BIM Execution Plan: BEP คืออะไร? สำคัญอย่างไรในการสร้างห้องคลีนรูม

BIM Execution Plan: BEP คืออะไร? สำคัญอย่างไรในการสร้างห้องคลีนรูม

การนำเทคโนโลยี Building Information Modeling (BIM) เข้ามาใช้ในโครงการก่อสร้างมีผลต่อการจัดการและการประสานงานในโครงการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย BIM จะช่วยให้ทุกคนในทีมโครงการสามารถเข้าใจและทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น เนื่องจากมีข้อมูลที่เป็นมิตรกับผู้ใช้ทุกคน และสามารถใช้ข้อมูลเหล่านั้นในการตัดสินใจและวางแผนการดำเนินงานได้ 

ซึ่งการนำเทคโนโลยี Building Information Modeling (BIM) มาใช้ในการก่อสร้างห้องคลีนรูม (Cleanroom) มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากห้องคลีนรูมเป็นพื้นที่ที่ต้องมีความสะอาด ปราศจากเชื้อโรคอย่างเข้มงวด ดังนั้นการใช้ BIM จะเข้ามาช่วยในการวางแผน ออกแบบ และจัดการโครงการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง

BIM Execution Plan (BEP) คืออะไร?

BIM Execution Plan (BEP) คืออะไร?

BIM Execution Plan (BEP) หรือ แผนการดำเนินงานและยุทธศาสตร์แบบจำลองสารสนเทศอาคาร คือ เอกสารที่ระบุรายละเอียดและกระบวนการเกี่ยวกับวิธีการใช้ Building Information Modeling (BIM) ในโครงการก่อสร้างต่าง ๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทุกคนในทีมที่มีส่วนร่วมในโครงการเข้าใจและปฏิบัติตามมาตรฐานและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ BIM เหมือนกัน ซึ่ง BEP จะรวมถึงเป้าหมาย มาตรฐาน กระบวนการทำงาน แผนการปฏิบัติงาน การจัดการข้อมูล และการตรวจสอบคุณภาพของโมเดล BIM

BEP ประกอบด้วยอะไรบ้าง?

องค์ประกอบหลักของ BEP มีเนื้อหาที่ระบุไว้คร่าว ๆ ดังต่อไปนี้

  • BIM Project Goals / BIM Objective: ระบุเป้าหมายของการใช้ BIM ในโครงการและวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
  • BIM Process Design: รายละเอียดของกระบวนการทำงานที่เกี่ยวกับการสร้าง จัดการและการใช้โมเดล BIM
  • BIM Scope Definitions:  ระบุมาตรฐานที่ต้องปฏิบัติและข้อกำหนดของโครงการเกี่ยวกับ BIM
  • Delivery Strategy / Contract: ระบุกลยุทธ์การส่งมอบและสัญญา
  • Organization Role and Responsibilities: กำหนดบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบขององค์กรให้ชัดเจน
  • Communication Procedures: วิธีการสื่อสารระหว่างทีมโครงการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ
  • Technology Infrastructure Need: ระบุความต้องการโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี
  • Model Quality Control Procedures: การควบคุมคุณภาพของการทำงานในระหว่างการทำงานด้วยการกำหนดวิธีการตรวจสอบและเงื่อนไขในแต่ละขั้นตอน
  • Project Reference Information: ข้อมูลอ้างอิงโครงการ

 

ทั้งนี้หัวข้อดังกล่าวเป็นเพียงตัวอย่างภาพรวมของ BIM Execution Plan (BEP) เพียงเท่านั้น ซึ่งยังมีรายละเอียดอีกมากมาย โดยขึ้นอยู่กับแต่ละโครงการด้วยจุดประสงค์และเป้าหมายที่แตกต่างกัน ซึ่งใจความสำคัญนั้นเป็นแผนกระบวนการทำงานที่เป็นระบบและผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายจะต้องนำไปใช้งานได้ ซึ่งข้อตกลงเหล่านี้เป็นพันธะสัญญาในการทำงานร่วมกันเพื่อให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้นั่นเอง

ขั้นตอนและกระบวนการ BEP

กระบวนการแต่ละขั้นตอนของการจัดทำ BEP เหล่านี้จะช่วยให้ BEP มีความครอบคลุมและเป็นประสิทธิภาพตามเป้าหมายของโครงการ โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 8 ขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วย

