“จุดความร้อน” (Fire Hotspot) คืออะไร? เกี่ยวข้องอย่างไรกับฝุ่น PM 2.5

“จุดความร้อน” (Fire Hotspot) คืออะไร? เกี่ยวข้องอย่างไรกับฝุ่น PM 2.5

ในปัจจุบันท้องฟ้าต่างปกคลุมไปด้วยหมอกควัน ฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 ที่พุ่งสูงขึ้นจนแตะระดับอันตรายในหลายภาคส่วนของประเทศไทย ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นมลพิษทางอากาศขนาดใหญ่ที่ส่งผลทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ เช่น โรคหัวใจ โรคปอด และระบบทางเดินหายใจ นอกจากนี้มลพิษทางอากาศยังส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน เนื่องจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น คาร์บอนไดออกไซด์และมีเทน ซึ่งสะสมในชั้นบรรยากาศ อีกทั้งยังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ซึ่งหนึ่งในสาเหตุหลักของปัญหามลพิษทางอากาศเหล่านี้มาจาก “จุดความร้อน” (Fire Hotspot) หรือพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงผิดปกติ โดยมักเกิดจากไฟป่า (Forest Fire) ไฟใต้ดิน (Ground Fire) การเผาไหม้ตอซังหรือฟางข้าว การเผาขยะ หรือการเผาเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูก เป็นต้น โดยจุดความร้อนเหล่านี้ส่งผลร้ายแรงต่อทั้งสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์

ทำความรู้จักกับจุดความร้อน (Fire Hotspot)

จุดความร้อน (Fire Hotspot) คือ พื้นที่หรือจุดที่มีอุณหภูมิสูงผิดปกติ ซึ่งสามารถตรวจจับได้จากจานดาวเทียม เมื่อตรวจพบจุดความร้อนที่บ่งบอกถึงการเกิดไฟป่า การเผาไหม้ของพื้นที่การเกษตร หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดความร้อนสูงในพื้นที่นั้น โดยจุดความร้อน Fire Hotspot มีไว้เพื่อวิเคราะห์และติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพพื้นดินและการเกิดไฟไหม้ได้ในเกือบทุกเวลาและทุกสภาพอากาศ ซึ่งทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถระบุตำแหน่งของไฟได้อย่างรวดเร็ว ทำให้สามารถจัดส่งทีมดับเพลิงหรือทำการป้องกันได้อย่างทันท่วงที โดยเราสามารถตรวจสอบจุดความร้อนได้ด้วยตัวเองจากเว็บไซต์ GISTDA  Link: http://fire.gistda.or.th

สาเหตุของการเกิดจุดความร้อนในพื้นที่ต่าง ๆ

สาเหตุของการเกิดจุดความร้อนในพื้นที่ต่าง ๆ

จุดความร้อนเป็นพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงผิดปกติบนผิวโลก โดยสามารถตรวจจับได้ด้วยดาวเทียม ซึ่งจุดความร้อนมักจะเกิดขึ้นจากสาเหตุหลัก ดังต่อไปนี้

  1. พื้นที่ไฟป่า: เป็นพื้นที่ที่เกิดการไหม้ของพืชพรรณและสัตว์ป่าโดยไม่ได้ตั้งใจหรือไม่ได้ถูกควบคุมโดยมนุษย์ การเกิดไฟป่าส่วนใหญ่เกิดจากการเผาพื้นที่ธรรมชาติหรือกิจกรรมมนุษย์ที่ไม่ระมัดระวัง อาทิ ไฟป่าจากธรรมชาติ การเผาเพื่อหาของป่า การล่าสัตว์ การลักลอบเผาป่าเพื่อเปลี่ยนพื้นที่ป่าเป็นพื้นที่เกษตรกรรม การลักลอบค้ายาง หรือความขัดแย้งในพื้นที่ ตลอดจนอุณหภูมิที่สูงขึ้น ความชื้นต่ำ ทำให้อากาศร้อนจัดจนเกิดเชื้อเพลิงสะสมทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า เป็นต้น
  2. พื้นที่เกษตรกรรม: ตัวอย่างเช่น การเผาเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูก การเตรียมดินสำหรับการเพาะปลูก การเผาเพื่อกำจัดวัชพืช  การทิ้งขยะอินทรีย์หรือวัสดุอื่น ๆ ที่สามารถเกิดไฟไหม้ได้ในพื้นที่เกษตรกรรม อาจเป็นตัวเร่งให้เกิดการไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรม หรือการเผาตอซังข้าวหลังการเก็บเกี่ยว จนทำให้ส่งผลต่อปัญหามลพิษทางอากาศและฝุ่น PM 2.5
  3. พื้นที่ชุมชน: โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากการเผาขยะมูลฝอย หรือการเผาเพื่อกำจัดสิ่งปฏิกูล ไม่ว่าจะเป็นเผาใบไม้ เผาเศษวัสดุเหลือใช้ การทิ้งบุหรี่หรือวัสดุไวไฟ เป็นต้น

 

