Smart Building โซลูชันบริหารจัดการอาคารอัจฉริยะ_CAI

Smart Building โซลูชันบริหารจัดการอาคารอัจฉริยะ

อาคารอัจฉริยะ Smart Building เป็นระบบบริหารจัดการอาคารที่ได้รวมเอาเทคโนโลยีอาคารที่ล้ำสมัยที่ช่วยยกระดับคุณภาพอาคารให้มีความสะดวกสบายมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น สามารถวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างตรงจุดและตอบสนองได้ทันท่วงที เพื่อทำให้การใช้งานอาคารเกิดประสิทธิภาพและความคุ้มค่าสูงสุด

อาคารอัจฉริยะ Smart Building คืออะไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง_CAI

อาคารอัจฉริยะ Smart Building คืออะไร?

อาคารอัจฉริยะ Smart Building หรืออาจเรียกกันในชื่อ ตึกฉลาด อาคารเทคโนโลยีขั้นสูงหรือ “Intelligent building” ซึ่งเป็นอาคารอัจฉริยะที่เชื่อมโยงนวัตกรรมที่หลากหลายและมีเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นระบบส่วนกลางที่จะสามารถตรวจสอบ รายงาน และควบคุมอุปกรณ์ของอาคารได้แบบ Real-Time รวมถึงใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้ใช้งานในอาคารนั้น ๆ ได้อีกด้วย ซึ่งแนวความคิดนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 1981 ที่ได้เริ่มมีการนำระบบควบคุมอัตโนมัติมาใช้ในระบบรักษาความปลอดภัยและระบบไฟฟ้าของอาคาร เพื่อให้ตอบโจทย์ต่อความต้องการของผู้บริโภคและผู้ประกอบการอาคารอย่างสูงสุด

อาคารอัจฉริยะ Smart Building ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?

องค์ประกอบของอาคารอัจฉริยะ Smart Building ประกอบไปด้วย 4 ส่วน ดังนี้

ระบบบริหารอาคาร (Building Management System)

ระบบบริหารจัดการอาคาร Building Management System หรือระบบ BAS ของอาคารอัจฉริยะ Smart Building นั้น สามารถแบ่งออกได้หลายประการ ดังนี้
การบริหารสิ่งอำนวยความสะดวกและการบริหารงานซ่อมบำรุง ทำหน้าที่คอยควบคุมและตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่าง ๆ ในอาคาร

  • ระบบควบคุมการใช้พลังงาน ทำหน้าที่วางแผน และควบคุมการใช้พลังงานของอาคาร
  • ระบบรักษาความปลอดภัย ทำหน้าที่ตรวจสอบการเข้า-ออกของบุคคล
  • ระบบบริหารสายสัญญาณ ระบบนี้จะช่วยในการวางแผน แก้ไขเพิ่มเติมงานสายสัญญาณต่าง ๆ ในอนาคต จึงทำให้สามารถทราบสถานะของระบบสายสัญญาณได้อย่างแม่นยำ
  • ระบบบริหารความปลอดภัยของผู้ใช้งาน ทำหน้าที่การแจ้งเตือนไฟไหม้ ระบบดับเพลิง ระบบอัดอากาศและระบายควันของตัวอาคาร

งานระบบอาคาร (Building System)

  • ระบบควบคุมกลาง ทำหน้าที่ ตรวจสอบดูแลและถ่วงดุลให้ระบบทั้งหมดทำงานอย่างประสานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ระบบจ่ายไฟฟ้ากำลัง ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์จ่ายไฟฟ้าทั้งหมดของอาคาร
  • ระบบเตือนเพลิงไหม้ ทำหน้าที่ส่งสัญญาณเตือนไฟไหม้จากระบบตรวจจับควัน
  • ระบบตรวจจับความร้อน รวมทั้งควบคุมระบบจ่ายน้ำดับเพลิง
  • ระบบระบายอากาศ และระบบปรับอากาศ ทำหน้าที่ควบคุมระดับของอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสมรวมทั้งจ่ายอากาศบริสุทธิ์ที่เหมาะสมกับผู้ที่ใช้งานในอาคาร
  • ระบบลิฟต์และบันไดเลื่อน ทำหน้าที่คำนวณโดยอิงจากข้อมูลการเรียกใช้ลิฟต์ของผู้ใช้งานแล้วสร้างระบบการทำงานให้เหมาะสำหรับการใช้งานในแต่ละช่วงเวลา
  • ระบบเครือข่ายท้องถิ่น ระบบนี้ช่วยให้คอมพิวเตอร์ภายในอาคารสามารถติดต่อสื่อสารและส่งข้อมูลแลกเปลี่ยนระหว่างคอมพิวเตอร์ได้
  • ระบบช่องทางติดต่อสื่อสารกับภายนอก ทำหน้าที่เชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างภายนอกกับภายใน
  • ระบบรักษาความปลอดภัย ทำหน้าที่ควบคุมการเข้าออกและการบุกรุกจากบุคคลภายนอก
  • ระบบสายสัญญาณสื่อสารหลัก

