พ.ร.บ. อากาศสะอาด

“พ.ร.บ. อากาศสะอาด” ความหวังวิกฤตฝุ่นพิษในไทยที่คนรุ่นใหม่ต่างรอคอย

“มลพิษทางอากาศ” (Air Pollution) ที่กำลังเกิดขึ้นอย่างปัญหาฝุ่น PM 2.5 ถือเป็นวิกฤติการณ์ที่น่ากังวลอย่างยิ่ง เพราะกรุงเทพฯ ไต่ขึ้นอันดับ 3 เมืองอากาศแย่ที่สุดในโลก ดังนั้น ในบทความนี้ทาง CAI Engineering จึงจะมาแชร์ความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ. อากาศสะอาด ให้ทุกคนได้เห็นภาพ และสามารถเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น

พ.ร.บ. อากาศสะอาดคืออะไร?

PM 2.5 เป็นฝุ่นที่มีขนาดเล็กมาก โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน ทำให้ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และขนจมูกของเราก็ไม่สามารถกรองฝุ่นที่มีขนาดเท่านี้ได้ ดังนั้น ถ้ามีฝุ่น PM 2.5 ในอากาศปริมาณสูงมาก จะมีลักษณะคล้ายกับมีหมอกควันอยู่ในชั้นบรรยากาศ ซึ่งฝุ่น PM2.5 นั้นสามารถแพร่กระจายเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ และซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ และด้วยเหตุผลข้างต้น ทำให้มีการรวมกลุ่มของประชาชน เพื่อเรียกร้องให้เกิดการแก้ไข้ปัญหาฝุ่น P.M 2.5 ด้วยการจัดทำร่าง พ.ร.บ. กำกับดูแลการจัดการอากาศสะอาด เพื่อสุขภาพแบบบูรณาการ หรือที่เรียกว่า พ.ร.บ. อากาศสะอาด นั่นเอง

พ.ร.บ. อากาศสะอาดช่วยแก้ไขเรื่องอะไรบ้าง?

  1. เพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย โดยผลักดันให้มีหน่วยงานที่กำกับดูแล การทำงานของหน่วยงานรัฐในการบังคับใช้กฎหมายอากาศสะอาดจริงจังขึ้น และบูรณาการการทำงานแบบเป็นไซโล
  2. กระจายอำนาจในการกำกับดูแล โดยทำการกระจายอำนาจให้ทั่วถึงทุกพื้นที่ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมจัดการอากาศสะอาดสามระดับ คือ ระดับนโยบาย ระดับกำกับดูแล และระดับปฏิบัติ เพื่อปกป้องสิทธิที่จะหายใจอากาศสะอาดของประชาชน
  3. กระจายข้อมูล โดยทำการกระจายข้อมูล และความรู้เรื่องสิทธิอย่างเท่าเทียม ด้วยช่องทางต่าง ๆ ที่ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลเรื่องอากาศ รวมถึงช่องทางการร้องเรียนปัญหาด้านคุณภาพอากาศ ร้องเรียนการทำงานของเจ้าหน้าที่ มีช่องทางในการตรวจสอ บและเรียกร้องการเยียวยาได้
  4. อากาศสะอาด เป็นสิทธิที่ถูกรับรองว่าเราต้องได้รับสิทธิที่จะหายใจอากาศสะอาด และถูกรับรองว่าเป็นสิทธิของประชาชน ก่อให้เกิดหน้าที่ของรัฐที่ต้องรับรอง ปกป้อง และทำให้เกิดสิทธินี้ขึ้นจริง
  5. เน้นสร้างสุขภาพที่ดีควบคู่กับสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยกำหนดเป้าหมายสำคัญของการดูแลในเรื่องของอากาศสะอาดที่จะเน้นให้ประชาชนมีสิทธิที่จะมีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีสุขภาพดี และไม่เสียชีวิตก่อนวัยอันควร

ทำไมมลพิษทางอากาศถึงต้องแก้ไขด้วย พ.ร.บ. อากาศสะอาด

พ.ร.บ.อากาศสะอาด เป็นการรวบรวมรายชื่อประชาชนที่เห็นด้วย เพื่อส่งเรื่องเข้าสู่รัฐสภา ทั้งนี้ แค่ลงชื่อก็อาจจะไม่พอ เพราะกฎหมายไม่ว่าจะสำคัญแค่ไหนก็เป็นเพียงเครื่องมือ ดังนั้น จึงได้มีการผลักดันให้เกิด พ.ร.บ.อากาศสะอาด โดยไทม์ไลน์ของ พ.ร.บ. ได้มีการส่งร่างกฏหมายเข้าไปรัฐสภาประมาณ 1 ปีแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้รับการตอบรับของกฎหมายดังกล่าว จึงได้มีการชักชวนให้ร่วมกันลงชื่อ เพื่อให้ครบจำนวน 5 หมื่นรายชื่อ หรือมากกว่า เพื่อผลักดันให้เกิด พ.ร.บ.อากาศสะอาดในที่สุด

มลพิษทางอากาศ

มลพิษทางอากาศเกิดมาจากไหน?

