แนวทางการประหยัดพลังงานของระบบปรับอากาศในอาคาร

แนวทางการประหยัดพลังงานของระบบปรับอากาศในอาคาร

ในธุรกิจโรงแรม โรงพยาบาล สำนักงาน โรงเรียน ห้างสรรพสินค้า และสถานที่สาธารณะต่าง ๆ มีการใช้พลังงาน ในระบบปรับอากาศในแต่ละเดือนเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการออกแบบระบบปรับอากาศและระบบควบคุมที่ดีจะช่วยทำให้ประหยัดพลังงาน ช่วยลดการสูญเสียพลังงานในระบบปรับอากาศแถมยังช่วยทำให้การใช้งานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีกด้วย โดยมีแนวทางการประหยัดพลังงานของระบบปรับอากาศในอาคาร ดังต่อไปนี้

การปรับปรุงสภาพแวดล้อมของอาคาร

การปรับปรุงสภาพแวดล้อมโดยรอบของอาคารที่มีผลต่อการใช้พลังงานในระบบปรับอากาศ เพื่อเป็นการลดภาระของระบบปรับอากาศลง โดยการออกแบบอาคารใหม่หรือปรับปรุงอาคารเก่า ซึ่งต้องคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เช่น

  • การจัดทิศทางการวางตัวอาคารให้เหมาะสม (สำหรับอาคารใหม่)
  • การเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นฉนวนกันความร้อน
  • การป้องกันการรั่วซึมของอากาศภายนอก 
  • ใช้การบังเงาเพื่อหลีกเลี่ยงแสงที่ส่องจากดวงอาทิตย์โดยตรง

 

การรักษาอุณหภูมิในระบบปรับอากาศ

การรักษาอุณหภูมิในระบบปรับอากาศถือเป็นขั้นตอนสำคัญ เพื่อให้ระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอำนวยความสะดวกสบายให้แก่ผู้ใช้งานอาคาร จึงมีวิธีการรักษาอุณหภูมิในระบบปรับอากาศ ดังนี้

  1. ตรวจสอบอุปกรณ์: ตรวจสอบว่าอุปกรณ์ในระบบปรับอากาศทั้งหมดมีประสิทธิภาพและทำงานได้ถูกต้อง รวมถึงการเปลี่ยนแผ่นกรองอากาศ (Filter) เป็นประจำตามคำแนะนำของผู้ผลิต
  2. ตรวจสอบสภาพแวดล้อม: ตรวจสอบว่าระบบไม่ได้ถูกรบกวนจากภายนอก เช่น อุณหภูมิภายนอกที่สูงหรือต่ำเกินไป เนื่องจากสภาพแวดล้อมส่งผลต่อการทำงานของระบบ
  3. การสั่งงานอุปกรณ์: ปรับอุปกรณ์ให้ทำงานตามค่าอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ 
  4. การบำรุงรักษา: บำรุงรักษาตามแผนงานของผู้ผลิต รวมถึงการทำความสะอาดและเปลี่ยนอะไหล่ตามคำแนะนำ
  5. ติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมอัตโนมัติ: หากเป็นไปได้ควรใช้ระบบควบคุมอัตโนมัติเพื่อควบคุมอุปกรณ์ในการรักษาอุณหภูมิตามที่ต้องการ และยังสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย
  6. การสอบถามผู้เชี่ยวชาญ: ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในด้านระบบปรับอากาศ เพื่อให้ระบบนั้นมีประสิทธิภาพมากที่สุด 

 

การบำรุงรักษาระบบปรับอากาศ

การบำรุงรักษาในระบบปรับอากาศเป็นข้ันตอนสำคัญเพื่อทำให้ระบบปรับอากาศทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีการใช้งานได้อย่างยาวนาน พร้อมช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมและเพิ่มความคงทนของระบบได้ในระยะยาว ซึ่งการบำรุงรักษามีขั้นตอนดังนี้ 

