Green Building อาคารสีเขียวเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน

Green Building อาคารสีเขียวเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน

ด้วยผลกระทบของการก่อสร้างอาคารที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นด้านทรัพยากรพลังงาน ในการก่อสร้างที่ต้องใช้แหล่งพลังงานจำนวนมากทำให้เกิดคาร์บอนเพิ่มขึ้น หรือการใช้ระบบปรับอากาศ HVAC ในอาคารที่มีการใช้พลังงานมากในการรักษาอุณหภูมิและความสะอาดภายในอาคาร ด้านวัสดุก่อสร้างและขยะที่ทำให้มีขยะมลพิษเพิ่มมากขึ้น หรือแม้กระทั่งด้านสิ่งแวดล้อมภายในอาคารที่ส่งผลเสียต่อปัญหาสุขภาพและบรรยากาศในการทำงานของผู้ใช้งาน และปัญหาด้านอื่น ๆ อีกมากมายที่ทำให้สิ่งแวดล้อมโดนทำลายจากการสร้างและใช้งานอาคาร

จึงทำให้เกิดแนวคิด “อาคารสีเขียว” ที่มีส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ ตลอดจนช่วยลดปัญหาขยะ มลพิษ และการทำลายสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงช่วยปกป้องสุขภาพและส่งเสริมความสามารถในการทำงานของผู้ใช้งานในอาคารอีกด้วย

Green Building คืออะไร?

Green Building หรือ อาคารสีเขียว คือ การออกแบบและก่อสร้างอาคารโดยให้ความสำคัญกับปัจจัยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้วัสดุที่มีประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงาน ระบบผลิตไฟฟ้าทดแทน การจัดการน้ำ และการใช้ทรัพยากรที่ยั่งยืน เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีต่อผู้ใช้งานและชุมชน โดยเป้าหมายหลักของ Green building คือการสร้างอาคารที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด พร้อมสร้างสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์และมีความยั่งยืน

การออกแบบและการสร้าง Green Building

การออกแบบและการสร้าง Green Building

การสร้างอาคารทั่วไปต่างจากการสร้างอาคารสีเขียว เนื่องจากการสร้างอาคารสีเขียวเป็นการก่อสร้างอาคารที่ต้องคำนึงถึงการใช้ทรัพยากร พลังงาน และสิ่งแวดล้อมได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ตั้งแต่การออกแบบ การเลือกพื้นที่ การเลือกวัสดุ การก่อสร้าง ตลอดจนการใช้งานอาคาร เพื่อช่วยอนุรักษ์พลังงาน รวมทั้งลดปัญหาสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ใช้อาคารอีกด้วย

หลักการออกแบบ Green Building

หลักการออกแบบอาคารสีเขียวต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ เช่น พื้นที่ วัสดุก่อสร้าง ระบบต่าง ๆ ในอาคาร ผู้ใช้พื้นที่ การใช้ทรัพยากรภายในอาคาร และของเสียที่ปลดปล่อยจากอาคาร เพื่อให้อาคารนั้นมีการลดการใช้พลังงานและใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้มีความยั่งยืน

การก่อสร้างและการเลือกใช้วัสดุ

การควบคุมการก่อสร้างอาคารตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการนั้น จะต้องคำนึงถึงการใช้งานทรัพยากรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด และการเลือกใช้วัสดุในการก่อสร้างอาคารสีเขียวจะต้องเลือกวัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผลิตจากวัสดุรีไซเคิลหรือวัสดุที่หมุนเวียนได้ ฯลฯ รวมไปถึงการคำนวณปริมาณวัสดุที่ใช้อย่างแม่นยำ เพื่อไม่ให้มี Waste Product เกิดขึ้น

การใช้งานอาคาร

ผู้ใช้งานอาคารสามารถมีส่วนร่วมในการส่งเสริมอาคารสีเขียวได้ เช่น การช่วยกันสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีภายในอาคาร จัดการของเสีย คัดแยกขยะ ร่วมกันประหยัดการใช้พลังงานในอาคาร อย่างเช่น การใช้งานระบบปรับอากาศ การใช้น้ำ พลังงานไฟฟ้า เป็นต้น

