NEBB มาตรฐานความสะอาดของห้องคลีนรูม-CAI

NEBB มาตรฐานความสะอาดของสิ่งแวดล้อมในอาคารที่ต้องรู้

ห้องคลีนรูมเป็นห้องที่จำเป็นจะต้องรักษาความสะอาด และยังต้องสามารถควบคุมปริมาณอนุภาคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ฝุ่นละออง ความชื้น อุณหภูมิ และความดัน ดังนั้นเพื่อให้ห้องคลีนรูมมีคุณภาพ และสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และให้ผู้ใช้งานมีความมั่นใจในความปลอดภัยของห้องคลีนรูม ดังนั้นห้องคลีนรูมควรจะต้องผ่านมาตรฐานรองรับ โดยหนึ่งในมาตรฐานที่จะต้องได้การรองรับ คือ มาตรฐาน NEBB

มาตรฐาน NEBB คืออะไร?

NEBB เป็นมาตรฐานห้องคลีนรูมที่ใช้สำหรับทดสอบและประเมินมาตรฐานความสะอาดของสิ่งแวดล้อมในอาคาร โดย NEBB ย่อมาจาก “National Environmental Balancing Bureau” ก่อตั้งโดยองค์กรของสหรัฐอเมริกาเมื่อปี ค.ศ.1971 ซึ่งเป็นองค์กรที่มีหน้าที่ในการพัฒนามาตรฐานการทดสอบ การตรวจสอบ รวมถึงการปรับสมดุลในระบบพลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ได้ระบบที่มีประสิทธิภาพและเสถียรต่อการใช้งาน ตลอดจนการพัฒนาเครื่องมือสำหรับการวัดและประเมินคุณภาพในระบบสิ่งแวดล้อมและพลังงานอีกด้วย จึงเป็นที่มาของมาตรฐานสากล Federal Standard 209E (FED-STD-209E) ในปี ค.ศ. 1963 และมาตรฐานสากลล่าสุดอย่าง ISO 14644 ได้แก่ มาตรฐาน ISO 14644-1 ว่าด้วย Class หรือ ระดับความสะอาดในห้องคลีนรูม
และมาตรฐาน ISO 14644-2 ว่าด้วยข้อกำหนดในการทดสอบและตรวจสอบมาตรฐานระดับความสะอาดในห้องคลีนรูม

ความสำคัญของมาตรฐาน NEBB ต่อห้องคลีนรูม_CAI

มาตรฐาน NEBB มีความสำคัญอย่างไรต่อห้องคลีนรูม?

มาตรฐาน NEBB ถูกนำมาใช้ให้เป็นมาตรฐานสากล อย่าง ISO 14644 เพื่อให้ห้องคลีนรูมเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งมาตรฐาน ISO 14644 สามารถทดสอบความชื้นสัมพัทธ์ ทดสอบอัตราการไหลของลม ทดสอบอุณหภูมิ ทดสอบการวัดปริมาณฝุ่น นอกจากนี้ NEBB ยังใช้ในการประเมินและทดสอบมาตรฐานความสะอาดของสิ่งแวดล้อมในอาคารในหลาย ๆ ด้าน เช่น

  • HVAC Systems (ระบบปรับอากาศและระบายอากาศ)
  • Building Systems Commissioning (การให้บริการเริ่มต้นระบบในอาคาร)
  • Building Enclosure (ผนังและหลังคาของอาคาร)
  • Sound and Vibration (เสียงและการสั่นสะเทือน)
  • Building Automation Systems (ระบบอัตโนมัติในอาคาร)
  • Cleanrooms (ห้องคลีนรูมสำหรับการผลิต)
  • Retro-Commissioning (การให้บริการเริ่มต้นระบบในอาคารที่มีอยู่แล้ว)
  • Building Performance Testing (การทดสอบความสามารถในการทำงานของอาคาร)

ทั้งนี้ เป้าหมายหลักของมาตรฐาน NEBB คือการให้บริการและทำงานเพื่อให้ระบบที่เกี่ยวข้องกับอาคารและสิ่งแวดล้อมทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และใช้ทรัพยากรพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจว่าระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้

