กฎหมายแรงงานและข้อกำหนดเกี่ยวกับการปรับอากาศ_CAI

การปรับอากาศในอาคารกับกฏหมายแรงงานที่ต้องรู้

สภาพอากาศและสภาวะแวดล้อมถือเป็นส่วนสำคัญทั้งในอาคาร โรงงาน รวมถึงสถานประกอบการขนาดใหญ่ ซึ่งจำเป็นต้องมีการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น การระบายอากาศ และการปรับอากาศให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ เพื่อให้ผู้ใช้งานอาคารนั้นเกิดความสบาย มีอากาศที่ถ่ายเท และเหมาะกับจำนวนคนที่อยู่ภายในอาคาร จึงมีการออกกฎหมายและข้อกำหนดต่าง ๆ ออกมาเพื่อการปรับอากาศในอาคารหรือโรงงานเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน

การปรับอากาศในอาคารสำคัญอย่างไร?

ในโรงงาน อาคาร และสถานประกอบการขนาดใหญ่จำเป็นต้องมีการปรับอากาศ รวมถึงการควบคุมและรักษาระดับความร้อนให้เหมาะสม เนื่องจากการปรับอากาศที่ไม่มีประสิทธิภาพเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความสะดวกสบายของผู้ใช้อาคาร โดยเฉพาะอาคารที่มีการปิดมิดชิด เช่น โรงงาน ห้องคลีนรูม ห้องไลน์ผลิต ฯลฯ ซึ่งอาจมีการหมุนเวียนของอากาศภายในอาคารจำกัดหรือมีการถ่ายเทอากาศจากภายนอกน้อยเกินไป จนอาจทำให้เกิดการสะสมของก๊าซคารบอนไดออกไซด์ในปริมาณมากและเกิดการสะสมสารมลพิษต่างๆ รวมถึงความชื้นที่ไม่สมดุลยังก่อให้เกิดเชื้อโรคและทำให้คุณภาพของอุปกรณ์ต่าง ๆ เสื่อมลงเร็วขึ้นอีกด้วย

นอกจากนี้ อุณหภูมิในอาคารที่มีความร้อนสูง การสะสมของฝุ่นและสารเคมีในอาคารอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายของผู้ใช้งานอาคารอีกหลายประการ เช่น ภาวะ Sick Building Syndrome โดยจะมีอาการปวดศีรษะ คัดจมูก ระคายเคืองตา ไอ จาม และเป็นผื่นตามผิวหนัง รวมถึงปัญหาสุขภาพที่เกิดจากความร้อน ได้แก่

  • มีไข้ (Fever หรือ Pyrexia)
  • ลมแดด (Heat Stroke) และการเป็นลม (Heat Syncope)
  • หน้ามืดเป็นลม (Fainting หรือ Heat Syncope)
  • อ่อนเพลียเนื่องจากความร้อน (Heat Exhaustion)
  • ร่างกายขาดน้ำ (Dehydration)
  • เกิดตะคริวเนื่องจากความร้อน (Heat Cramp)

ดังนั้น ในโรงงาน อาคาร และสถานประกอบการขนาดใหญ่ จึงจำเป็นต้องมีการติดตั้งระบบปรับอากาศและจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคารให้มีคุณภาพที่ดี โดยติดตั้งระบบปรับอากาศ HVAC และออกแบบระบบระบายอากาศให้เพียงพอกับพื้นที่หรือกิจกรรมภายในอาคาร ตลอดจนการปฏิบัติตามแนวทางของกฎหมายและข้อกำหนดอย่างถูกต้อง

กฎหมายแรงงานและข้อกำหนดเกี่ยวกับการปรับอากาศ_CAI

กฎหมายแรงงานและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง มีอะไรบ้าง?

ในประเทศไทยของเรานั้นได้มีการออกกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการปรับและรักษาคุณภาพอากาศในอาคารให้เหมาะสม ดังนี้

กฎกระทรวงแรงงาน

กระทรวงแรงงานได้ออกกฎกระทรวง การกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่างและเสียง พ.ศ. 2559

  • ข้อที่ 2 ได้กำหนดไว้ว่า ให้นายจ้างควบคุมและรักษาระดับความร้อนภายในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้าง ทํางานอยู่ไม่ให้เกินมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
    (1) งานที่ลูกจ้างทำในลักษณะงานเบาต้องมีมาตรฐานระดับความร้อนไม่เกินค่าเฉลี่ย อุณหภูมิ wet bulb 34 องศาเซลเซียส
    (2) งานที่ลูกจ้างทําในลักษณะงานปานกลางต้องมีมาตรฐานระดับความร้อนไม่เกินค่าเฉลี่ย อุณหภูมิ wet bulb 32 องศาเซลเซียส
    (3) งานที่ลูกจ้างทําในลักษณะงานหนักต้องมีมาตรฐานระดับความร้อนไม่เกินค่าเฉลี่ย อุณหภูมิ wet bulb 30 องศาเซลเซียส
  • ข้อที่ 3 ในกรณีที่ภายในสถานประกอบกิจการมีแหล่งความร้อนที่อาจเป็นอันตราย ให้นายจ้างติดป้ายหรือประกาศเตือนอันตรายในบริเวณดังกล่าว โดยให้ลูกจ้างสามารถมองเห็นได้ชัดเจน

ในกรณีที่บริเวณการทํางานตามวรรคหนึ่งมีระดับความร้อนเกินมาตรฐานที่กําหนด ให้นายจ้างดําเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขสภาวะการทํางานทางด้านวิศวกรรม เพื่อควบคุมระดับความร้อนให้เป็นไปตามมาตรฐานและจัดให้มีการปิดประกาศและเอกสารหรือหลักฐานในการดําเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขเพื่อให้พนักงานสามารถตรวจสอบได้

