ไฮโดรเจนไซยาไนด์อันตรายที่มาพร้อมกับเพลิงไหม้_CAI

ไฮโดรเจนไซยาไนด์ อันตรายในอาคารที่มากับเพลิงไหม้

รู้หรือไม่ว่าสาเหตุการเสียชีวิตเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ไม่ได้เกิดจากเปลวไฟเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากการได้รับ “ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Hydrogen cyanide : HCN)” ซึ่งเป็นก๊าซพิษอันตรายชนิดหนึ่ง เมื่อเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะเป็น การสัมผัส หรือการสูดดมโดยตรง จะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ หายใจติดขัด หมดสติ และหัวใจหยุดเต้นในที่สุด

ไฮโดรเจนไซยาไนด์ เกิดจากอะไร?

ไซยาไนด์ (cyanide) คือ สารพิษชนิดรุนแรงที่สามารถออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว จัดอยู่ในกลุ่มของสารเคมีที่มีองค์ประกอบของไซยาไนด์ไอออน (CN-) สามารถพบได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นสารละลายอย่าง โพแทสเซียม ไซยาไนด์ (potassium cyanide) และ โซเดียม ไซยาไนด์ (sodium cyanide) รวมไปถึงในรูปแบบก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้อย่าง ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Hydrogen cyanide)

ไฮโดรเจนไซยาไนด์ คือ ก๊าซพิษที่ไม่มีสี มีกลิ่นฉุนคล้ายอัลมอนด์ หรืออาจอยู่ในรูปแบบของของเหลวใสระเหยเป็นก๊าซได้ง่ายที่อุณหภูมิห้องจากการทำปฏิกิริยาของเกลือไซยาไนด์ (Cyanide Salt) กับกรด มักเกิดจากการเผาไหม้สารพลาสติกที่เรียกว่าโพลียูริเทน (Polyurethane : PU) และหนังเทียม ที่มักจะใช้เป็นส่วนประกอบของเฟอร์นิเจอร์ เสื่อบุฟองน้ำ และฉนวนกันความร้อนโพลียูรีเทนโฟมในผนัง (Polyurethane Foam, PU Foam) เป็นต้น นอกจากนี้ยังนิยมใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมผลิตยา รวมถึงใช้เป็นสารช่วยจับโลหะและส่วนผสมของยาฆ่าแมลงอีกด้วย

ไฮโดรเจนไซยาไนด์ คืออะไร อันตรายแค่ไหน_CAI

ไฮโดรเจนไซยาไนด์ อันตรายแค่ไหน?

หลายคนอาจไม่รู้ว่าไฮโดรเจนไซยาไนด์ มาจากไหน? ซึ่งเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้จะทำให้ควันกระจายตัวไปได้อย่างรวดเร็ว โดยในส่วนผสมของควันจะมีก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และไฮโดรเจนไซยาไนด์เป็นส่วนประกอบ ซึ่งไฮโดรเจนไซยาไนด์จะมีความอันตรายมากกว่าและจะส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อร่างกาย แบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ ดังนี้

  1. พิษแบบเฉียบพลัน เช่น อาการหายใจติดขัด เลือดไหลเวียนผิดปกติ สมองบวม หัวใจหยุดเต้น ชักและหมดสติ และเสียชีวิตได้ในเวลา 30-60 นาที แต่อาการแบบเฉียบพลันอาจพบได้ค่อนข้างน้อย
  2. พิษแบบเรื้อรัง หากได้รับไฮโดรเจนไซยาไนด์ในปริมาณเล็กน้อยแต่ต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ง่วงซึม เกิดผื่นแดง และอื่น ๆ ตามมา ส่งผลให้รูม่านตาขยาย อ่อนแรง หายใจแผ่วเบา ตัวเย็น เป็นต้น หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด

อาการเมื่อได้รับพิษของไฮโดรเจนไซยาไนด์

การเกิดพิษจากการได้รับไฮโดรเจนไซยาไนด์ จะเกิดจากสารกลุ่มไซยาไนด์ไปจับกับไซโตโครมส์ ออกซิเดส (Cellular Cytochrome Oxidase) ทำให้เกิดการยับยั้งการหายใจของเซลล์และเกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากกรดแลคติกในเลือดสูง (Lactic Acidosis) จึงทำให้มีอาการทางสมองปรากฏอาการขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น

  • หายใจลำบาก
  • ปวดหัว วิงเวียน รู้สึกมึนงง
  • กล้ามเนื้อล้า อ่อนแรง
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ชักหมดสติ หรือเสียชีวิตภายใน 10 นาที

โดยความรุนแรงของอาการนั้นอาจขึ้นอยู่กับชนิดของ Cyanide ปริมาณ และระยะเวลาในการได้รับไฮโดรเจนไซยาไนด์ นอกจากนี้พิษของไซยาไนด์ยังสามารถพบได้อีกหลากหลายรูปแบบ เช่น

  • พิษของโซเดียมไซยาไนด์ (Sodium Cyanide) มีลักษณะเป็นของแข็งสีขาว พบได้ในการเคลือบเงา และยังเป็นส่วนประกอบของยาฆ่าแมลง ซึ่งสามารถเข้าสู่ร่างกายได้โดยการสัมผัส และสูดดม หากรับประทานเข้าไปอันตรายที่สุดถึงขั้นเสียชีวิตได้
  • พิษของไซยาโนเจนคลอไรด์ (cyanogen chloride) มีลักษณะเป็นของเหลวหรือแก๊สไม่มีสี แต่มีกลิ่นฉุน เมื่อเผาไหม้จะเป็นพิษ ทำให้เมื่อสูดดมจะเกิดการระคายเคือง