มลพิษทางอากาศนั้นสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศในปริมาณมาก และก่อให้เกิดเป็นประจำทุกวัน มีดังนี้

  1. ยานพาหนะที่ใช้เครื่องยนต์ เพราะรถยนต์เป็นแหล่งก่อปัญหาอากาศเสียมากที่สุด
  2. ควันไฟ และก๊าซพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม
  3. แหล่งกําเนิดฝุ่นละอองต่าง ๆ เช่น บริเวณที่กําลังก่อสร้าง โรงงานทําปูนซีเมนต์ โรงงานโม่หิน โรงงานทอผ้า โรงงานผลิตโซดาไฟ เหมืองแร่ หรือเตาเผาถ่าน เป็นต้น
  4. แหล่งหมักหมมของสิ่งปฏิกูล เช่น เศษอาหาร และขยะมูลฝอย
  5. ควันไฟจากการเผาป่า เผาไร่นา และจากบุหรี่
  6. การทดลองอาวุธนิวเคลียร์ ที่ก่อให้เกิดละอองกัมมันตรังสี
  7. การตรวจ และรักษาทางรังสีวิทยา และการใช้เรดิโอไอโซโทป ที่ขาดมาตรการที่ถูกต้องในการ ป้องกันสภาวะอากาศเสีย
  8. อากาศเสียที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว หรือไฟป่า เป็นต้น

ถ้าหากปล่อยมลพิษทางกาศทิ้งไว้จะส่งผลกระทบอะไรบ้าง?

  1. ทําลายสุขภาพ เพราะอากาศเสียทําให้เกิดโรคแพ้อากาศ โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ และโรคเกี่ยวกับการไหลเวียนของโลหิต ซึ่งผลที่เกิดในระยะยาวอาจทําให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้
  2. ทําลายสิ่งก่อสร้างและเครื่องใช้ โดยเฉพาะสิ่งก่อสร้างที่ทําด้วยโลหะ เพราะมลพิษทางอากาศสามารถทําให้เกิดการสึกกร่อนได้ง่าย รวมถึงทําให้หนังสือ และศิลปกรรมต่าง ๆ เสียหายได้อีกด้วย
  3. ทําให้ทัศนวิสัยแย่ลง และมีผลทําให้อุณหภูมิอากาศลดต่ำลงกว่าปกติได้ นอกจากนั้นอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุทั้งในอากาศ ท้องถนน และท้องน้ำได้

 

เพราะ CAI Engineering ห่วงใยสุขภาพคนไทยทุกคน ดังนั้น ทาง CAI Engineering จึงขอเป็นอีกหนึ่งเสียงในการสนับสนุน พ.ร.บ. อากาศสะอาด เพื่อให้คนไทยทุกคนได้หายใจด้วยอากาศที่บริสุทธิ์

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ห้องแรงดันบวก VS ห้องแรงดันลบ แตกต่างกันอย่างไร ? สำคัญอย่างไรกับห้องปลอดเชื้อ

ห้องแรงดันบวก VS ห้องแรงดันลบ แตกต่างกันอย่างไร ? สำคัญอย่างไรกับห้องปลอดเชื้อ

มาเข้าใจหลักการทำงานและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างห้องแรงดันบวกและห้องแรงดันลบ ว่าทำไมทั้งสองประเภทจึงมีบทบาทสำคัญในห้องปลอดเชื้อกันกัน

Read More »
Cleanroom 101 : คู่มือปฏิบัติงานสำหรับมือใหม่ในห้องคลีนรูม

Cleanroom 101 : คู่มือปฏิบัติงานสำหรับมือใหม่ในห้องคลีนรูม

คำแนะนำในการทำงานรวมถึงชุดคลีนรูมที่ถูกต้องเพื่อให้ผู้ใช้งานห้องคลีนรูมเข้าใจและปฏิบัติตามมาตรฐานของห้องคลีนรูม (Cleanroom) ได้อย่างถูกต้อง

Read More »

By clicking “Accept”, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts. Privacy Policy

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า