รวมการตรวจสอบที่จำเป็นสำหรับห้องคลีนรูม (Cleanroom Testing)

รวมการตรวจสอบที่จำเป็นสำหรับห้องคลีนรูม (Cleanroom Testing)

ก่อนการส่งมอบห้องคลีนรูมให้ถึงมือลูกค้า วิศวกรจำเป็นต้องตรวจสอบประสิทธิภาพ (Cleanroom Testing) ของห้องคลีนรูมอย่างครอบคลุมก่อน เพื่อการสร้างห้องสะอาดที่ปลอดภัยและได้มาตรฐานสูงสุด บทความนี้ CAI Engineering จะพาคุณไปเจาะลึกการตรวจสอบที่จำเป็นทุก ๆ รายการ เพื่อให้คุณมั่นใจได้ว่า เราพิถีพิถันในการสร้างมากเพียงใด

 

การตรวจสอบห้องสะอาดแบบใช้ควัน หรือการไหลของอากาศ (Airflow or smoke test)

สำหรับการประเมินค่าพารามิเตอร์นี้จะใช้อุปกรณ์เพื่อสร้างควัน ที่สามารถทำให้เรามองเห็นทิศทางการไหลของควันบริเวณด้านหน้าตัวกรอง HEPA หรือในบริเวณที่ต้องสัมผัสกับผลิตภัณฑ์ วัตถุ ในห้องสะอาดได้ ในขั้นตอนนี้จะมีผู้สังเกต เก็บข้อมูล และบันทึกการกระจายของควัน ซึ่งรูปแบบการไหลของควันจะต้องสม่ำเสมอตามรูปแบบการไหลแบบ laminar flow pattern สู่ทางออกเพื่อกลับสู่ท่อ (Ducts)

 

การตรวจสอบความเร็วลมและจำนวนรอบของการไหลเวียนอากาศต่อชั่วโมง (Airflow velocity and changes per hour) 

ในการทดสอบนี้พื้นที่ของ HVAC จะถูกแบ่งพื้นที่ออกเป็น grids ตามสมมติฐาน และวัดความเร็วลมในแต่ละ grids แล้วจึงคำนวณความเร็วลมเฉลี่ย (V) พื้นที่ของทางเข้าตัวกรอง HEPA (A) เป็นหน่วยฟุต และปริมาตรอากาศทั้งหมด (T) จะคำนวณโดยการคูณความเร็วเฉลี่ยของอากาศและพื้นที่ทางเข้า (T=A×V) จากนั้นเราจะสามารถคำนวณหาปริมาตรของห้องและการไหลเวียนของอากาศต่อชั่วโมงได้ โดยนำค่าการไหลเวียนของอากาศทั้งหมดหารด้วยปริมาตรของห้อง

 

การตรวจสอบตัวกรอง (Filter) 

  • การทดสอบการรั่วไหลของตัวกรอง (Filter leak test)

การทดสอบการรั่วของตัวกรอง HEPA จะวางเครื่องวัดความเร็วลมไว้ด้านหน้าของระบบ AHU เพื่อตรวจสอบความเร็วลม โดยค่าความเร็วลมที่ได้จะต้องอยู่ภายในขีดจำกัดสูงสุด (higher limit) ของตัวกรอง HEPA

  • การทดสอบความสมบูรณ์ของตัวกรอง (Filter integrity test) 

ความสมบูรณ์ของตัวกรอง HEPA ทดสอบได้โดยฉีดอนุภาคที่มีขนาดที่กำหนดไว้ (0.2 um ขึ้นไป) โดยใช้ Aerosol Generator หรือ PAO Generator เพื่อตรวจสอบว่าอนุภาคเหล่านั้นกักเก็บอนุภาคละอองลอย (aerosol particles) ไว้หรือไม่ ทั้งนี้ ตัวกรอง HEPA จะต้องได้รับการทดสอบและตรวจสอบเป็นระยะ (ทุกปี หรือทุก ๆ 2 ปี) ปริมาณของละอองลอยที่พบจะถูกตรวจสอบและบันทึกข้อมูล ตัวกรองที่สมบูรณ์และผ่านเกณฑ์จะต้องตรวจไม่พบร่องรอยของละอองลอยที่ตกค้าง

 

 

การตรวจสอบอนุภาค (Particle) ในห้องคลีนรูม

  • จำนวนอนุภาค การทดสอบอนุภาคที่ไม่มีชีวิต (Particle count-nonviable particle test)

ทดสอบได้โดยใช้ Particle counter ซึ่งการนับอนุภาคในห้องสะอาดจะถูกวัดหลาย ๆ ช่วง ตั้งแต่สภาวะคงที่ก่อนการทำงาน จนถึงสภาวะในการปฏิบัติงานจริง อย่างไรก็ดี จำนวนอนุภาคควรอยู่ภายในช่วงตามมาตรฐานห้องคลีนรูม เรื่องการจำแนกประเภทอนุภาค หรือตาม Clean Room Classifications & ISO Standards 

  • การตรวจสอบอนุภาคที่มีชีวิต (Viable particle monitoring)

ควรทดสอบทุกวันโดยใช้การ Swab Test และการใช้อาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ เพื่อดูการฟักตัวของจุลินทรีย์ และจำนวนจุลินทรีย์ ทั้งนี้ อนุภาคควรอยู่ภายในขอบเขตที่กำหนด เพื่อช่วยประเมินสาเหตุที่แท้จริง และเพื่อการการแก้ไขและป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ 

 

