โรงพยาบาลเป็นสถานที่ที่มีทั้งผู้ติดเชื้อ และผู้ไม่ติดเชื้อมาอยู่รวมกัน ดังนั้น เพื่อป้องกันให้ไม่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโรคให้ไปสู่บุคคลากรทางการแพทย์ ห้องคลีนรูม จึงสำคัญอย่างยิ่งในโรงพยาบาล ดังนั้น ทาง CAI Engineering จึงจะมาพูดถึงห้องภายในโรงพยาบาลที่มีการใช้ ห้องคลีนรูม อีกทั้งควรตรวจสอบ ห้องคลีนรูม ให้ได้มาตรฐานอยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน
ห้องภายในโรงพยาบาลที่เป็นห้องคลีนรูมมีห้องอะไรบ้าง?
ภายโรงพยาบาลนั้นมีห้องคลีนรูมที่มีการออกแบบเพื่อนำมาใช้งานที่แตกต่างจากห้องทั่วไป โดยห้องต่าง ๆ ภายในโรงพยาบาลที่เป็นห้องคลีนรูม มีดังนี้
1.ห้องผ่าตัด หรือ Operation Room
ห้องผ่าตัด หรือ Operation เป็นห้องคลีนรูมที่ใช้งานระบบปรับอากาศ และระบายอากาศ โดยระบบดังกล่าวของห้องผ่าตัดนั้นมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากจะต้องป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น จึงจะต้องควบคุมปริมาณการหมุนเวียนอากาศ การระบายอากาศ อุณหภูมิ ความชื้น ความดันอากาศ การกรองอากาศที่มีประสิทธิภาพ ให้เป็นไปตามมาตรฐาน ISO 14644-1 โดยที่ระบบปรับอากาศจะต้องมีการหมุนเวียนอากาศภายในห้องผ่าตัดได้ไม่น้อยกว่า 25 เท่า ของปริมาตรห้องต่อชั่วโมง (ACH) หรือ ไม่น้อยกว่า 15 ACH และต้องมีประตู และกรอบประตูที่ปิดสนิท เพื่อป้องกันอากาศรั่ว ทำให้สามารถควบคุมความดันอากาศภายในห้องได้
2.ห้อง ICU หรือหออภิบาลผู้ป่วยหนัก
ห้อง ICU หรือหออภิบาลผู้ป่วยหนัก เป็นห้องคลีนรูมที่ใช้ดูแลผู้ป่วยในสภาวะวิกฤต เพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีอาการหนัก หรือมีอาการสาหัส และจำเป็นต้องมีการเฝ้าระวัง โดยห้อง ICU ที่พบเห็นส่วนใหญ่นั้นจะไม่มีการติดตั้งระบบฟอกอากาศประสิทธิภาพสูง และบางแห่งไม่มีการเติมอากาศ Fresh air แต่มีการติดพัดลมดูดอากาศออก ทำให้ความดันอากาศกลายเป็นลบ และในบางแห่งมีการติดตั้งเครื่องฟอกอากาศไว้เหนือ Nurse Station ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่เสี่ยงติดเชื้อมากยิ่งขึ้น ซึ่งการปรับอากาศสำหรับห้อง ICU นั้นจะต้องมีความสามารถในการหมุนเวียนอากาศได้ไม่น้อยกว่า 6 เท่าของปริมาตรห้องต่อชั่วโมง โดยความชื้นสัมพัทธ์จะต้องไม่เกิน 60% และในส่วนของระบบระบายอากาศจะต้องมีการเติมอากาศจากภายนอกเข้าห้อง ICU โดยคำนวณหักลบส่วนที่ดูดออกจะต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 2 เท่าของปริมาตรห้องต่อชั่วโมง และต้องผ่าน HEPA Filter โดยต้องมีความดันห้องเป็นบวก
3.ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ถือเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดปัญหาคุณภาพอากาศภายในอาคาร เนื่องจากกิจกรรมในการบำบัด และรักษาผู้ป่วย จึงทำให้มีโอกาสก่อให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อจากตัวผู้ป่วย ระหว่างขั้นตอนการตรวจวินิจฉัย หรือการรักษาได้ ยกตัวอย่างเช่น การตรวจระบบทางเดินหายใจโดยการส่องกล้อง (Bronchoscope) การดูดเสมหะ แม้กระทั่งการไอ หรือจามของผู้ป่วยระหว่างรอรับการตรวจ ล้วนแต่เป็นอาการที่สามารถทำให้เกิดการฟุ้งกระจายของอนุภาคละอองได้ หากบุคลากรทางการแพทย์ หรือผู้อื่นที่อยู่ภายในอาคารหายใจเอาอนุภาคละอองที่มีเชื้อเข้าไป ก็อาจเกิดการติดเชื้อได้
