการในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และการเพิ่มขึ้นของเทคโนโลยีที่อาศัยชิปเป็นส่วนประกอบ จนทำให้หลายบริษัทต่างเริ่มลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ จนมีอัตราการขยายตัวของตลาดเซมิคอนดักเตอร์เติบโตสูงขึ้นไปทั่วโลก  

อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ยังเผชิญกับความไม่สมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน เนื่องจากยังเกิดปัญหาห่วงโซ่อุปทานในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์จากปัญหาหลายอย่าง อาทิ สงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ตลอดจนความขัดแข้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ซึ่งสวนทางกับความต้องการใช้งานเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

ด้วยแรงผลักดันดังกล่าวจึงทำให้ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์รายสำคัญของโลกลงทุนในเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อใช้ในกระบวนการผลิต รวมถึงขยายฐานการผลิตบางส่วนมายังประเทศไทย จนทำให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์หรือโรงงานเซมิคอนดักเตอร์ในไทยมากขึ้น และสามารถพัฒนาต่อยอดไปสู่การเป็นผู้ผลิตในระดับ Front end และ Back end ในอนาคตได้

Semiconductor คืออะไร?

Semiconductor คืออะไร?

“Semiconductor” เซมิคอนดักเตอร์ คือ วัสดุที่มีคุณสมบัติทางไฟฟ้าอยู่ระหว่างตัวนำไฟฟ้าและฉนวน ซึ่งสามารถควบคุมการนำไฟฟ้าได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ การเพิ่มสิ่งเจือปน หรือการใช้สนามไฟฟ้า โดยมีคุณสมบัติหลักในการนำไฟฟ้า การเพิ่มสารเจือปนและการควบคุมกระแสไฟฟ้า ซึ่งหน้าที่หลัก ๆ ของเซมิคอนดักเตอร์ คือการควบคุมกระแสไฟฟ้า การแปลงสัญญาณ และการเก็บข้อมูล โดยการประยุกต์ใช้เซมิคอนดักเตอร์สามารถครอบคลุมการใช้งานได้หลากหลายด้าน เช่น การผลิตชิปประมวลผลในคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในยานยนต์ ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ และอุปกรณ์การสื่อสารต่าง ๆ เป็นต้น

ความสำคัญของเซมิคอนดักเตอร์ต่ออุตสาหกรรมต่าง ๆ

เซมิคอนดักเตอร์มีบทบาทสำคัญต่ออุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนโลกดิจิทัล ประหนึ่งเป็นสมองของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการประมวลผล การควบคุมการทำงาน หรือการเชื่อมต่อ เป็นต้น โดยอุตสาหกรรมที่มีการใช้งานเซมิคอนดักเตอร์เป็นส่วนประกอบสำคัญ ได้แก่

  • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ : เซมิคอนดักเตอร์เป็นส่วนประกอบหลักในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่เราใช้ในชีวิตประจำวันและในอุตสาหกรรมหลายประเภท เทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์ช่วยให้การพัฒนาและผลิตชิปที่มีประสิทธิภาพสูง อีกทั้งยังทำให้สามารถสร้างอุปกรณ์ที่มีความซับซ้อนและประสิทธิภาพสูงในขนาดที่เล็กลงได้ และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกด้วย
  • อุตสาหกรรมพลังงาน : เซมิคอนดักเตอร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมพลังงาน ทั้งในด้านการผลิต การแปลง และการจัดการพลังงาน ซึ่งการประยุกต์ใช้เซมิคอนดักเตอร์ในอุตสาหกรรมพลังงานช่วยให้การผลิตและการจัดการพลังงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดการสูญเสียพลังงาน และเพิ่มความยั่งยืนของระบบพลังงานในระยะยาว
  • อุตสาหกรรมยานยนต์ : เซมิคอนดักเตอร์เป็นส่วนประกอบหลักในระบบอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้าของยานพาหนะยุคใหม่ ซึ่งช่วยในการพัฒนารถยนต์ให้มีความปลอดภัย ประสิทธิภาพสูง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • อุตสาหกรรมการแพทย์ : เซมิคอนดักเตอร์เป็นส่วนประกอบหลักของอุปกรณ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ช่วยในการวินิจฉัย รักษาและติดตามสุขภาพของผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ
  • อุตสาหกรรมการสื่อสาร : เซมิคอนดักเตอร์ เป็นองค์ประกอบหลักในอุปกรณ์ที่ใช้ในการรับส่งและประมวลผลสัญญาณการสื่อสาร ทำให้การสื่อสารเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพและมีความมั่นคง ช่วยให้ผู้คนสามารถสามารถเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างง่ายดายและปลอดภัย

