ห้องคลีนรูม ห้องปลอดเชื้อโรงพยาบาลมีความสำคัญอย่างไร_CAI

ห้องคลีนรูม ห้องปลอดเชื้อโรงพยาบาล สำคัญอย่างไร?

เนื่องจากโรงพยาบาลเป็นสถานที่สำหรับตรวจโรคและรักษาสุขภาพ ซึ่งอาจเป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยเชื้อโรคและสิ่งสกปรกที่อาจส่งผลต่อสุขภาพและชีวิตมนุษย์ได้ ดังนั้นในโรงพยาบาลจึงจำเป็นต้องมีการควบคุมและรักษาความสะอาดอย่างเคร่งครัด จึงสังเกตได้ว่าในโรงพยาบาลจะมี “ห้องปลอดเชื้อ” หรือ “Cleanroom” อยู่ตามตึกและอาคารในโรงพยาบาล ซึ่งห้องเหล่านี้มีไว้ทำอะไรและมีความสำคัญอย่างไร CAI Engineering มีคำตอบ!

ห้องปลอดเชื้อโรงพยาบาล คืออะไร จำเป็นอย่างไร _CAI

ห้องปลอดเชื้อโรงพยาบาล คือห้องอะไร?

ห้องปลอดเชื้อโรงพยาบาล คือ ห้องคลีนรูม (Cleanroom) หรือห้องสะอาดประเภท Biological Cleanroom ซึ่งเป็นห้องคลีนรูมที่มักใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตยา ห้องปฏิบัติการทางด้านชีววิทยา และห้องผ่าตัด เป็นต้น โดยความดันอากาศในห้องปลอดเชื้อโรงพยาบาลจะต้องสูงกว่าความดันอากาศจากห้องข้างเคียงหรือบริเวณโดยรอบ เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกจากห้องข้างเคียงไหลเข้าสู่ภายในห้อง รวมถึงควบคุมปริมาณเชื้อแบคทีเรียจากภายนอกที่อาจปะปนเข้ามาได้

คุณสมบัติพิเศษของห้องคลีนรูม ห้องปลอดเชื้อโรงพยาบาล

เนื่องจากโรงพยาบาลจำเป็นต้องมีการควบคุมทั้งความสะอาดและป้องกันอนุภาคจำพวกเชื้อจุลชีพ รวมถึงฝุ่นละอองต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยในการรักษาพยาบาลและความสะดวกในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนการลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อความแม่นยำในการตรวจวินิจฉัยโรคบางชนิด ดังนั้น ห้องคลีนรูมหรือห้องปลอดเชื้อโรงพยาบาล จึงต้องมีการออกแบบและกำหนดคุณสมบัติของให้เหมาะสมกับการใช้งานในโรงพยาบาล โดยมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  1. ป้องกันอนุภาคและมลสารจากภายนอกเข้าไปในห้อง
    ห้องคลีนรูมหรือห้องปลอดเชื้อโรงพยาบาล จะต้องมีการป้องกันอนุภาคและมลสารจากภายนอกเข้าสู่ภายในห้อง ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นละออง เชื้อโรค หรือมลพิษทางอากาศ โดยการใช้ HEPA Filter ในการกรองอากาศ และใช้ร่วมกับ AHU ที่มีมาตรฐานเพื่อควบคุมความดัน ความชื้น และอุณหภูมิ ให้เหมาะสม รวมถึงทำความสะอาดอุปกรณ์ต่าง ๆ และเสื้อผ้าของผู้ใช้งานก่อนเข้าห้องเสมอ
  2. ป้องกันการสะสมของอนุภาคและมลสารภายในห้อง
    วัสดุที่ใช้ทำผนัง เพดาน ฝ้า และพื้นของห้องคลีนรูมหรือห้องปลอดเชื้อโรงพยาบาลนั้นจะต้องมีคุณสมบัติที่ไม่กักเก็บอนุภาค มลสาร และฝุ่นละออง รวมถึงการใช้อุปกรณ์ที่สามารถทำความสะอาดได้ง่ายและไม่สะสมฝุ่น เพื่อให้ห้องคลีนรูมหรือห้องปลอดเชื้อโรงพยาบาลมีมาตรฐานความสะอาดเป็นไปตามมาตรฐานที่สากลกำหน
  3. ป้องกันการก่อให้เกิดอนุภาคและมลสารภายในห้อง
    ผู้ปฏิบัติงานภายในห้องคลีนรูมหรือห้องปลอดเชื้อโรงพยาบาลจำเป็นที่จะต้องสวมชุดสำหรับห้องปลอดเชื้อก่อนเข้าไปในห้องทุกครั้ง รวมถึงการทำความสะอาดร่างกายและสวมอุปกรณ์ป้องกัน เพื่อควบคุมและป้องกันการก่อให้เกิดสิ่งสกปรกหรือเชื้อโรคภายในห้อง
  4. หมุนเวียนอากาศเพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมภายในห้อง
    ภายในห้องคลีนรูมหรือห้องปลอดเชื้อในโรงพยาบาล จะมีการหมุนเวียนอากาศและระบายอากาศบางส่วนออกสู่ภายนอก เพื่อลดการสะสมสิ่งสกปรกหรือเชื้อโรคภายในห้อง รวมถึงการติดตั้งระบบดูดอากาศตามจุดต่าง ๆ โดยเฉพาะจุดที่มักมีการกระจายของฝุ่นละอองเป็นจำนวนมาก