  1. การเปลี่ยนฟิลเตอร์: ทำการเปลี่ยนฟิลเตอร์แอร์ (Air Filter) ตามคำแนะนำของผู้ผลิตหรือตามตารางเวลาการเปลี่ยนฟิลเตอร์ เพราะฟิลเตอร์นั้นจะสกัดฝุ่นและสิ่งสกปรกอื่น ๆ ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพของระบบและลดค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าไฟ อีกท้ังยังลดค่าทำความสะอาดหรือซ่อมแซมในอนาคตได้อีกด้วย
  2. การทำความสะอาดระบบ: ทำความสะอาดระบบปรับอากาศในส่วนต่าง ๆ ของระบบ เช่น ทำความสะอาดท่อส่งอากาศ ท่อระบายน้ำแข็ง และส่วนประกอบอื่น ๆ ที่อาจสกปรกภายในระบบปรับอากาศ
  3. ตรวจสอบภายนอก: ตรวจสอบความสึกหรอของระบบภายนอก รวมถึงการทำความสะอาดพื้นผิวภายนอกเพื่อกำจัดสิ่งสกปรกออก
  4. การตรวจสอบสิ่งกีดขวาง: ตรวจสอบว่าไม่มีสิ่งกีดขวาง ทั้งภายในและภายนอกระบบที่อาจกีดขวางการไหลของอากาศ
  5. ทำการตรวจสอบระบบควบคุม: ตรวจสอบความถูกต้องของระบบควบคุมและค่าอุณหภูมิที่ต้องการ เพื่อให้แน่ใจว่าระบบทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

 

การเลือกใช้อุปกรณ์ในระบบปรับอากาศ

การเลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้การใช้พลังงานไฟฟ้าในระบบปรับอากาศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ผู้ออกแบบจะต้องพิจารณาเลือกระบบปรับอากาศที่สามารถทำความเย็นได้เพียงพอเมื่อมีภาระความร้อนสูง เช่น การเลือกขนาดเครื่องที่เหมาะสม การเลือกเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่มีประสิทธภาพสูง หรือเลือกระบบที่ใช้พลังงานน้อย โดยคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

  1. ความจำเป็น: พิจารณาว่าอุปกรณ์นั้น ๆ จำเป็นต่อระบบปรับอากาศ และถูกต้องตามหลักการออกแบบหรือไม่
  2. คุณภาพ: เลือกอุปกรณ์ที่มีคุณภาพดีและได้รับการรับรอง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าอุปกรณ์มีประสิทธิภาพและความทนทานต่อการใช้งาน
  3. ขนาดและประสิทธิภาพ: เลือกขนาดและประสิทธิภาพของอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับพื้นที่หรือระบบปรับอากาศ
  4. ความมีเสียง: พิจารณาระดับเสียงที่อุปกรณ์สร้างขึ้น โดยเฉพาะในระบบปรับอากาศติดต้ังในพื้นที่ที่ต้องการความเงียบ
  5. ความปลอดภัย: ตรวจสอบว่าอุปกรณ์มีมาตรฐานความปลอดภัยและได้มาตรฐานของระบบปรับอากาศ
  6. การประหยัดพลังงาน: เลือกอุปกรณ์ที่ทีมีความทันสมัย และสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับระบบอัตโนมัติได้
  7. ราคา: พิจารณาราคาของอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
  8. ความสะดวกสบายในการบำรุงรักษาในอนาคต

 

การจัดการพลังงานในระบบปรับอากาศ

การจัดการพลังงานเป็นหนึ่งขั้นตอนสำคัญที่ช่วยประหยัดพลังงานในระบบปรับอากาศของอาคาร โดยการเดินระบบให้เหมาะสมกับความเย็นที่ต้องการในอาคาร หรือลดการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็นลง ซึ่งแนวทางการประหยัดพลังงานนั้นขึ้นอยู่กับสิ่งที่ต้องคำนึงถึงดังต่อไปนี้ เช่น