 

เจาะลึกเทรนด์อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์

ภาพรวมของอุตสาหรรมเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกคาดการณ์ว่าจะยังคงเติบโต โดยมีปัจจัยสนับสนุนต่าง ๆ ทั้งการเติบโตของตลาดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เทรนด์ปัญญาประดิษฐ์ (AI) หรือการประมวลผลแบบคลาวด์ (Cloud Computing) หรือการเปลี่ยนแปลงในห่วงโซ่อุปทานที่ส่งผลให้มีความต้องการชิปเซมิคอนดักเตอร์ที่เพิ่มสูงขึ้น จนผลักดันให้อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์เติบโตอย่างต่อเนื่องนั่นเอง

โดยห่วงโซ่อุปทานการผลิตในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ มีดังนี้

  1. กลุ่มผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ (Fabless) : บริษัทกลุ่มนี้ทำการออกแบบชิปเซมิคอนดักเตอร์แต่ไม่ได้มีโรงงานผลิตชิปเอง โดยเน้นไปที่การวิจัยและพัฒนา การออกแบบวงจร การจำลอง (Simulation) และการทดสอบการทำงานของชิปในระดับการออกแบบ
  2. กลุ่มผู้รับจ้างผลิต (Foundries) : บริษัทกลุ่มนี้ทำหน้าที่ผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์ตามการออกแบบที่ได้รับมาจากบริษัท Fabless โดยใช้กระบวนการผลิตที่ซับซ้อนในโรงงานเซมิคอนดักเตอร์ที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต
  3. กลุ่มให้บริการแพ็กเกจชิป ประกอบและทดสอบชิป (Outsourced Semiconductor Assembly and Test: OSAT) : บริษัทกลุ่มนี้ให้บริการเกี่ยวกับการประกอบชิป การแพ็กเกจ (Packaging) และการทดสอบชิปเพื่อให้พร้อมใช้งานและตรงตามมาตรฐานที่กำหนด

อนาคตของธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศไทย

โอกาสของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของไทยในห่วงโซ่อุปทานการผลิตชิปโลก เป็นการขยับจากการเป็นกลุ่มธุรกิจผู้ประกอบและทดสอบชิป (Assembly and Testing) ซึ่งเป็นธุรกิจที่อยู่ปลายน้ำ (Back End) ยกระดับขึ้นมาเป็นผู้ผลิตที่อยู่ต้นน้ำโดยการตั้งโรงงานผลิตชิปต้นน้ำ (Front End) ที่มีศักยภาพและความซับซ้อนในการผลิตเพิ่มมากขึ้น โดยนายกรัฐมนตรี “คุณเศรษฐา ทวีสิน” ได้มีการดัน “บอร์ดเซมิคอนดักเตอร์” หรือหารือแนวทางการตั้งคณะกรรมการเซมิคอนดักเตอร์แห่งชาติ เพื่อเร่งสร้าง “อีโคซิสเต็ม (Ecosystem)” สำหรับดึงการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ขั้นสูงในไทยเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมให้มีมูลค่าสูง ตลอดจนผลักดันและเร่งการแก้ปัญหาเศรษฐกิจทั้งระยะสั้นและระยะยาว

กลยุทธ์สำคัญสำหรับผู้ประกอบไทยในธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์

กลยุทธ์สำคัญสำหรับผู้ประกอบไทยในธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์

กลยุทธ์ในการปรับตัวของผู้ประกอบการไทยที่ต้องการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานการผลิตเซมิคอนดักเตอร์มี 4 กลยุทธ์สำคัญ ได้แก่

  1. การสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน : การสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐาน การวิจัยและพัฒนา และการสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์
  2. การมองหาพันธมิตรร่วมลงทุนในการผลิตระดับต้นน้ำ : การหาพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตระดับต้นน้ำเป็นสิ่งสำคัญในการเข้าถึงเทคโนโลยีและความรู้ที่จำเป็นต่อการผลิตเซมิคอนดักเตอร์
  3. การพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ :  การพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความสามารถในการแข่งขันในตลาดเซมิคอนดักเตอร์
  4. ส่งเสริมการพัฒนาทักษะแรงงานทั้ง Hard Skill และ Soft Skill : การพัฒนาทักษะแรงงานเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างแรงงานที่มีคุณภาพและสามารถตอบสนองต่อความต้องการของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ได้