นอกจากนี้ ภายในห้องคลีนรูมหรือห้องปลอดเชื้อโรงพยาบาล ยังจำเป็นต้องมีการออกแบบและควบคุมปัจจัยอื่น ๆ เพิ่มเติมตามลักษณะของการใช้งาน

อ่านต่อเพิ่มเติม 12 จุดสำคัญ การออกแบบห้องคลีนรูมต้องดูอะไรบ้าง?

ห้องคลีนรูม ห้องปลอดเชื้อโรงพยาบาล สำคัญอย่างไร?

ห้องคลีนรูมหรือห้องปลอดเชื้อโรงพยาบาล ถือเป็นห้องที่มีความสำคัญอย่างมากในการควบคุมและป้องกันสิ่งสกปรกและฝุ่นละอองที่อาจส่งผลต่อการตรวจ รักษา รวมถึงการปฏิบัติการทางชีววิทยาต่าง ๆ โดยห้องปลอดเชื้อในโรงพยาบาลนั้นสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่น Biological Cleanroom เป็นห้องปลอดเชื้อที่ใช้สำหรับควบคุมปริมาณเชื้อแบคทีเรีย โดยมีความดันอากาศในห้องสูงกว่าความดันอากาศห้องข้างเคียง หรือ Biohazard Cleanroom ห้องปลอดเชื้อที่ใช้ปฏิบัติการเกี่ยวกับเชื้อไวรัสและสารอันตราย มีความดันภายในห้องต่ำกว่าห้องข้างเคียง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคและสารต่าง ๆ ไปยังภายนอก โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบตามการไหลเวียนอากาศ ดังนี้

