ระบบ EMS นวัตกรรมบริหารจัดการพลังงานใน Smart Building

ระบบ EMS นวัตกรรมบริหารจัดการพลังงานใน Smart Building

ระบบจัดการด้านพลังงาน หรือ EMS เป็นส่วนหนึ่งของ Smart Building เป็นระบบการจัดการพลังงานในอาคาร ซึ่งเป็นระบบอัตโนมัติที่จะช่วยบริหารจัดการพลังงาน เช่น การจัดการอาคารสถานที่ การจัดการระบบสาธารณูปโภค หรือระบบผลิตความเย็นจากส่วนกลางให้มีประสิทธิภาพสูงสุด แต่ใช้พลังงานน้อยที่สุด โดยเป็นตัวช่วยสำคัญในการช่วยประหยัดพลังงานภายในอาคารที่ไม่ทำให้ความสามารถในการทำงานหรือผลิตภาพ (Productivity) ลดลง รวมถึงไม่เกิดผลเสียต่อผู้ใช้งานอาคารอีกด้วย 

ระบบ EMS (Energy Management System) คืออะไร?

ระบบ EMS (Energy Management System) คืออะไร?

ระบบการจัดการพลังงาน (Energy Management System) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า EMS คือระบบอัตโนมัติที่นำเข้ามาใช้ในการควบคุมการผลิต การส่งพลังงาน และยังรวมถึงการใช้พลังงานให้เหมาะสม เป็นการนำนวัตกรรมต่าง ๆ มาทำงานร่วมกันผ่านระบบ IT ซึ่งประกอบไปด้วย การตรวจติดตาม (Monitoring) การวิเคราะห์ (Analysis) และการตอบสนอง (Response) เพื่อช่วยให้สามารถดูข้อมูลภาพรวมของการทำงาน และการปรับปรุงประสิทธิภาพให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

โดยการทำงานของระบบ EMS สามารถแบ่งตามสถานที่ติดตั้งต่าง ๆ ได้เป็น 3 ระบบ ดังนี้

  • HEMS: Home Energy Management System เป็นระบบบริหารจัดการพลังงานในบ้านเรือน โดยการเชื่อมโยงอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าร่วมกับระบบต่าง ๆ ในบ้านภายใต้การควบคุมส่วนกลางผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ อย่างเช่น  สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต เป็นต้น 
  • BEMS: Building Energy Management System เป็นระบบบริหารจัดการพลังงานในอาคาร ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับระบบ HEMS ในเชิงวัตถุประสงค์การใช้งานและหลักการทำงาน เพียงแต่มีจุดตรวจสอบและควบคุมมากกว่า โดยทั่วไปอาคารพาณิชย์ในประเทศไทยมักใช้ร่วมกับระบบที่ใช้งานพลังงานไฟฟ้า เช่น ระบบควบคุมแสงสว่างภายในอาคาร หรือระบบปรับอากาศ ระบบทำความร้อนและระบายอากาศ (Heating, Ventilation, and Air Conditioning: HVAC) เป็นต้น 
  • FEMS: Factory Energy Management System  เป็นระบบบริหารจัดการพลังงานในโรงงาน สำหรับการควบคุมการผลิต กระบวนการผลิตของโรงงาน รวมไปถึงการซื้อขายและการส่งจำหน่าย โดยจำเป็นต้องทำงานร่วมกับระบบควบคุมของโรงงานเดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งมีความซับซ้อนมากกว่าแบบ BEMS หรือ HEMS จึงต้องมีความเข้าใจเรื่องการใช้พลังงานในโรงงานอย่างลึกซึ้ง เพื่อเพิ่มความสามารถในด้านการบริหารจัดการพลังงานตลอดจนกลายเป็น Smart Factory ได้ในอนาคต 