แต่ในกรณีที่ไม่สามารถดําเนินการได้ ให้นายจ้างจัดให้มีมาตรการควบคุมหรือลดภาระงาน และต้องจัดให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามที่กําหนดตลอดเวลาที่ทํางาน

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม. ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2513)

ในมาตรา 39 แหงพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 รัฐมนตรีวาการกระทรวง อุตสาหกรรม ออกประกาศกํ าหนดหลักเกณฑและวิธีการที่ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานทุกประเภทหรือชนิดมีหน้าที่กระทำการไว้ ดังนี้

  • ข้อที่ 24 ต้องจัดให้มีการระบายอากาศที่เหมาะสม โดยให้มีพื้นที่ ประตู หน้าต่าง และช่องลมรวมกันโดยไม่นับที่ติดต่อระหว่างห้องไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ส่วน ของพื้นที่ของห้องในเวลาปฏิบัติงาน หรือมีการระบาย อากาศไม่น้อยกว่า 0.5 ลูกบาศก์เมตรต่อนาทีต่อคนงาน 1 คน ทั้งนี้สำหรับโรงงานโดยทั่วไปที่ไม่มีการเก็บหรือ การใช้วัตถุมีพิศ วัตถุเคมี วัตถุไวไฟ วัตถุระเบิด หรือวัตถุอื่นที่อาจเป็นอันตราย หรือที่อาจเป็นฝุ่นละออง
  • ข้อที่ 25 ในการปฏิบัติงานเป็นครั้งคราวในที่อับ ซึ่งอากาศไม่ถ่ายเท ต้องใช้เครื่องช่วยในการหายใจ หรือ เครื่องระบายอากาศที่ดีช่วยในการปฏิบัติงานของคนงาน และอย่างน้อยต้องมีคนหนึ่งประจําอยู่ปากทางเข้าออกที่อับ สำหรับคอยให้ความช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา

นอกจากนี้ ยังมีมาตรฐานของคุณภาพอากาศภายในอาคารที่มีการกำหนดจากหลายหน่วยงาน เช่น ASHRAE 62.1-2010, Singapore : SS 554 : 2009, Singapore : SS 554 : 2016, Hong Kong, OSHA และ NIOSH ที่มีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายรวมถึงในประเทศไทยบ้านเราด้วยเช่นกัน

การจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคาร ทำได้อย่างไร?

ปัจจุบันในอาคาร โรงงาน และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่นิยมใช้ HVAC เข้ามาเป็นระบบระบายอากาศในโรงงานและระบบระบายอากาศในอาคาร เนื่องจาก HVAC ประกอบไปด้วย Heating (การทำความร้อน) , Ventilation (การระบายอากาศ) และ Air conditioning (การปรับอากาศ) ที่สามารถควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น ความดัน รวมถึงกรองสิ่งสกปรกในอากาศเพื่อให้อากาศบริสุทธิ์และเหมาะสมกับพื้นที่ใช้งานขนาดใหญ่ รวมถึงพื้นที่ที่ต้องการควบคุมสภาวะอากาศอย่างเคร่งครัด เช่น ห้องคลีนรูม ห้องปลอดเชื้อความดันบวก ห้องปลอดเชื้อความดันลบ ห้องทดลอง อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ เป็นต้น

ทำไมอาคาร โรงงาน และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จึงเลือกใช้ระบบปรับอากาศ HVAC มากกว่า Air Conditioner?
อ่านต่อ ระบบปรับอากาศ HVAC ต่างจาก Air Conditioner อย่างไร

ออกแบบและติดตั้งระบบปรับอากาศในอาคารตามกฎหมายแรงงาน_CAI

ออกแบบและติดตั้งระบบปรับอากาศในอาคารกับ CAI Engineering

CAI Engineering รับออกแบบและติดตั้งระบบปรับอากาศภายในห้องคลีนรูม อาคาร และโรงงานอุตสาหกรรมหลากหลายประเภทโดยวิศวกรชำนาญการด้านระบบ HVAC ที่มีประสบการณ์กว่า 19 ปี และได้มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างระบบบริหารจัดการอาคารอัตโนมัติ (BAS) ด้วยคอนโทรลเลอร์คุณภาพสูงจากแบรนด์ Sauter เพื่อมอบความความปลอดภัยขั้นสูงและความสะดวกสบายในการใช้งานอาคาร เพื่อให้ระบบปรับอากาศและระบายอากาศในอาคารหรือโรงงานเป็นไปตามข้อกำหนดของกฏหมายแรงงานและมาตรฐานที่สากลกำหนด

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ห้องแรงดันบวก VS ห้องแรงดันลบ แตกต่างกันอย่างไร ? สำคัญอย่างไรกับห้องปลอดเชื้อ

ห้องแรงดันบวก VS ห้องแรงดันลบ แตกต่างกันอย่างไร ? สำคัญอย่างไรกับห้องปลอดเชื้อ

มาเข้าใจหลักการทำงานและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างห้องแรงดันบวกและห้องแรงดันลบ ว่าทำไมทั้งสองประเภทจึงมีบทบาทสำคัญในห้องปลอดเชื้อกันกัน

Read More »
Cleanroom 101 : คู่มือปฏิบัติงานสำหรับมือใหม่ในห้องคลีนรูม

Cleanroom 101 : คู่มือปฏิบัติงานสำหรับมือใหม่ในห้องคลีนรูม

คำแนะนำในการทำงานรวมถึงชุดคลีนรูมที่ถูกต้องเพื่อให้ผู้ใช้งานห้องคลีนรูมเข้าใจและปฏิบัติตามมาตรฐานของห้องคลีนรูม (Cleanroom) ได้อย่างถูกต้อง

Read More »

By clicking “Accept”, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts. Privacy Policy

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า