4.ห้องแรงดันบวก
ห้องแยกชนิดแรงดันบวก เป็นห้องที่มีแรงดันภายในห้องมากกว่าด้านนอก เพื่อป้องกันผู้ป่วยกลุ่มที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ซึ่งสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อผ่านอากาศภายนอกห้องเข้าสู่อากาศภายในห้อง โดยห้องชนิดนี้จำเป็นต้องมีระบบกรองอากาศมีประสิทธิภาพในการกรองสูง หรือ High Efficiency Particulate Air Filter เพื่อทำความสะอาดอากาศที่จะผ่านเข้าสู่ในห้องผู้ป่วย และไม่จำเป็นต้องมีระบบกรอง HEPA สำหรับบำบัดอากาศที่ผ่านออกจากห้อง
5.ห้องแรงดันลบ
ห้องแยกชนิดแรงดันลบ เป็นห้องแยกหลักที่ใช้สำหรับแยกผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในโรงพยาบาล โดยห้องชนิดนี้มีแรงดันภายในห้องน้อยกว่าด้านนอก เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อผ่านอากาศภายในห้องออกสู่อากาศภายนอกห้อง
ซึ่งห้องแรงดันลบ (Negative pressure room) หรือห้องแยกผู้ป่วยติดเชื้อแบบความดันลบ (Negative pressure isolation room) เป็นห้องที่มีการควบคุมปริมาณ และการไหลของอากาศโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายของเชื้อโรคในอากาศจากผู้ป่วยสู่บุคคลากรทางการแพทย์ที่ทำการดูแล และรักษาผู้ป่วย ดังนั้น จึงควรมีระบบควบคุมการไหลของอากาศแบบทางเดียว คือ ไม่นำกลับมาใช้อีก และแยกจากระบบอากาศหลักของอาคาร รวมถึงมีระบบกรองอากาศมีประสิทธิภาพในการกรองสูงหรือ HEPA เพื่อทำความสะอาดอากาศอากาศที่จะออกจากห้องผู้ป่วย และปกป้องชุมชนแวดล้อม
ทำไมถึงต้องตรวจสอบห้องภายในโรงพยาบาลอย่างสม่ำเสมอ?
โรงพยาบาลเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดปัญหาคุณภาพอากาศภายในอาคาร เนื่องจากกิจกรรมในการบำบัด และรักษาผู้ป่วย อาจทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ และการใช้สารเคมีหลายชนิด เพื่อการฆ่าเชื้อ และทำความสะอาดเครื่องมือ สารเคมีในห้องปฏิบัติการ งานเภสัชกรรม และอื่น ๆ ดังนั้น การใช้ตรวจสอบห้องภายในโรงพยาบาลอย่างสม่ำเสมอนั้นเพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพอากาศในโรงพยาบาลให้ได้มาตรฐาน
สร้าง ห้องคลีนรูม ด้วยเทคโนโลยี 4.0ได้มาตรฐานอุตสาหกรรมระดับสากลต้อง CAI Engineering
CAI Engineering เป็นผู้เชี่ยวชาญในงาน ห้องคลีนรูม แบบครบวงจรมายาวนานถึง 19 ปี นอกจากนี้ยังเลือกใช้แต่วัสดุที่ดีมีคุณภาพตามมาตรฐาน ห้องคลีนรูม และ CAI Engieering ยังไม่หยุดพัฒนา จึงได้มีการนำเทคโนโลยีที่เรียกว่า BIM หรือ Building Information Modeling มาประยุกต์ใช้ในงาน ห้องคลีนรูม กับทุกโครงการของเรา เพื่อให้ได้ห้องคลีนรูมที่ได้มาตรฐาน และตรงตามความต้องการของลูกค้ามากที่สุด