Data center ระบบจัดเก็บข้อมูลในยุคอุตสาหกรรม 4.0_CAI

Data center ระบบจัดเก็บข้อมูลในยุคอุตสาหกรรม 4.0

ดาต้า (Data) หรือข้อมูล ถือเป็นส่วนสำคัญที่ทั้งองค์กรขนาดเล็กหรือองค์กรขนาดใหญ่จำเป็นต้องมีการจัดเก็บและประมวลผลได้แบบเรียลไทม์ เนื่องจากดาต้าสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาองค์กรตลอดจนพยากรณ์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างแม่นยำ จึงจำเป็นที่จะต้องมีระบบข้อมูลกลางที่มีประสิทธิภาพและสามารถใช้งานได้แบบเรียลไทม์มากที่สุด จึงมีการพัฒนา Data Center ขึ้นเพื่อรองรับปริมาณข้อมูลมหาศาลในยุคอุตสาหกรรม 4.0 อย่างเช่นปัจจุบันนี้

ศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ Data Center คืออะไร _CAI

ทำความรู้จักศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ Data Center

Data Center (ดาต้า เซ็นเตอร์) หรือศูนย์ข้อมูล เป็นศูนย์กลางของพื้นที่ที่ใช้เป็นศูนย์คอมพิวเตอร์สำหรับวางระบบเครือข่ายที่สามารถส่งออกและรับข้อมูลดาต้าจำนวนมากได้ ซึ่งประกอบไปด้วย

1. สิ่งอำนวยความสะดวก (Facility)

อาคารสถานที่ติดตั้งอุปกรณ์ระบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น พื้นที่ใช้สอยของอุปกรณ์ไอที พื้นที่ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลดาต้าได้แบบเรียลไทม์ การควบคุมความปลอดภัย การวางโครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์ของ Data Center รวมถึงการควบคุมพื้นที่และสภาพแวดล้อมให้อยู่ในอุณหภูมิหรือความชื้นที่เฉพาะเจาะจง เป็นต้น

2. การจัดเก็บข้อมูลขององค์กร (Enterprise data storage)

อุปกรณ์และซอฟต์แวร์สำหรับดำเนินงานด้านไอที ซึ่งประกอบไปด้วยระบบข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรและหน่วยเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการป้องกันอย่างแน่นหนา รวมถึงอุปกรณ์เครือข่าย เช่น Servers, Storage Subsystems, Networking Switches, Routers, Firewalls, Cabling and Rhysical racks ฯลฯ

3. การรองรับโครงสร้างพื้นฐานของอุปกรณ์ (Support infrastructure)

อุปกรณ์ที่เอื้อต่อการรักษาความปลอดภัยและความพร้อมในด้านการใช้งาน เช่น

  • Uninterruptible Power Sources (UPS)
  • แบตเตอรีหรือเครื่องจ่ายไฟฟ้าสำรอง
  • ระบบควบคุมสิ่งแวดล้อม เช่น เครื่องปรับอากาศในห้องคอมพิวเตอร์ (CRAC)
  • ระบบระบายและปรับอากาศ (HVAC) และระบบไอเสีย
  • ระบบรักษาความปลอดภัยทางกายภาพ เช่น ระบบไบโอเมตริก (Biometrics) และระบบเฝ้าระวังวิดีโอ เป็นต้น

4. เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน (Operation officer)

บุคลากรที่ทำหน้าที่บำรุงรักษา ตรวจสอบอุปกรณ์ไอทีและโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลที่กำหนดขึ้นโดยสถาบันกลาง เช่น Uptime Institute, Building Industry Consulting Services International (BICSI) Telecommunications Industry Association (TIA) และ International Organization for Standardization (ISO) เป็นต้น นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

มาตรฐาน Data Center แบ่งเป็นกี่ระดับ

มาตรฐาน Data Center เรียกว่า Tier ใช้บ่งบอกถึงความสามารถในการให้บริการของ Data Center โดยแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้