การดูแลรักษาอาคารสีเขียว

การบำรุงรักษาอาคารสีเขียวมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงานและความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการตรวจเช็คระบบต่าง ๆ ของอาคารและการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ เช่น ระบบปรับอากาศ ระบบไฟฟ้า ระบบน้ำ ระบบสุขาภิบาล เป็นต้น รวมถึงมีการจัดการของเสียในอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ข้อดีของอาคารสีเขียว

การสร้างอาคารสีเขียว สามารถสร้างประโยชน์ให้เจ้าของโครงการและผู้ใช้งานอาคาร รวมไปถึงสิ่งแวดล้อม โดยมีข้อดีในการสร้างอาคารสีเขียว ดังนี้

  1. ประหยัดพลังงาน: ลดการใช้พลังงานผ่านการใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ เช่น การใช้ระบบบริหารจัดการอาคารเข้ามาช่วยในการเปิด-ปิดระบบปรับอากาศ 
  2. ลดการใช้วัสดุที่ทำลายสิ่งแวดล้อม: การใช้วัสดุให้มีประสิทธิภาพและสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  3. การจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ: เนื่องจากการเลือกใช้ระบบที่มีการออกแบบให้มีการประหยัดน้ำ
  4. คุณภาพอากาศที่ดี: การใช้ระบบระบายอากาศที่มีประสิทธิภาพ และการใช้อุปกรณ์ปรับอากาศที่ได้รับการรองรับมาตรฐาน
  5. ปรับใช้ทรัพยากรที่ยั่งยืน: มีการใช้ทรัพยากรที่สามารถยั่งยืนได้ในระยะยาว เช่น การลดการใช้วัสดุที่ทำลายสิ่งแวดล้อม
  6. ความสะดวกสบายและสุขภาพ: การออกแบบระบบต่าง ๆ ในอาคารนั้น จะต้องให้ความสำคัญกับความสะดวกสบายและสุขภาพของผู้ใช้
  7.  การลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว: อาคารสีเขียวมักมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่ต่ำลงในระยะยาว เช่น ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา การใช้พลังงาน และค่าใช้จ่ายทั่วไป
LEED มาตรฐานการประเมินอาคารสีเขียว

LEED มาตรฐานการประเมินอาคารสีเขียว

มาตรฐาน LEED หรือมีชื่อเต็มว่า Leadership in Energy & Environmental Design คือมาตรฐานการรับรองที่ให้กับอาคารและโครงการก่อสร้างที่มุ่งเน้นการออกแบบและก่อสร้างให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยมีการวัดและให้คะแนนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหลายด้าน 

หลักเกณฑ์ในการประเมินอาคารสีเขียว LEED

  • สถานที่ตั้งโครงการเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Site) : ต้องสามารถป้องกันมลภาวะจากการก่อสร้างได้ 
  • การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ (Water Efficiency) : ลดการใช้น้ำในอาคารลง 20% เมื่อเทียบกับอาคารทั่วไป
  • พลังงานและบรรยากาศ (Energy and Atmosphere) : มีการทดสอบการทำงานของระบบในอาคาร และไม่ใช้สารทำความเย็นในระบบปรับอากาศ
  • วัสดุและทรัพยากร (Material and Resources) : มีห้องเก็บวัสดุเหลือทิ้ง
  • คุณภาพสภาพแวดล้อมในอาคาร (Indoor Environmental Quality) : การควบคุมคุณภาพขั้นต่ำของอากาศภายในอาคาร และการควบคุมควันบุหรี่
  • นวัตกรรมในการออกแบบ(Innovation in Design) : มีการใช้พรมดักฝุ่นที่ประตูทางเข้า การใช้ Sensor เพื่อช่วยในการหรี่ไฟบริเวณริมอาคาร เพื่อประหยัดพลังงาน และการเพิ่มพื้นที่สีเขียวบนหลังคา 
  • ความสำคัญเร่งด่วนของภูมิภาค (Regional priority) : การออกแบบในสิ่งที่ภูมิภาคที่โครงการสามารถตั้งอยู่ได้ มีปัญหาเร่งด่วน เช่น ถ้าภูมิภาคนั้นมีปัญหาเกี่ยวกับแอร์ทำงานตลอด แอร์ไม่ตัด ปัญหานี้มักเกิดจากคอมเพรสเซอร์แอร์ทำงานผิดปกติ ทำให้ต้องหมั่นตรวจเช็คแอร์เพื่อให้แอร์มีประสิทธิภาพที่ดี