ระบบโครงสร้างอาคาร (Building Structure)

  • การออกแบบโครงสร้างอาคาร Smart Building ที่มีความยืดหยุ่นสูง โดยโครงสร้างของอาคารอัจฉริยะ Smart Building ที่ดีนั้นจะต้องสามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ง่าย โดยเฉพาะการเดินท่อเพื่อร้อยสายสัญญาณเพิ่มในภายหลัง
  • ระบบผนังอาคารภายนอก ระบบผนังอาคารที่ดีควรจะต้องตอบสนองและสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้

ระบบบริการลูกค้า (Tenants Service)

  • ระบบเสาอากาศโทรทัศน์รวม เป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เช่าในการรับสัญญาณโทรทัศน์
  • ระบบโทรศัพท์
  • ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม
  • การประชุมผ่านทางจอภาพ
  • ระบบสายสัญญาณอินเตอร์เน็ต

โซลูชันที่สำคัญของอาคารอัจฉริยะ Smart Building

ในการออกแบบอาคารอัจฉริยะ Smart Building นอกจากจะทำให้มีภาพลักษณ์เป็นอาคารที่ทันสมัยแล้ว ยังส่งผลให้อาคารนั้นมีจุดขายที่แตกต่างจากอาคารอื่นๆ นอกจากนี้ อาคารอัจฉริยะยังสามารถช่วยประหยัดพลังงานได้ โดยมีหลายด้านดังนี้

ระบบปรับอากาศ

การนำระบบ HVAC มาใช้จะช่วยจัดการอากาศในอาคารอัจฉริยะ เพื่อความคุมอุณหภูมิ ความชื้น ความสะอาด ให้อากาศกระจายออกไปตามที่ต้องการสำหรับพื้นที่นั้น ๆ ทำให้ได้อากาศที่บริสุทธิ์ไร้มลพิษ
อ่านต่อ : ระบบปรับอากาศ HVAC กับ Air Conditioner ต่างกันอย่างไร

การจัดการและควบคุมอาคาร

การนำเทคโนโลยี IoT มาใช้ ซึ่งมีประโยชน์ในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานของอาคาร ผ่านการควบคุมและจัดการระบบการทำงานของอุปกรณ์ที่ได้ทำการเชื่อมต่อกับระบบ IoT

การจัดเก็บข้อมูล

การนำระบบ Cloud Computing มาใช้ในการจัดเก็บ จัดการ และประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ ของอาคาร โดยไม่จำเป็นที่จะต้องลงทุนซื้อฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เองทั้งระบบ อีกทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและเพิ่มความปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อมูลที่สำคัญอีกด้วย

การปรับปรุงและยกระดับคุณภาพอากาศภายในอาคารให้สะอาด

การนำเทคโนโลยี Bi-polar Lonization System มาใช้โดยการปล่อยประจุบวกและลบ ทำให้มีประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อโรคและฝุ่นละอองได้ดี

CAI Engineering ผู้นำด้านการสร้างห้องคลีนรูมด้วย Smart Building

CAI Engineering ผู้นำในการสร้างห้องคลีนรูมที่ได้มาตรฐานสากล โดยการใช้เทคโนโลยีอาคารที่ทันสมัย เช่น Sauter คอนโทรลเลอร์สำหรับควบคุมความชื้น อุณหภูมิ และความดันอากาศประสิทธิภาพสูง รวมถึงมีการนำระบบ BMS / BAS และ BIM รวมถึง Hololens มาใช้ในการออกแบบห้องคลีนรูม ตลอดจนการนำมาใช้หลังการเสร็จสิ้นกระบวนการสร้าง เพื่อทำให้การใช้งานอาคารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงานได้ตามนโยบายของ NET ZERO

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ทำไมห้อง Cleanroom ถึงสำคัญในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor)

ทำไมห้อง Cleanroom ถึงสำคัญในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor)

รู้หรือไม่ว่าทำไมห้องคลีนรูม (Cleanroom) ถึงเป็นกุญแจสำคัญในการผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ค้นหาคำตอบได้ที่นี่!

Read More »
DOAS เครื่องเติมอากาศบริสุทธิ์เพื่อระบบปรับอากาศ HVAC ที่มีประสิทธิภาพ

DOAS เครื่องเติมอากาศบริสุทธิ์เพื่อระบบปรับอากาศ HVAC ที่มีประสิทธิภาพ

ทำความรู้จัก DOAS เครื่องเติมอากาศภายนอกชนิดอิสระที่ช่วยให้ระบบปรับอากาศของคุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดค่าใช้จ่าย และยังดีต่อสุขภาพอีกด้วย

Read More »

By clicking “Accept”, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts. Privacy Policy

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า