ค่าแตกต่างของความดัน (𝗣𝗿𝗲𝘀𝘀𝘂𝗿𝗲 𝗱𝗶𝗳𝗳𝗲𝗿𝗲𝗻𝗰𝗲)

สามารถคำนวณค่านี้ได้โดยใช้ Manometer ติดกับผนังห้องสะอาดในบริเวณใกล้เคียง โดยปกติแล้วความแตกต่างของแรงดันจะเป็นค่าบวกจากพื้นที่ที่สะอาดที่สุดไปยังพื้นที่สะอาดน้อยกว่าในช่วงแรงดันตั้งแต่ 1-20 mmHg

การทดสอบการคืนค่าหรือการฟื้นตัวของพารามิเตอร์ (Recovery test)

การคืนค่าของอุณหภูมิและความชื้นจะได้รับการตรวจสอบหลังจากสูญเสียสภาวะการทำงานปกติ หรือมีค่าอุณหภูมิ ความดัน ที่เปลี่ยนไป ตัวอย่างเช่น การตรวจสอบความชื้นและอุณหภูมิหลังการปิดระบบ HVAC จากนั้นทำการเปิดระบบ HVAC เพื่อตรวจสอบว่าต้องใช้เวลานานแค่ไหนในการกู้คืนสภาวะที่ตั้งค่าไว้ หรือเวลาที่ต้องใช้ในการรักษาเสถียรภาพของอุณหภูมิและความชื้น

การทดสอบความสม่ำเสมอของอุณหภูมิและความชื้นในห้องคลีนรูม (Temperature and humidity uniformity test) 

ความสม่ำเสมอของอุณหภูมิและความชื้นได้รับการตรวจสอบโดยใช้เครื่องมือที่สามารถปรับแต่งค่าตามต้องการได้ เช่น Data Logger thermocouples, thermometer, RTD, manometer เป็นต้น ทั้งนี้ การออกแบบระบบการทดสอบให้มีการจัดการ Data ที่ดีสามารถช่วยให้ผู้ใช้งานมั่นใจในความเสถียรและประสิทธิภาพของห้องสะอาดได้เป็นอย่างดี

 

การวัดและกำหนดอากาศสะอาด (Fresh air determination)

เราสามารถสังเกตปริมาณอากาศบริสุทธิ์ที่ทางเข้าของ Fresh air damper ในการคำนวณอัตราการหมุนเวียนของอากาศทั้งหมด โดยนำปริมาณอากาศบริสุทธิ์ หรืออากาศสะอาดขาเข้าหารด้วยอัตราการหมุนเวียนของอากาศ (Air Changes) ทั้งหมดในห้อง แล้วคูณด้วย 100 เพื่อให้ได้เปอร์เซ็นต์การรับอากาศสะอาดในแต่ละรอบด้วยระบบ HVAC ในแต่ละห้อง

 

อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบห้องสะอาด (Cleanroom Testing) อาจตรวจสอบทั้งหมดหรือตรวจสอบเฉพาะส่วนตามความเหมาะสม โดยดูที่วัตถุประสงค์ ขอบเขต ความปลอดภัย มาตรฐาน และเงื่อนไขต่าง ๆ ของห้องสะอาด หรือพื้นที่ตั้งของโรงงานนั้น ๆ โดยยึดมาตรฐานห้องคลีนรูม ISO 14644 ซึ่งเป็นข้อกำหนดสากล

 

>> เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรฐานฉบับใหม่ ISO 14644-1 คลิกที่นี่ 

 

หากคุณต้องการออกแบบห้องคลีนรูมให้ได้มาตรฐาน เป็นไปตามข้อกำหนดต่าง ๆ และตอบโจทย์ความต้องการของแต่ละอุตสาหกรรม CAI Engineering ยินดีให้บริการคุณ ทั้งการออกแบบและก่อสร้างอย่างครบวงจร ด้วยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ พร้อมประสบการณ์การออกแบบห้องคลีนรูมทั้งในและต่างประเทศมากกว่า 15 ปี

 

ร่วมเดินหน้าสู่นวัตกรรมการปรับอากาศให้เท่าทันกับโลกอนาคตไปกับเรา

Line OA : @caihvac หรือ Click https://lin.ee/RTsrnHb

E-mail : veeraya@caiengineering.com

Blockdit : https://www.blockdit.com/caiengineering

—–

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ห้องแรงดันบวก VS ห้องแรงดันลบ แตกต่างกันอย่างไร ? สำคัญอย่างไรกับห้องปลอดเชื้อ

ห้องแรงดันบวก VS ห้องแรงดันลบ แตกต่างกันอย่างไร ? สำคัญอย่างไรกับห้องปลอดเชื้อ

มาเข้าใจหลักการทำงานและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างห้องแรงดันบวกและห้องแรงดันลบ ว่าทำไมทั้งสองประเภทจึงมีบทบาทสำคัญในห้องปลอดเชื้อกันกัน

Read More »
Cleanroom 101 : คู่มือปฏิบัติงานสำหรับมือใหม่ในห้องคลีนรูม

Cleanroom 101 : คู่มือปฏิบัติงานสำหรับมือใหม่ในห้องคลีนรูม

คำแนะนำในการทำงานรวมถึงชุดคลีนรูมที่ถูกต้องเพื่อให้ผู้ใช้งานห้องคลีนรูมเข้าใจและปฏิบัติตามมาตรฐานของห้องคลีนรูม (Cleanroom) ได้อย่างถูกต้อง

Read More »

By clicking “Accept”, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts. Privacy Policy

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า