ระดับการรับรองและคะแนนของมาตรฐาน LEED

มาตรฐาน LEED มีการกำหนดคะแนนเพื่อแบ่งลำดับขั้นต่าง ๆ ในการประเมินอาคารสีเขียวด้วยมาตรฐาน LEED โดยระดับคะแนนขึ้นอยู่กับสถานที่ตั้ง การใช้น้ำ พลังงานและบรรยากาศ การใช้วัสดุและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ คุณภาพสภาพแวดล้อมในอาคาร และนวัตกรรมในการออกแบบ ซึ่งความสำคัญเร่งด่วนของภูมิภาคโดยมีการแบ่งระดับ ดังต่อไปนี้

  • ระดับ Platinum 80 คะแนนขึ้นไป
  • ระดับ Gold 60-79 คะแนน
  • ระดับ Silver 50-59 คะแนน
  • ระดับผ่านการรับรอง Certified 40-49 คะแนน
CAI Engineering ผู้ใช้เทคโนโลยี BIM เพื่อตอบโจทย์อาคารสีเขียว

CAI Engineering ผู้ใช้เทคโนโลยี BIM เพื่อตอบโจทย์อาคารสีเขียว

CAI Engineering ได้ตระหนักถึงปรากฏการณ์เรือนกระจก ที่นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก ด้วยเหตุนี้เราจึงได้มีการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้กับงานคลีนรูม ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบไปจนถึงการใช้งานภายในอาคาร ไม่ว่าจะเป็น การใช้ BIM มาช่วยลดข้อผิดพลาดในการก่อสร้าง หรือระบบบริหารจัดการอาคารอัตโนมัติ อย่าง BAS/BMS ที่ได้นำมาควบคุมการทำงานของ AHU แบรนด์ Robatherm ด้วย Controller แบรนด์ Sauter ที่ทำการควบคุมได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ นอกจากนี้ยังใช้วัสดุอุปกรณ์ในการสร้างห้องคลีนรูมที่มีมาตรฐานต่าง ๆ เช่น ผนังคลีนรูม แบรนด์ดังอย่าง Wiskind ที่รองรับมาตรฐาน FM Approvals เพื่อให้ผู้ใช้งานมีปลอดภัยและสะดวกสบายในการใช้งานอาคาร อีกทั้งยังช่วยประหยัดพลังงาน เพื่อทำให้โรงงานของลูกค้านั้น ผ่านมาตรฐานการประเมินอาคารสีเขียว และผลักดันนโยบาย NET Zero ให้ประสบความสำเร็จ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ห้องแรงดันบวก VS ห้องแรงดันลบ แตกต่างกันอย่างไร ? สำคัญอย่างไรกับห้องปลอดเชื้อ

ห้องแรงดันบวก VS ห้องแรงดันลบ แตกต่างกันอย่างไร ? สำคัญอย่างไรกับห้องปลอดเชื้อ

มาเข้าใจหลักการทำงานและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างห้องแรงดันบวกและห้องแรงดันลบ ว่าทำไมทั้งสองประเภทจึงมีบทบาทสำคัญในห้องปลอดเชื้อกันกัน

Read More »
Cleanroom 101 : คู่มือปฏิบัติงานสำหรับมือใหม่ในห้องคลีนรูม

Cleanroom 101 : คู่มือปฏิบัติงานสำหรับมือใหม่ในห้องคลีนรูม

คำแนะนำในการทำงานรวมถึงชุดคลีนรูมที่ถูกต้องเพื่อให้ผู้ใช้งานห้องคลีนรูมเข้าใจและปฏิบัติตามมาตรฐานของห้องคลีนรูม (Cleanroom) ได้อย่างถูกต้อง

Read More »

By clicking “Accept”, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts. Privacy Policy

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า