สถานการณ์จุดความร้อนปัจจุบันในประเทศไทย

จากรายงานของ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ GISTDA เมื่อวันที่ 5 มีนาคม  พ.ศ. 2567  ได้กล่าวว่าประเทศไทยพบจุดความร้อนทั้งหมดจำนวน  2,230 จุด โดยระบุว่าส่วนใหญ่พบในพื้นที่ป่าอนุรักษ์จำนวน  883 จุด ตามด้วยพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 734 จุด พื้นที่เกษตร 284 จุด พื้นที่เขต สปก. 173 จุด จากแหล่งชุมชนหรือพื้นที่อื่น ๆ จำนวน 145 จุด  และพื้นที่ริมทางหลวงจำนวน 11 จุด โดยในส่วนของจังหวัดที่พบจุดความร้อนมากที่สุด ได้แก่ ลำปาง 305 จุด เชียงใหม่ 277 จุด และตาก 240 จุด 

สำหรับพื้นที่ของประเทศเพื่อบ้านใกล้เคียงระบุว่าตรวจพบจุดความร้อนมากสุดอยู่ที่ประเทศพม่าจำนวน 4,564 จุด ตามด้วยประเทศลาวจำนวน 3,184 จุด เวียดนามอยู่ที่ 905 และกัมพูชาจำนวน 838 จุด

ข้อมูลอ้างอิง: GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)

https://shorturl.asia/pXorA

ผลกระทบจากจุดความร้อนที่ทำให้เกิด PM 2.5

ผลกระทบจากจุดความร้อน (Fire Hotspot) ที่ทำให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ ได้แก่

  • เกิดฝุ่น PM 2.5: การเผาไหม้ที่จุดความร้อนเป็นแหล่งก่อให้เกิดฝุ่น PM 2.5 ที่มีขนาดเล็กและสามารถลอยไปได้ในอากาศได้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศและสุขภาพของมนุษย์ เนื่องจากฝุ่น PM 2.5 สามารถเข้าสู่ทางเดินหายใจและกระทบต่อระบบทางเดินหายใจและหัวใจของมนุษย์ ทำให้เกิดภาวะการเป็นโรคทางระบบทางเดินหายใจและโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจได้ เป็นต้น
  • ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม: บริเวณที่เกิดจุดความร้อนสามารถส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะหากมีการเผาไหม้ในพื้นที่ป่า อาจทำให้เกิดการทำลายของระบบนิเวศ และการเผาไหม้ยังส่งผลกระทบต่อสัตว์ป่าและพันธุกรรมของพืชในพื้นที่ดังกล่าวได้อีกด้วย
  • ความเสี่ยงต่อความปลอดภัย: ไฟป่าที่เกิดขึ้นอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ และอาจเป็นการก่อให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม การถลอกผิวดิน หรือลดความสามารถในการระบายน้ำของแม่น้ำในพื้นที่นั้นได้
  • การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ: การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ จากการเผาไหม้เพิ่มความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศได้นั่นเอง

 

จุดความร้อนหรือ Fire Hotspot เหล่านี้ส่งผลร้ายแรงต่อทั้งสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ทั้งการเผาไหม้ การปล่อยมลพิษทางอากาศ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5  ที่สามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจและกระแสเลือด จนส่งผลให้เกิดโรคร้ายแรงต่าง ๆ ขึ้นได้

 

ซึ่งเรา CAI Engineering เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของอากาศบริสุทธิ์ จึงมุ่งมั่นที่จะสร้างห้อง Cleanroom ที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันฝุ่น PM 2.5 และรักษาสุขภาพของผู้ใช้งาน ซึ่งท้ายนี้เรา CAI ขอฝากบทความที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานห้องคลีนรูมไม่มากก็น้อยกับบทความเรื่อง แนวทางป้องกันฝุ่นเพื่อรักษาประสิทธิภาพห้อง Cleanroom โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดฝุ่น PM 2.5 ปริมาณมากอย่างปัจจุบันนี้นั่นเอง 

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

Cleanroom 101 : คู่มือปฏิบัติงานสำหรับมือใหม่ในห้องคลีนรูม

Cleanroom 101 : คู่มือปฏิบัติงานสำหรับมือใหม่ในห้องคลีนรูม

คำแนะนำในการทำงานรวมถึงชุดคลีนรูมที่ถูกต้องเพื่อให้ผู้ใช้งานห้องคลีนรูมเข้าใจและปฏิบัติตามมาตรฐานของห้องคลีนรูม (Cleanroom) ได้อย่างถูกต้อง

Read More »
IAQ (Indoor Air Quality) คืออะไร? ทำไมคนยุคใหม่ต้องให้ความสำคัญ

IAQ (Indoor Air Quality) คืออะไร? ทำไมคนยุคใหม่ต้องให้ความสำคัญ

คนยุคใหม่ใช้เวลาในอาคารมากกว่า 80% ทำให้เรื่องคุณภาพอากาศภายในอาคาร หรือ IAQ กลายเป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่ออากาศที่เราหายใจและสุขภาพโดยตรง

Read More »

By clicking “Accept”, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts. Privacy Policy

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า