การป้องกันและการหลีกเลี่ยงไฮโดรเจนไซยาไนด์ในอาคาร

โดยทั่วไปแล้ววัสดุในอาคารหรือเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ จำเป็นต้องใช้พลาสติกกลุ่มโพลียูรีเทน เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้อาจทำให้เกิดไฮโดรเจนไซยาไนด์ จึงจำเป็นต้องออกแบบตัวอาคารและระบบรักษาความปลอดภัยให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เช่น

  • การใช้ระบบจัดการอาคารอัตโนมัติ เช่น ระบบ BAS ที่สามารถควบคุมระบบไฟฟ้าและ Fire Alarm รวมถึงสามารถตรวจสอบสถานะและการสั่งเปิด-ปิดอุปกรณ์ต่าง ๆ ในอาคารได้อัตโนมัติ
  • การเลือกวัสดุที่ใช้ในอาคารที่มีความเสี่ยงต่อการติดไฟได้น้อยหรือไม่ลามไฟ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยา โรงพยาบาล โรงงานต่าง ๆ ที่ควรใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ไม่ลามไฟ เช่น ผนังห้องคลีนรูม Sandwich Panel สำหรับห้องคลีนรูม ควรเลือกที่ทำจากใยหิน (Mineral Wool) เพราะมีคุณสมบัติพิเศษในเรื่องการทนไฟและมีค่าการนำความร้อนจะต่ำ
  • การซ้อมอพยพ/หนีไฟอยู่เสมอ
  • ใช้สารเคมีดับเพลิงที่ไม่ทำปฏิกิริยากับไซยาไนด์
  • สวมชุดหรืออุปกรณ์ป้องกันเมื่อต้องทำงานกับสารเคมีหรือต้องอยู่ในบริเวณที่มีการปนเปื้อนของไซยาไนด์

นอกจากนี้ ผู้ที่มีความเสี่ยงได้รับพิษสูง เช่น ช่าง เกษตรกร นักดับเพลิง ผู้ที่อยู่ในกระบวนการการผลิตกระดาษ สิ่งทอ ยางหรือพลาสติก ควรพบแพทย์และเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ หรือหากได้รับการสัมผัสกับไฮโดรเจนไซยาไนด์มาแล้ว ควรรีบรับมือด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  1. การสัมผัสทางผิวหนัง
    ให้ถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนสารพิษโดยการใช้กรรไกรตัดเสื้อผ้าออกเป็นชิ้น ๆ และถอดออกจากลำตัว อย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันไม่ให้สัมผัสกับผิวหนังส่วนอื่นและไม่ควรให้ผู้อื่นสัมผัสร่างกายหรือเสื้อผ้าโดยตรง จากนั้นทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำและสบู่ก่อนนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
  2. การสูดดมหรือรับประทาน
    ควรรีบออกจากพื้นที่บริเวณนั้นทันที หรือหากอยู่ในพื้นที่ควรก้มต่ำลงบนพื้น กรณีที่หายใจลำบากหรือหยุดหายใจ ต้องปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยการทำ CPR แต่ห้ามใช้วิธีเผาปากหรือผายปอด จากนั้นรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที
  3. การสัมผัสทางดวงตา
    ใช้น้ำสะอาดล้างตาต่อเนื่องอย่างน้อย 10 นาที และรีบเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล
ผนังคลีนรูม sandwich panel ลดโอกาสเกิดเหตุเพลิงไหม้และไฮโดรเจนไซยาไนด์_CAI

CAI Engineering ลดโอกาสเกิดเพลิงไหม้ด้วยมาตรฐานสากล

เนื่องจากไฮโดรเจนไซยาไนด์จากเหตุเพลิงไหม้สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินเป็นอย่างมาก การใช้ระบบอัตโนมัติในอาคารและการเลือกวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ด้วยเหตุนี้ CAI Engineering จึงเลือกใช้ผนังห้องคลีนรูมที่ได้มาตรฐานอย่าง Sandwich Panel แบรนด์ WISKIND ที่มีคุณสมบัติที่สามารถกักเก็บความเย็นและกันไฟได้ รวมถึงมีการนำระบบ BAS ด้วยคอนโทรลเลอร์ แบรนด์ SAUTER ที่ได้มาตรฐานในระดับสากลมาใช้ในงานก่อสร้างในส่วนต่าง ๆ ของอาคาร เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายและความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานอย่างสูงสุด

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ห้องแรงดันบวก VS ห้องแรงดันลบ แตกต่างกันอย่างไร ? สำคัญอย่างไรกับห้องปลอดเชื้อ

ห้องแรงดันบวก VS ห้องแรงดันลบ แตกต่างกันอย่างไร ? สำคัญอย่างไรกับห้องปลอดเชื้อ

มาเข้าใจหลักการทำงานและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างห้องแรงดันบวกและห้องแรงดันลบ ว่าทำไมทั้งสองประเภทจึงมีบทบาทสำคัญในห้องปลอดเชื้อกันกัน

Read More »
Cleanroom 101 : คู่มือปฏิบัติงานสำหรับมือใหม่ในห้องคลีนรูม

Cleanroom 101 : คู่มือปฏิบัติงานสำหรับมือใหม่ในห้องคลีนรูม

คำแนะนำในการทำงานรวมถึงชุดคลีนรูมที่ถูกต้องเพื่อให้ผู้ใช้งานห้องคลีนรูมเข้าใจและปฏิบัติตามมาตรฐานของห้องคลีนรูม (Cleanroom) ได้อย่างถูกต้อง

Read More »

By clicking “Accept”, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts. Privacy Policy

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า