  1. เดินเครื่องทำน้ำเย็น (Chiller) ให้เหมาะสมกับภาระทำความเย็น (Load) ที่ต้องการในอาคาร
  2. เดินเครื่องทำน้ำเย็นชุดที่มีประสิทธิภาพสูงสุดก่อนเสมอ
  3. ใช้ระบบการจัดการเครื่องทำน้ำเย็นหรือ Chiller Manager ในกรณีที่มีการใช้เครื่องทำน้ำเย็นหลาย ๆ ชุด
  4. ลดการใช้งานของระบบปรับอากาศในพื้นที่ปรับอากาศ
  5. การแบ่งโซนปรับอากาศเพื่อง่ายต่อการควบคุมอุณหภูมิ
  6. ลดการรั่วของอากาศภายนอกเข้าสู่อาคารตามกรอบอาคาร ประตู หรือหน้าต่าง เป็นต้น



การใช้เทคโนโลยี ประหยัดพลังงาน

ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยี ประหยัดพลังงานที่มีประสิทธิภาพเข้ามาช่วยในการออกแบบระบบปรับอากาศเพื่อลดการใช้พลังงานและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของระบบปรับอากาศให้มีประสิทธิภาพสูงสุดตลอดการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น

  1. การลดความชื้นในระบบปรับอากาศ ด้วยการติดตั้งฮีทไปป์ (Heat Pipe)
  2. การลดภาระการใช้งานของระบบปรับอากาศ ทำได้โดยใช้เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน (Heat Exchanger) เพื่อแลกเปลี่ยนความร้อนของลมเย็นทิ้งกับอากาศภายนอก
  3. การใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงและได้รับการรองรับมาตรฐานสากล
  4. การนำระบบบริหารจัดการอาคารอัตโนมัติ (BAS) มาประยุกต์ใช้ในอาคาร เพื่อประหยัดพลังงาน
  5. การใช้ซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีสัญญาณดิจิทัล เพื่อประสิทธิภาพในการควบคุมและประหยัดพลังงานในระบบปรับอากาศ
CAI Engineering ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบปรับอากาศในอาคาร

CAI Engineering ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบปรับอากาศในอาคาร

CAI Engineering ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบปรับอากาศในอาคาร โดยวิศวกรเฉพาะทาง มากประสบการณ์กว่า 10 ปี ทั้งในไทยและต่างประเทศ เรารับออกแบบและสร้างห้องคลีนรูมให้ได้ประสิทธิภาพ รวมถึงเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานและช่วยประหยัดพลังงาน เช่น AHU จากแบรนด์ Robatherm ที่ได้การรองรับมาตรฐาน Green Building รวมถึงมีการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ อย่างเช่น BAS มาปรับใช้ในห้องคลีนรูม เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งาน ไปพร้อม ๆ กับการประหยัดพลังงาน และเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อผลักดันเป้าหมาย Net Zero ภาคอุตสาหกรรมให้สำเร็จ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ห้องแรงดันบวก VS ห้องแรงดันลบ แตกต่างกันอย่างไร ? สำคัญอย่างไรกับห้องปลอดเชื้อ

ห้องแรงดันบวก VS ห้องแรงดันลบ แตกต่างกันอย่างไร ? สำคัญอย่างไรกับห้องปลอดเชื้อ

มาเข้าใจหลักการทำงานและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างห้องแรงดันบวกและห้องแรงดันลบ ว่าทำไมทั้งสองประเภทจึงมีบทบาทสำคัญในห้องปลอดเชื้อกันกัน

Read More »
Cleanroom 101 : คู่มือปฏิบัติงานสำหรับมือใหม่ในห้องคลีนรูม

Cleanroom 101 : คู่มือปฏิบัติงานสำหรับมือใหม่ในห้องคลีนรูม

คำแนะนำในการทำงานรวมถึงชุดคลีนรูมที่ถูกต้องเพื่อให้ผู้ใช้งานห้องคลีนรูมเข้าใจและปฏิบัติตามมาตรฐานของห้องคลีนรูม (Cleanroom) ได้อย่างถูกต้อง

Read More »

By clicking “Accept”, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts. Privacy Policy

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า