  • Tier 1 (Basic Capacity)
    Tier ขั้นพื้นฐานของ Data Center ซึ่งระบบสามารถล่มหรือไม่สามารถใช้งานได้ไม่เกิน 28.8 ชั่วโมง โดยจะส่งผลกระทบทั้งอุปกรณ์รวมถึงในขณะซ่อมแซมระบบ Data Center ด้วย ส่วนของจำกัดของ Data Center ระดับนี้จะไม่มีพื้นยก (Raised floors) สำหรับระบายอากาศ, ไม่มีระบบไฟฟ้าสำรอง (Redundant power supplies) และ UPS
  • Tier 2 (Redundant Capacity)
    Tier ที่มีอุปกรณ์สำรองบางส่วนในระบบไฟฟ้า สามารถล่มหรือไม่สามารถใช้งานได้ไม่เกิน 22 ชั่วโมง มีคุณสมบัติคล้ายกับ Tier 1 แต่จะมีอุปกรณ์สำรองไฟฟ้าบางส่วน รวมถึงมีระบบระบายอากาศและระบบทำความเย็น (Partial redundant) เพิ่มเข้ามาแต่ไม่ได้เป็นแบบ Fully Redundant
  • Tier 3 (Concurrently maintenance : DC)
    Tier ที่รวมคุณสมบัติทั้งของ Tier 1 และ Tier 2 เข้าด้วยกัน แต่ในการซ่อมแซมสามารถถอดอุปกรณ์แล้วเปลี่ยนใหม่ได้โดยไม่กระทบกับ Data Center สามารถ เกิดการล่มของระบบหรือไม่สามารถใช้งานได้ไม่เกิน 1.6 ชั่วโมง
  • Tier 4 (Fault Tolerance)
    Tier ระดับ Fully Redundant ที่มีทั้งระบบไฟฟ้า และระบบทำความเย็นแยกเป็น 2 ชุด หากมีอุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งเสีย ระบบจะยังคงทำงานได้เป็นปกติ สามารถเกิดการล่มของระบบหรือไม่สามารถใช้งานได้ไม่เกิน 24 นาที
  • Tier 5 (Data Center)
    มาตรฐาน Data Center ที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับ Tier 4 แต่มีการนำเทคโนโลยีอื่นมาใช้เพิ่มเติม เช่น เครื่องตรวจจับมลพิษทางอากาศ ชั้นวางเซิร์ฟเวอร์ที่ปลอดภัย และการตรวจสอบระบบพลังงาน นิยมใช้ในโครงการไฟฟ้าในท้องถิ่นและพลังงานหมุนเวียนรวมไปถึงธุรกิจ สถาบัน หรือองค์กรที่มีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก
Data Center สำคัญอย่างไรในยุคอุตสาหกรรม 4.0_CAI

Data Center สำคัญอย่างไรในยุคอุตสาหกรรม 4.0

ระบบข้อมูลกลางจาก Data Center เรียกได้ว่ามีความสำคัญต่อการการจัดเก็บ ประมวลผล รวมถึงเผยแพร่ข้อมูลและแอปพลิเคชันต่างๆ ช่วยให้องค์กรสามารถประมวลผลข้อมูล (Data Processing) จัดเก็บ (Storage) สื่อสาร (Communications) และสามารถเข้าถึงข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานขององค์กร เช่น การใช้พลังงานไฟฟ้า ระบบระบายความร้อน ระบบปรับอากาศ ตลอดจนการเข้าถึงความปลอดภัยของเครือข่ายและเครื่องสำรองไฟฟ้า (UPS) เพื่อเชื่อมต่อการทำงานและดูแลความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ ระบบข้อมูลกลางจาก Data Center ยังสามารถเชื่อมข้อมูลระหว่างหน่วยข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในอนาคตได้อย่างแม่นยำ เช่น

  • ใช้อธิบายปัญหาหรือปรากฏการณ์ (Descriptive Analytics)
  • ใช้พยากรณ์สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น (Predictive Analytics)
  • ใช้วิเคราะห์และคาดการณ์ถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (Prescriptive Analytics) เพื่อปรับตัวและรับมือได้อย่างทันท่วงที

Data Center จึงเป็นระบบที่สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย โดยเฉพาะในยุคอุตสาหกรรม 4.0 และกลุ่มที่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลในปริมาณมาก เช่น กลุ่มดิจิทัลและไอที กลุ่มสาธารณสุข กลุ่มอุตุนิยมวิทยา กลุ่มโลจิสติกส์ กลุ่มวิศวกรรม ก่อสร้างและจัดการอาคาร เป็นต้น

ในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคแห่งเทคโนโลยีและข้อมูลดาต้าที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนองค์กร รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการดำเนินงาน CAI Engineering ผู้นำด้านเทคโนโลยีที่เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและสร้างห้องคลีนรูมในระดับอุตสาหกรรม ได้นำเทคโนโลยี BIM ที่ทันสมัยผนวกกับระบบ BMS/BAS แล้วจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบของ Big Data เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และจำลองการใช้ระบบต่างๆ ในอาคาร ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ ตลอดจนถึงขั้นตอนมอนิเตอร์ค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ เพื่อจัดการทรัพยากรและใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าและก้าวสู่โลกแห่งอุตสาหกรรม 4.0

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ห้องแรงดันบวก VS ห้องแรงดันลบ แตกต่างกันอย่างไร ? สำคัญอย่างไรกับห้องปลอดเชื้อ

ห้องแรงดันบวก VS ห้องแรงดันลบ แตกต่างกันอย่างไร ? สำคัญอย่างไรกับห้องปลอดเชื้อ

มาเข้าใจหลักการทำงานและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างห้องแรงดันบวกและห้องแรงดันลบ ว่าทำไมทั้งสองประเภทจึงมีบทบาทสำคัญในห้องปลอดเชื้อกันกัน

Read More »
Cleanroom 101 : คู่มือปฏิบัติงานสำหรับมือใหม่ในห้องคลีนรูม

Cleanroom 101 : คู่มือปฏิบัติงานสำหรับมือใหม่ในห้องคลีนรูม

คำแนะนำในการทำงานรวมถึงชุดคลีนรูมที่ถูกต้องเพื่อให้ผู้ใช้งานห้องคลีนรูมเข้าใจและปฏิบัติตามมาตรฐานของห้องคลีนรูม (Cleanroom) ได้อย่างถูกต้อง

Read More »

By clicking “Accept”, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts. Privacy Policy

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า