  1. วิเคราะห์ความต้องการ: การทำความเข้าใจความต้องการและวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อกำหนดขอบเขตและแผนที่จะใช้ BIM สำหรับโครงการ
  2. เก็บรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น: การรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับโครงการ เช่น แผนผัง ข้อมูลการประเมิน และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
  3. กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์: การระบุเป้าหมายของการใช้ BIM และวัตถุประสงค์ที่ต้องการของโครงการ
  4. สร้างรายการที่ต้องทำ: ระบุงานและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ BIM ในโครงการ พร้อมทั้งกำหนดลำดับและระยะเวลาของโครงการ
  5. ออกแบบกระบวนการทำงาน: การกำหนดวิธีการทำงานและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ BIM รวมถึงการจัดการข้อมูล การสื่อสาร และการตรวจสอบคุณภาพ เป็นต้น
  6. การเขียนและร่าง BEP: การรวบรวมข้อมูลและสร้างเอกสาร BEP ที่ระบุทุก ๆ รายละเอียดที่จำเป็น
  7. การตรวจสอบและปรับปรุง: ตรวจสอบ BEP โดยทีมโครงการ และปรับปรุงตามความต้องการและข้อเสนอแนะ
  8. การอนุมัติและจัดทำเอกสารสุดท้าย: หลังจากการตรวจสอบแล้ว จึงอนุมัติ BEP และจัดทำเอกสารสมบูรณ์เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินงาน
BEP สำคัญอย่างไรในการสร้างห้องคลีนรูม

BEP สำคัญอย่างไรในการสร้างห้องคลีนรูม

ความสำคัญของ BEP ในการสร้างห้องคลีนรูม สามารถช่วยให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ ซึ่งเป็นแนวทางในการกำกับดูแลโครงการตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดและจำเป็นสำหรับห้องคลีนรูม อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือของโครงการ ช่วยในการสื่อสารระหว่างทีมงานและผู้เกี่ยวข้อง ทำให้ทุกคนเข้าใจเป้าหมาย กระบวนการ และความรับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวข้อง ช่วยลดต้นทุนและระยะเวลาในการก่อสร้างอีกด้วย เนื่องจากห้องคลีนรูมมีความซับซ้อนในด้านการระบายอากาศ การกรอง และความถูกต้อง การมี BEP ช่วยในการจัดการข้อมูล BIM ที่เกี่ยวข้อง จะทำให้มีโครงการมีสอดคล้องกันในทุก ๆ ส่วนตามที่วางแผนไว้นั่นเอง

CAI Engineering สร้างห้องคลีนรูมด้วย BIM ให้ตรงตามมาตรฐานที่กำหนด

CAI Engineering รับออกแบบและสร้างห้องคลีนรูมอย่างครบวงจร ด้วยการนำเทคโนโลยี BIM มาประยุกต์ใช้เข้ากับทุกโครงการ โดยเราได้ให้ความสำคัญกับ BIM Standard เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามมาตรฐานและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ามากที่สุด นอกจากนี้เทคโนโลยี  BIM ยังช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้แก่ผู้เกี่ยวข้องในโครงการ ช่วยลดความซับซ้อน และความผิดพลาดของการก่อสร้างได้อีกด้วย

 

ที่มา: วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.)

ข้อมูลอ้างอิง: มาตรฐานการใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM Standard)

มาตรฐานสัญญาการใช้ระบบแบบจำลลองสารสนเทศอาคาร (BIM Contract Standard)

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ห้องแรงดันบวก VS ห้องแรงดันลบ แตกต่างกันอย่างไร ? สำคัญอย่างไรกับห้องปลอดเชื้อ

ห้องแรงดันบวก VS ห้องแรงดันลบ แตกต่างกันอย่างไร ? สำคัญอย่างไรกับห้องปลอดเชื้อ

มาเข้าใจหลักการทำงานและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างห้องแรงดันบวกและห้องแรงดันลบ ว่าทำไมทั้งสองประเภทจึงมีบทบาทสำคัญในห้องปลอดเชื้อกันกัน

Read More »
Cleanroom 101 : คู่มือปฏิบัติงานสำหรับมือใหม่ในห้องคลีนรูม

Cleanroom 101 : คู่มือปฏิบัติงานสำหรับมือใหม่ในห้องคลีนรูม

คำแนะนำในการทำงานรวมถึงชุดคลีนรูมที่ถูกต้องเพื่อให้ผู้ใช้งานห้องคลีนรูมเข้าใจและปฏิบัติตามมาตรฐานของห้องคลีนรูม (Cleanroom) ได้อย่างถูกต้อง

Read More »

By clicking “Accept”, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts. Privacy Policy

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า