การทดสอบห้องคลีนรูมตามมาตรฐาน NEBB

การทดสอบห้องคลีนรูมตามมาตรฐาน NEBB มีหลายขั้นตอนดังนี้

  1. การวัดการไหลเวียนอากาศ
    เครื่องมือที่ใช้วัดการไหลเวียนของอากาศ มีหลายประเภท ได้แก่ เครื่องวัดแบบใบพัดหมุน ใช้สำหรับวัดความเร็วลมและการไหลเชิงปริมาตร และเครื่องวัดความเร็วของลม ใช้อัลตราซาวด์หรือลวดตัวต้านทานเพื่อวัดการถ่ายโอนพลังงานระหว่างอุปกรณ์ตรวจวัดและอนุภาคที่ผ่าน
  2. การทดสอบการรั่วไหลของตัวกรอง
    การทดสอบการรั่วไหลของตัวกรอง จำนวนอนุภาคเมื่อเทียบเป็นเปอร์เซนต์จะต้องไม่เกิน 0.01 % จึงจะถือว่าผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐาน ISO 14644-3 ทำได้โดยการสร้างอนุภาคจำนวนหนึ่งเข้าไปในระบบระบายอากาศ จนเกิดความแตกต่างระหว่างหน้าแผ่นกรองอากาศ กับหลังแผ่นกรองอากาศ
  3. การวัดค่าอนุภาคในอากาศ
    การวัดค่าอนุภาคในอากาศสามารถทำได้โดยการทดสอบการรั่วไหลของแผ่นกรองและการทดสอบอากาศที่ไหลเข้าสู่ห้องคลีนรูมผ่านตัวกรอง จากนั้นจึงทดสอบค่าความดันและการไหลเวียนอากาศก่อนทำการทดสอบสภาวะฝุ่นในห้องคลีนรูมโดยอ้างอิงจากค่ามาตรฐานใน ISO 14644-1
  4. การวัดค่าแรงดัน
    การวัดค่าแรงดันเพื่อทดสอบการควบคุมความดันของระบบหมุนเวียนอากาศในห้องคลีนรูมและบริเวณใกล้เคียง โดยการทดสอบจะใช้วิธีการวัดและบันทึกค่าความแตกต่างของค่าความดันสัมพัทธ์ (Relative Pressure Differential) ระหว่างภายในห้องคลีนรูมและบริเวณโดยรอบ หรือตามลำดับพื้นที่ที่ต้องการความสะอาดมากที่สุด
  5. การวัดค่าหมุนเวียนอากาศ
    การตรวจสอบทิศทางการไหลของของกระแสลมที่หมุนเวียนเข้าห้องคลีนรูม (Supply Air)ใช้วิธีการวัดและบันทึกค่าการไหลของอากาศแบบ Parallel Vertical Flow Path โดยแบ่งห้องคลีนรูมเป็นช่อง (พื้นที่ช่องสูงสุด 3×3 เมตร) และทำการวัดค่าบริเวณตรงกลางของห้องคลีนรูมแต่ละช่อง
  6. การทดสอบการฟื้นตัว
    การทดสอบการฟื้นตัวเป็นการทดสอบความสามารถในคืนค่าความสะอาดของระบบหมุนเวียนอากาศในห้องคลีนรูมหลังจากมีการปนเปื้อนเชื้อโรคหรือฝุ่น โดยจะต้องทำการวัดค่าฝุ่นในแรกของการใช้ห้องคลีนรูมและใส่อนุภาคเข้าไปในอากาศ จากนั้นจึงบันทึกเวลาในการคืนค่าความสะอาดในห้องคลีนรูม
  7. การทดสอบระดับแสง
    การทดสอบระดับแสงตามมาตรฐาน NEBB สามารถใช้ Light meter ในการวัดค่าได้ โดยอ้างอิงตามมาตรฐานประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้แก่
    – Working area เหมาะสมสำหรับ luminance 500 – 1000
    – Lux Generally area เหมาะสมสำหรับ luminance 200 – 300 Lux
  8. การทดสอบระดับเสียง
    โดยทั่วไปจะใช้เครื่องมือวัด ที่เรียกว่า Sound Check Meter หากทำงานเป็นระยะเวลา 8-12 ชั่วโมง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ เพราะฉะนั้นจะทำการลดระดับเสียงซึ่งจะเฉลี่ยอยู่ที่ 85-90 เดซิเบล
  9. การทดสอบการสั่นสะเทือน
    การทดสอบการสั่นสะเทือนเพื่อประเมินค่าแรงสั่นสะเทือนจากกิจกรรมในห้องคลีนรูมโดยจะทำการวัดและบันทึกค่าแรงสั่นสะเทือนของเครื่องจักร ความเร็วในการสั่นสะเทือน และการเร่งความเร็ว
  10. การตรวจสอบความสม่ำเสมอของอุณหภูมิและความชื้น
    การตรวจสอบความสามารถในการรองรับและควบคุมอุณหภูมิและความชื้น รวมถึงความสม่ำเสมอของสภาพแวดล้อมภายในห้องคลีนรูม โดยจะตรวจสอบตามตำแหน่งที่กำหนด การระบายอากาศของระบบ HVAC การไหลเวียนของอากาศ การวัดอุณหภูมิและความชื้นเป็นระยะ
  11. การตรวจสอบไฟฟ้าสถิต
    การทดสอบเพื่อวัดความหนาแน่นของประจุบวกและประจุลบในห้องคลีนรูม โดยจะทำการวัดระดับพื้นผิวแรงดันไฟฟ้า การทดสอบการกระจายตัวของไฟฟ้าสถิต การทดสอบด้วยเครื่องกำเนิดไอออน และการทดสอบแรงดันไฟฟ้าแบบ Offset ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตกลงกันของผู้สร้างและองค์กรที่รับตรวจสอบตามมาตรฐาน NEBB
  12. การทดสอบการนำไฟฟ้า
    การทดสอบการนำไฟฟ้าเพื่อวัดค่าความต้านทานของพื้นผิวอาคาร โดยสามารถทดสอบได้ด้วยวิธี Tile-to-Tile หรือ Floor-to-Building Ground (สำหรับพื้นยก)
  13. การทดสอบการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า
    การทดสอบการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากระดับสนามแม่เหล็ก 60 Hz ในห้องคลีนรูม โดยจะทำการวัดและบันทึกค่าความเข้มของสนามแม่เหล็ก โดยค่าที่ยอมรับได้จะต้องน้อยกว่า 1 milligauss