นวัตกรรมในระบบ EMS สำหรับอาคารอัจฉริยะ

นวัตกรรมที่มักถูกใช้ในระบบ EMS สำหรับ Smart Building เช่น การใช้งานระบบ IoT (Internet of Things), อุปกรณ์ตรวจวัด (Sensor), สมาร์ทมิเตอร์ (Smart Meter), ระบบควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าอัตโนมัติ (Actuator หรือ Controller), ระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศ (Information Technology: IT), ระบบจดจำป้ายทะเบียน  และบริหารลานจอดรถอัจฉริยะ (LPR & Parking Management) และระบบการควบคุมการเข้าออกของอาคาร (Access Control) เป็นต้น โดยมีการประสานการทำงานร่วมกัน หรือติดตั้งร่วมกันเพื่อการบริหารจัดการการใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงการลดการใช้พลังงานให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะไม่ทำให้ความสามารถในการทำงานของอาคารต้องเสียหายหรือประสิทธิภาพลดลง

ประโยชน์ของระบบการจัดการพลังงาน (EMS)

ประโยชน์ในการนำระบบ EMS เข้ามาประยุกต์ใช้ใน Smart Building มีดังนี้ เช่น ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน 5-10% ทันที และสามารถวางแผนลดต้นทุนด้านพลังงานในระยะยาวมากกว่า 50% รวมถึงยังสามารถลดต้นทุนการดำเนินงาน และยังลดความยุ่งยากและระยะเวลาในการดำเนินการ โดยการ ตรวจสอบ วิเคราะห์ และมอนิเตอร์แบบเรียลไทม์ด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพื่อจุดประสงค์หลักในการเพิ่มการประหยัดพลังงาน และสร้างรูปแบบการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน เพื่อรองรับพลังงานสีเขียว หรือ Green Technology และยังช่วยยกระดับสู่เส้นทางอาคาร Net Zero Energy Building ไปพร้อม ๆ กันได้อีกด้วย

บูรณาการระบบ EMS เพิ่มประสิทธิภาพด้านจัดการพลังงาน

การออกแบบการทำงานร่วมกันระหว่างระบบต่าง ๆ เช่น การวิเคราะห์และการออกแบบระบบการจัดการด้านพลังงาน (EMS), ระบบบริหารจัดการอาคาร (BMS) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดการด้านพลังงาน, การควบคุมจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานในอาคาร, การวิเคราะห์และการออกแบบระบบการจัดการพลังงาน (EMS) ที่ผสานรวมกับ loT เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานแบบเรียลไทม์ ซึ่งสามารถตรวจสอบและควบคุม  ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย

จัดการทรัพยากรและใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดไปกับ CAI

CAI Engineering รับออกแบบสร้างห้องคลีนรูมแบบครบวงจรในภาคอุตสาหกรรม รวมถึงเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยี โดยการนำประโยชน์ของเทคโนโลยีชนิดต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้กับระบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น BIM, BAS , EMS และเทคโนโลยี AR, MR เพื่อให้เกิดการจัดการทรัพยากรและใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ตลอดจนเกิดความปลอดภัยในการดำเนินงาน และความสะดวกของผู้ใช้งาน เพื่อให้อุตสาหกรรมในประเทศไทยก้าวสู่โลกแห่งอุตสาหกรรม 4.0 และความเป็น Net Zero ในระดับสากล

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ห้องแรงดันบวก VS ห้องแรงดันลบ แตกต่างกันอย่างไร ? สำคัญอย่างไรกับห้องปลอดเชื้อ

ห้องแรงดันบวก VS ห้องแรงดันลบ แตกต่างกันอย่างไร ? สำคัญอย่างไรกับห้องปลอดเชื้อ

มาเข้าใจหลักการทำงานและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างห้องแรงดันบวกและห้องแรงดันลบ ว่าทำไมทั้งสองประเภทจึงมีบทบาทสำคัญในห้องปลอดเชื้อกันกัน

Read More »
Cleanroom 101 : คู่มือปฏิบัติงานสำหรับมือใหม่ในห้องคลีนรูม

Cleanroom 101 : คู่มือปฏิบัติงานสำหรับมือใหม่ในห้องคลีนรูม

คำแนะนำในการทำงานรวมถึงชุดคลีนรูมที่ถูกต้องเพื่อให้ผู้ใช้งานห้องคลีนรูมเข้าใจและปฏิบัติตามมาตรฐานของห้องคลีนรูม (Cleanroom) ได้อย่างถูกต้อง

Read More »

By clicking “Accept”, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts. Privacy Policy

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า