ข้อมูลอ้างอิง : The Secret Sauce. (2567). ไทยตั้งโรงเซมิคอนดักเตอร์ เป็นไปได้ไหม กลยุทธ์คืออะไร, จาก https://www.youtube.com/watch?v=epr3EVaoBvc 

กรุงเทพธุรกิจ. (2567). ‘เศรษฐา’ ดัน ‘บอร์ดเซมิคอนดักเตอร์’ เร่งสร้าง ‘อีโคซิสเต็ม’ ดึงลงทุนไทย, จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1130795#google_vignette

ฐานเศรษฐกิจ . (2567). เปิดบิ๊กเนมผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์โลก และศักยภาพของไทย, จาก https://www.thansettakij.com/world/591146

จิรภา บุญพาสุข. (2566). จับตาอนาคตอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์โลกและก้าวต่อไปของไทย, จาก https://www.scbeic.com/th/detail/file/product/9212/gouzpo972m/SCB-EIC-In-Focus-Semiconductor-20230919.pdf

ณรงค์ศักดิ์ ปลอดมีชัย. (2566). ‘เซมิคอนดักเตอร์’ โอกาสการลงทุนกับพลังขับเคลื่อนหลักของนวัตกรรมแห่งอนาคต, จาก https://thestandard.co/semiconductor-2/

การผลิตเซมิคอนดักเตอร์เป็นกระบวนการที่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและความถูกต้องแม่นยำในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการผลิต ตลอดจนอาศัยเครื่องมืออุปกรณ์และสภาพแวดล้อมที่สะอาดและควบคุมอย่างเข้มงวดเพื่อลดการปนเปื้อนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต “ห้องคลีนรูม (Cleanroom)” จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการผลิตเพื่อป้องกันการปนเปื้อนที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงเพิ่มความปลอดภัยในกระบวนการผลิตนั่นเอง

 

“CAI Engineering” นอกจากจะรับสร้างห้องคลีนรูมสำหรับอุตสาหกรรมยาแล้วนั้น เรายังรับสร้างห้องคลีนรูมสำหรับการผลิตเซมิคอนดักเตอร์อีกด้วย ด้วยทีมวิศวกรชำนาญการในการออกแบบห้องคลีนรูมให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดสำหรับความเข้มงวดในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์

สามารถติดต่อ CAI Engineering เพื่อรับคำปรึกษาในการสร้างห้องคลีนรูมได้แล้ววันนี้ !

Line OA : @caihvac หรือคลิก https://lin.ee/RTsrnHb

E-mail : veeraya@caiengineering.com

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ระบบทำความเย็นแบบรวมศูนย์ (District Cooling System) ทางเลือกปรับอากาศสำหรับอาคารประหยัดพลังงาน

ระบบทำความเย็นแบบรวมศูนย์ (District Cooling System) ทางเลือกปรับอากาศสำหรับอาคารประหยัดพลังงาน

ระบบทำความเย็นแบบรวมศูนย์ (District Cooling System) หนึ่งในทางเลือกที่ช่วยประหยัดพลังงานสำหรับระบบปรับอากาศในอาคารขนาดใหญ่

Read More »
อาคารคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Building) หนทางเปลี่ยนโลกสู่ Net Zero Carbon

อาคารคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Building) หนทางเปลี่ยนโลกสู่ Net Zero Carbon

อาคารคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Building) ลดการปล่อยคาร์บอนสู่สิ่งแวดล้อม พร้อมมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero เพื่อการประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับโลก

Read More »
5 ข้อดีในการใช้เครื่องเติมอากาศ DOAS ในระบบปรับอากาศสำหรับอาคาร

5 ข้อดีในการใช้เครื่องเติมอากาศ DOAS ในระบบปรับอากาศสำหรับอาคาร

เปิด 5 ข้อดีของเครื่องเติมอากาศภายนอกชนิดอสระ DOAS (Dedicated Outdoor Air Systems) ในระบบปรับอากาศ เพื่อเพิ่มคุณภาพอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ

Read More »

By clicking “Accept”, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts. Privacy Policy

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า