รู้หรือไม่? คนที่ออกกำลังกายเป็นประจำ หมั่นดูแลสุขภาพอยู่เสมอ และไม่สูบบุหรี่ ก็มีโอกาสป่วยเป็นมะเร็งปอดได้! เพราะนอกจากควันบุหรี่แล้ว ยังมีก๊าซอีกชนิดหนึ่งที่เป็นสารพิษรุนแรง และทำอันตรายปอดของคุณได้ไม่แพ้กัน ก๊าซชนิดนั้นมีชื่อว่า “ก๊าซเรดอน (Radon)” ครับ
ก๊าซเรดอน คืออะไร?
ก๊าซเรดอน (Radon) คือก๊าซกัมมันตภาพรังสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี และคุณจะไม่สามารถรับรู้ถึงการมีอยู่ของก๊าซชนิดนี้ผ่านประสาทสัมผัสใด ๆ ได้ ปัจจุบันก๊าซเรดอนกำลังอยู่ในความสนใจของนักวิชาการ เนื่องจากมีการค้นพบว่าก๊าซเดรอนจัดเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดในมนุษย์ โดยเป็นอันดับสองรองจากบุหรี่ เฉพาะในอเมริกา มีผู้เสียชีวิตจากก๊าซเรดอนมากถึง 5,000 – 20,000 รายต่อปี นอกจากนี้ องค์กรระหว่างประเทศเพื่อการวิจัยมะเร็ง (IARC) ยังยืนว่า ก๊าซเรดอนสามารถก่อมะเร็งได้ทั้งในมนุษย์และในสัตว์อีกด้วย
ทำไม ก๊าซเรดอน จึงเป็นสารอันตราย?
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ หลายท่านคงสงสัยว่าทำไมก๊าซชนิดนี้ถึงเป็นสารอันตราย คำตอบก็คือก๊าซเรดอนเกิดจากการสลายตัวของแร่เรเดียม ซึ่งพบในหินและดินทั่วพื้นโลก เมื่อมนุษย์ขุดหินและดินขึ้นมาเพื่อใช้ในการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ก๊าซเรดอนที่แฝงมากับวัสดุเหล่านั้นก็จะเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ จากนั้นจะสลายตัวและปล่อยรังสีพลังงานสูงออกมาทำลายเซลล์เยื่อบุทางเดินหายใจ และกลายเป็นมะเร็งนั่นเอง
ก๊าซเรดอน ภัยเงียบในอาคาร
ดังที่เราได้กล่าวไว้ข้างต้น ก๊าซเรดอนมักพบได้ในดินและหิน ซึ่งถูกนำไปใช้เป็นวัสดุในก่อสร้างอาคาร ดังนั้น ในขณะที่มนุษย์กำลังทำกิจกรรมต่าง ๆ ในอาคาร ก็อาจจะสูดเอาก๊าซเรดอนเข้าสู่ปอดโดยไม่รู้ตัวก็เป็นได้ ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการป้องกันอันตรายจากรังสี (ICRP) จึงแนะนำให้มีการกำหนดมาตรฐานเพื่อควบคุมปริมาณก๊าซเรดอนขึ้น และเสนอให้มีการกำหนด Reference Level เพื่อใช้เป็นเกณฑ์โดยเฉลี่ย ปัจจุบัน สหรัฐอเมริกาได้กำหนดมาตรฐานความเข้มข้นของก๊าซเรดอนในอาคารให้มีค่าต่ำกว่า 4pCi ต่อ 1 ลิตรของอากาศ อย่างไรก็ดี ระดับอ้างอิงเหล่านี้ยังเป็นเพียงข้อแนะนำเท่านั้น ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติจริงของแต่ละประเทศ และอันที่จริงแล้ว ก็ยังไม่มีใครยืนยันได้ว่าต้องควบคุมก๊าซเรดอนให้มีปริมาณเท่าใด จึงจะอยู่ในระดับที่ปลอดภัยจริง ๆ
สำหรับประเทศไทย พบว่ามีการกระจายตัวของก๊าซเรดอนที่เป็นสารก่อมะเร็งประมาณ 20 จังหวัดทั่วประเทศ ทั้งภาคเหนือและภาคใต้ ทั้งนี้ ยังไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐานความเข้มข้นของก๊าซเรดอนที่เหมาะสมกับประเทศไทย และโดยทั่วไปยังกำหนดให้ใช้มาตรฐานความเข้มข้นของก๊าซเรดอนของสหรัฐอเมริกา
หลักการห้องคลีนรูม ช่วยควบคุมปริมาณก๊าซเรดอนได้อย่างไร?
การควบคุมปริมาณก๊าซเรดอนให้ลดลงสามารถทำได้หลายวิธี โดยวิธีหนึ่งคือการอัดความดันและเจือจางอากาศในอาคาร โดยการเติมอากาศเข้าไปเพื่อให้ความดันภายในอาคารสูงกว่าภายนอกอาคาร ซึ่งวิธีนี้จะต้องใช้ระบบ HVAC เข้าช่วย เมื่อทำให้ความดันภายในสูงกว่าภายนอกได้สำเร็จแล้ว ก็จะสามารถป้องกันไม่ให้ก๊าซเรดอนไหลเข้าสู่ตัวอาคารได้
หากคุณต้องการออกแบบห้องคลีนรูมให้ได้มาตรฐาน เป็นไปตามข้อกำหนดต่าง ๆ และตอบโจทย์ความต้องการของแต่ละอุตสาหกรรม CAI Engineering ยินดีให้บริการคุณ ทั้งการออกแบบและก่อสร้างอย่างครบวงจร ด้วยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ พร้อมประสบการณ์การออกแบบห้องคลีนรูม และ คลีนรูมโรงงาน ทั้งในและต่างประเทศมากกว่า 15 ปี
ขอบคุณข้อมูลจาก:
เรดอน มหันตภัยเงียบในอาคาร โดย ธัชพงศ์ ศรีสุวรรณ
และวารสารข่าวสารมะเร็งเชิงรุก โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ
ร่วมเดินหน้าสู่นวัตกรรมการปรับอากาศให้เท่าทันกับโลกอนาคตไปกับเรา
Line OA : @caihvac หรือ Click https://lin.ee/RTsrnHb
E-mail : veeraya@caiengineering.com
Website: www.caiengineering.com