  • Conventional Cleanroom เป็นห้องคลีนรูมหรือห้องปลอดเชื้อที่มีการไหลเวียนของอากาศเหมือนกับระบบปรับอากาศที่ใช้ทั่วไป แต่มีการใช้ HEPA Filter เข้ามาช่วยในการกรองอากาศ เพื่อให้อากาศมีความบริสุทธิ์มากที่สุดและจำนวนครั้งในการเปลี่ยนถ่ายอากาศมากกว่าเพื่อลดความสกปรกในห้องได้ดียิ่งขึ้น เช่น ห้องผ่าตัด ห้องฉุกเฉิน ห้องปฏิบัติทางการแพทย์ ห้องพักผู้ป่วยแรงดันลบ ห้องพักผู้ป่วยแรงดันบวก ห้องคลอด เป็นต้น
  • Horizontal Cleanroom ห้องคลีนรูมหรือห้องปลอดเชื้อที่มีการติดตั้ง HEPA Filter เต็มพื้นที่ผนังของห้องด้านหนึ่ง โดยปล่อยอากาศไหลผ่านเข้าสู่ห้องคลีนรูมและดูดกลับขึ้นไปด้านบนของเพดานกลับไปสู่เครื่องเป่าลม มักใช้ในธนาคารเก็บเสต็มเซลล์ ห้องปฏิบัติการชีววิทยา ฯลฯ
  • Vertical Laminar Flow Cleanroom ห้องนี้จะติดตั้ง HEPA FIlter เต็มเพดาน โดยอากาศจะถูกส่งลงจากเพดานผ่าน HEPA Filter ในแนวดิ่งและลมไหลจะกลับผ่านพื้นเข้าสู่เครื่องเป่าลมเย็น

    อ่านต่อ : ห้องสะอาด คลีนรูมสามารถควบคุมปัจจัยอะไรได้บ้าง?

ห้องคลีนรูม ห้องปลอดเชื้อโรงพยาบาลมีอะไรบ้าง กี่ประเภท_CAI

ห้องคลีนรูม ห้องปลอดเชื้อโรงพยาบาล มีอะไรบ้าง?

ห้องผ่าตัด (Operating Room : OR)

ห้องผ่าตัดในโรงพยาบาลส่วนใหญ่แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ห้องแรงดันบวก (Possitive Pressure Cleanroom) และห้องแรงดันลบ (Negative Pressure Cleanroom)

  • ห้องผ่าตัดแรงดันบวก เป็นห้องที่ไม่ต้องการให้อากาศจากภายนอกเข้ามาภายในห้อง เช่น ห้องผ่าตัดทั่วไป ห้องผ่าตัดศัลยกรรมกระดูก ห้องผ่าตัดหัว ใจ ห้องผ่าตัดสมอง เป็นต้น
  • ห้องผ่าตัดแรงดันลบ เป็นห้องที่ใช้สำหรับผ่าตัดสำหรับผู้ติดเชื้อที่สามารถแพร่กระจายเชื้อได้ผ่านทางเดินระบบหายใจ เช่น ผู้ป่วย Covid-19 ผู้ป่วยโรค SARS เป็นต้น

ห้องฉุกเฉิน ICU ( Intensive Care Unit)

ห้องฉุกเฉิน ICU เป็นห้องปลอดเชื้อในโรงพยาบาลอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้เป็นห้องสำหรับดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพในขั้นวิกฤติ หรือมีภาวะล้มเหลวของระบบอวัยวะต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องมีการควบคุมสภาวะแวดล้อมและเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด โดยมีทั้งห้องแรงดันบวก (Positive Cleanroom) และห้องแรงดันลบ (Negative Cleanroom) เช่นเดียวกับห้องผ่าตัด

ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (Medical Laboratory)

ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์จัดเป็นอีกหนึ่งห้องห้องคลีนรูม หรือห้องปลอดเชื้อในโรงพยาบาลที่สำคัญ จึงจำเป็นต้องมีการควบคุมอุณหภูมิและอนุภาคต่าง ๆ เพื่อคงสภาพของตัวอย่าง เช่น โลหิต ปัสสาวะ อุจจาระ ฯลฯ ไม่ให้แปรสภาพก่อนนำไปใช้งาน

ห้องพักผู้ป่วยแรงดันลบ (Negative Pressure Isolation Room)

ห้องคลีนรูมหรือห้องปลอดเชื้อโรงพยาบาลที่มีความดันภายในห้องเป็นลบ เพื่อควบคุมและป้องกันไม่ให้เชื้อไหลออกมาสู่ภายนอกห้อง เช่น ห้องพักผู้ป่วย COVID-19 เป็นต้น

ห้องพักผู้ป่วยแรงดันบวก (Positive Pressure Isolation Room)

