การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI เพื่อเป้าหมายการลดคาร์บอนอย่างยั่งยืน

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI เพื่อเป้าหมายการลดคาร์บอนอย่างยั่งยืน

การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไปในบรรยากาศมีผลกระทบที่สำคัญต่อสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากเป็นสาเหตุหลักของการเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีผลในการกระตุ้นการกระจายความร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก เช่น การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล หรือภัยแล้ง นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงนี้ยังสามารถทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและต่อสุขภาพมนุษย์ได้ อีกทั้งยังก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ อย่างปัญหาด้านสุขภาพ ปัญหาความมั่นคงทางอาหาร จนถึงปัญหาทางเศรษฐกิจร่วมอีกด้วย 

จึงทำให้หลายประเทศทั่วโลกได้มีการกำหนดเป้าหมายในการลดคาร์บอนเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) โดยการนำ “เทคโนโลยี AI” มาประยุกต์ใช้เพื่อจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในหลายแง่มุมเพื่อมุ่งสู่ Net Zero ในอนาคตได้อย่างยั่งยืน

เทคโนโลยี AI ช่วยลดคาร์บอนได้อย่างไร?

เทคโนโลยี AI ช่วยลดคาร์บอนได้อย่างไร?

AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) คือ การพัฒนาโปรแกรมหรือระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานหรือจำลองศักยภาพความคิดของมนุษย์ได้ โดยใช้การเรียนรู้และประมวลผลข้อมูล ส่วนของ AI ประกอบไปด้วย Machine Learning (การเรียนรู้ของเครื่อง) Neural Networks (เครือข่ายประสาทเทียม) Natural Language Processing (การประมวลผลภาษาธรรมชาติ) และอื่น ๆ ซึ่งมีการใช้งานหลากหลายในสาขาต่าง ๆ เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล การรับรู้และจดจำรูปภาพ หรือการแปลภาษา 

โดยบทบาทสำคัญในการนำเทคโนโลยี AI มาใช้เพื่อจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมและการลดคาร์บอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีดังนี้

  1. การวิเคราะห์ข้อมูลสภาพภูมิอากาศ: AI สามารถวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่จากเซ็นเซอร์ต่าง ๆ เพื่อทำนายแนวโน้มสภาพภูมิอากาศและเตือนภัยทางสิ่งแวดล้อม
  2. การจัดการพลังงาน: AI สามารถช่วยในการจัดการการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการวิเคราะห์และปรับปรุงกระบวนการทางอุตสาหกรรม
  3. การตรวจจับและควบคุมการปล่อยมลพิษ: ระบบ AI สามารถใช้เทคโนโลยีเซ็นเซอร์และการเรียนรู้ของเครื่องเพื่อตรวจจับและลดการปล่อยสารมลพิษได้
  4. การคาดการณ์และการจัดการน้ำ: AI สามารถช่วยในการคาดการณ์ภัยน้ำท่วมและการจัดการการใช้น้ำในระบบที่มีประสิทธิภาพ
  5. การพัฒนาเทคโนโลยีสีเขียว: ช่วยในการวิเคราะห์และพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ AI เพื่อการลดโลกร้อน

องค์กรจากทั่วโลกต่างเริ่มมีการนำ AI มาปรับใช้เพื่อจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมภายในองค์กรและส่วนรวม โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อการลดโลกร้อนและลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก  เช่น อาคารสินธร วิลเลจ และอาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นต้น

1. บริษัทเอสซีจี และ สยามสินธร พัฒนาอาคารสินธร วิลเลจ เป็นอาคารเขียว (Green Building) อาคารอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เป็นอาคารที่ได้ผ่านการรับรองมาตรฐาน LEED ด้วยคุณสมบัติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และยังใส่ใจเรื่องคุณภาพอากาศเป็นพิเศษ ด้วยการทดสอบคุณภาพอากาศของทุกห้องพักด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ให้เป็นไปตาม WELL Standard

อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

2. อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นอาคารที่มีความทันสมัย คำนึงถึงการประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการวางรูปแบบอาคารในบริเวณทางเข้าอาคาร มีพื้นที่ปรับอากาศภายในอาคาร และออกแบบให้มีพื้นที่กั้นอากาศร้อน ที่ใช้ประตูหมุน Revolving Doors กักอากาศร้อนและความชื้นจากภายนอกไม่ให้เข้าสู่พื้นที่ปรับอากาศภายในอาคาร และยังสามารถลดการสูญเสียความเย็นอีกด้วย