อ่านต่อ : ห้องคลีนรูมสามารถควบคุมปัจจัยอะไรได้บ้าง

สร้างห้องคลีนรูมมาตรฐาน NEBB กับ CAI

สร้างห้องคลีนรูมมาตรฐานสากลกับ CAI Engineering

CAI Engineering ผู้นำในด้านการออกแบบและสร้างห้องคลีนรูมให้ได้ตรงตามมาตรฐานทั้ง GMP pic/s, ISO 14644 และ NEBB โดยวิศวกรมากประสบการณ์ในด้านระบบปรับอากาศ รวมถึงอำนวยความสะดวกหลังการปิดโครงการด้วยการมีวิศวกรผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลตลอด 24 ชั่วโมง ผ่าน Line OA : @caihvac หรือ https://lin.ee/RTsrnHb

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ห้องแรงดันบวก VS ห้องแรงดันลบ แตกต่างกันอย่างไร ? สำคัญอย่างไรกับห้องปลอดเชื้อ

ห้องแรงดันบวก VS ห้องแรงดันลบ แตกต่างกันอย่างไร ? สำคัญอย่างไรกับห้องปลอดเชื้อ

มาเข้าใจหลักการทำงานและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างห้องแรงดันบวกและห้องแรงดันลบ ว่าทำไมทั้งสองประเภทจึงมีบทบาทสำคัญในห้องปลอดเชื้อกันกัน

Read More »
Cleanroom 101 : คู่มือปฏิบัติงานสำหรับมือใหม่ในห้องคลีนรูม

Cleanroom 101 : คู่มือปฏิบัติงานสำหรับมือใหม่ในห้องคลีนรูม

คำแนะนำในการทำงานรวมถึงชุดคลีนรูมที่ถูกต้องเพื่อให้ผู้ใช้งานห้องคลีนรูมเข้าใจและปฏิบัติตามมาตรฐานของห้องคลีนรูม (Cleanroom) ได้อย่างถูกต้อง

Read More »

By clicking “Accept”, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts. Privacy Policy

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า