ห้องคลีนรูมหรือห้องปลอดเชื้อโรงพยาบาลที่มีความดันภายในห้องเป็นบวก เพื่อป้องกันเชื้อจุลชีพหรือสิ่งปนเปื้อนเข้ามาภายในห้อง เช่น ห้องพักสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ขั้นวิกฤตหรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นต้น

ห้องคลอด (Labour Room: LR)

ห้องคลอดถือเป็นห้องคลีนรูมแรงดันบวกที่มีการป้องกันเชื้อจุลชีพหรือสิ่งปนเปื้อนเข้ามาภายในห้องด้วยเช่นกัน เพื่อความปลอดภัยของผู้คลอดบุตร เด็กทารกแรกเกิด รวมถึงความสะดวกต่อสูติแพทย์และผู้ปฏิบัติงาน

ธนาคารเก็บสเต็มเซลล์ (Stem Cell Banking)

ห้องคลีนรูมหรือห้องปลอดเชื้อในโรงพยาบาลที่ใช้สำหรับเก็บรักษาสเต็มเซลล์หรือเซลล์ต้นกำเนิดของมนุษย์โดยเฉพาะ โดยจะมีการควบคุมแรงดันอากาศในห้องให้สัมพันธ์กับอุณหภูมิของสเต็มเซลล์และลดความเสียหายของสเต็มเซลล์ให้น้อยที่สุด รวมถึงป้องกันเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าไปปะปนกับสเต็มเซลล์ด้วย

สร้างห้องคลีนรูม ห้องปลอดเชื้อโรงพยาบาลมาตรฐานสากล_CAI

CAI Engineering รับสร้างห้องคลีนรูม ห้องปลอดเชื้อโรงพยาบาล

ห้องคลีนรูมหรือห้องปลอดเชื้อในโรงพยาบาลนั้นมีความสำคัญต่อการใช้งานและชีวิตมนุษย์ จึงจำเป็นต้องมีการควบคุมความสะอาดอย่างเข้มงวด โดยให้เป็นไปตามมาตรฐาน ISO 14644 และ NEBB

CAI Engineering ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและสร้างห้องคลีนรูม ห้องปลอดเชื้อโรงพยาบาล รวมถึงห้องคลีนรูมสำหรับอุตสาหกรรม จึงได้มีการนำระบบบริหารจัดการอาคารอัตโนมัติ BAS มาปรับใช้ในการออกแบบและสร้างห้องคลีนรูม รวมถึงการเลือกใช้วัสดุคุณภาพสูงและทันสมัย อาทิ คอนโทรลเลอร์มาตรฐานสากลแบรนด์ Sauter, ผนังและกระจกแบรนด์ Wiskind, เครื่องปรับอากาศ AHU แบรนด์ Robatherm เป็นต้น เพื่อให้ได้ห้องคลีนรูมที่ได้มาตรฐานสากล ตอบโจทย์การใช้งาน ตลอดจนการลดการปล่อยก๊าซเลือนกระจกเพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero ในอนาคต

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ทำไมห้อง Cleanroom ถึงสำคัญในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor)

ทำไมห้อง Cleanroom ถึงสำคัญในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor)

รู้หรือไม่ว่าทำไมห้องคลีนรูม (Cleanroom) ถึงเป็นกุญแจสำคัญในการผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ค้นหาคำตอบได้ที่นี่!

Read More »
DOAS เครื่องเติมอากาศบริสุทธิ์เพื่อระบบปรับอากาศ HVAC ที่มีประสิทธิภาพ

DOAS เครื่องเติมอากาศบริสุทธิ์เพื่อระบบปรับอากาศ HVAC ที่มีประสิทธิภาพ

ทำความรู้จัก DOAS เครื่องเติมอากาศภายนอกชนิดอิสระที่ช่วยให้ระบบปรับอากาศของคุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดค่าใช้จ่าย และยังดีต่อสุขภาพอีกด้วย

Read More »

By clicking “Accept”, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts. Privacy Policy

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า