ข้อมูลอ้างอิง: Green Network

AI ตัวช่วยบรรลุเป้าหมาย Net Zero ในอนาคตอย่างยั่งยืน

AI มีศักยภาพที่จะพัฒนาและนำมาใช้เพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในอนาคต โดยเป้าหมายของ Net Zero คือการทำให้ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ทั้งหมดจากกิจกรรมมนุษย์ เทียบกับประมาณการลดหรือชดเชยการปล่อยนั้นเป็นศูนย์ หรือเทียบเท่ากัน ซึ่งทำให้ไม่มีการเพิ่มปริมาณ GHG ในบรรยากาศ 

ซึ่งในทางการเมืองและธุรกิจ Net Zero บ่งชี้ว่าประมาณการ GHG ที่ปล่อยออกไปจะถูกชดเชยหรือลดลงถึงศูนย์ โดยทั่วไปจะมีการใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น การปลูกต้นไม้ หรือการลงทุนในโครงการที่ผลิตพลังงานสีเขียวเพื่อชดเชยปริมาณ GHG ที่ปล่อยไป

การทำ Net Zero มีความสำคัญมากในการรักษาความสมดุลระหว่างการพัฒนาและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อทำให้ Net Zero เกิดขึ้นได้จริง 

โดยการใช้ AI เพื่อลดปริมาณ GHG (ก๊าซเรือนกระจก) มีหลายวิธีที่มีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานและลดผลกระทบส่งผลต่อสภาพแวดล้อม เช่น 

  1. การจัดการพลังงาน: โดยการใช้ AI เพื่อวิเคราะห์และปรับปรุงการใช้พลังงานในอุตสาหกรรม โดยการตรวจสอบและประเมินปริมาณพลังงานที่ใช้ในกระบวนการต่าง ๆ และแนะนำวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น 
  2. การจราจรและขนส่ง: ใช้ AI เพื่อจัดการการจราจรและการขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ระบบจราจรอัจฉริยะที่ช่วยลดอุบัติเหตุและลดการปล่อย GHG จากยานพาหนะ ให้เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้กระบวนการต่าง ๆ มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด 

มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ไปกับ CAI Engineering

CAI Engineering ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงปัญหาโลกร้อนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบัน ดังนั้นเราขอเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันเป้าหมาย NET Zero ด้วยการนำเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้ในการสร้างห้องคลีนรูม ตั้งแต่การออกแบบ ไปจนถึงการใช้งานห้องคลีนรูม เช่น เทคโนโลยี BIM, BAS และ Hololens เพื่อทำให้การจัดการภายในอาคารมีประสิทธิภาพมากที่สุด อำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้งานและยังช่วยในด้านของการประหยัดพลังงาน และลดต้นทุนแก่ผู้ประกอบการได้อีกด้วย เพราะรักษ์โลกและตอบโจทย์ผู้ใช้งานไปพร้อม ๆ กัน ต้องสร้างห้องคลีนรูมกับ CAI Engineerin

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ห้องแรงดันบวก VS ห้องแรงดันลบ แตกต่างกันอย่างไร ? สำคัญอย่างไรกับห้องปลอดเชื้อ

ห้องแรงดันบวก VS ห้องแรงดันลบ แตกต่างกันอย่างไร ? สำคัญอย่างไรกับห้องปลอดเชื้อ

มาเข้าใจหลักการทำงานและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างห้องแรงดันบวกและห้องแรงดันลบ ว่าทำไมทั้งสองประเภทจึงมีบทบาทสำคัญในห้องปลอดเชื้อกันกัน

Read More »
Cleanroom 101 : คู่มือปฏิบัติงานสำหรับมือใหม่ในห้องคลีนรูม

Cleanroom 101 : คู่มือปฏิบัติงานสำหรับมือใหม่ในห้องคลีนรูม

คำแนะนำในการทำงานรวมถึงชุดคลีนรูมที่ถูกต้องเพื่อให้ผู้ใช้งานห้องคลีนรูมเข้าใจและปฏิบัติตามมาตรฐานของห้องคลีนรูม (Cleanroom) ได้อย่างถูกต้อง

Read More »

By clicking “Accept”, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts. Privacy Policy

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า