ผนังกันไฟ หรือแผ่นฉนวนกันไฟ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับอาคารและผู้ใช้งาน ซึ่งช่วยลดความเสี่ยง ชะลอการแพร่กระจายของไฟและความร้อนในกรณีเกิดอัคคีภัย ซึ่งผนังกันไฟจะต้องมีคุณสมบัติที่แข็งแรงทนทาน กันความร้อน ไม่ติดไฟ และไม่ลามไฟ โดยผนังกันไฟมักใช้ในอาคารที่ต้องการความปลอดภัยสูง เช่น โรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ โดยมีวัสดุ 2 ประเภทที่นิยมใช้สำหรับผนังกันไฟ ซึ่งวันนี้เราจะมาแนะนำให้รู้จักกัน ได้แก่ PIR Sandwich Panel และ PU Sandwich Panel โดยทั้งสองชนิดมีคุณสมบัติที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เราจะมาไขคำตอบในบทความนี้กัน!
PIR Sandwich Panel และ PU Sandwich Panel คืออะไร?
- PIR Sandwich Panel : เป็นวัสดุก่อสร้างที่ทำจากแผ่นคอร์ (Core) วัสดุฉนวน Polyisocyanurate (PIR) ที่ถูกประกบระหว่างแผ่นหน้าและหลังด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น เหล็ก อลูมิเนียม หรือวัสดุป้องกันไฟฟ้าสถิตย์สำหรับการใช้งานในห้องคลีนรูมหรือห้องเย็น โดยมีคุณสมบัติในการเป็นฉนวนความร้อนที่ดี น้ำหนักเบา มีความทนทานต่อไฟ และความเสถียรต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ
โดย PIR Sandwich Panel มักใช้ในการก่อสร้างอาคารสำหรับการควบคุมอุณหภูมิ เช่น ห้องเย็น คลังสินค้า โรงงานผลิต และห้องคลีนรูม ที่ต้องการคุณสมบัติในการเป็นฉนวนความร้อนที่ดีและสามารถควบคุมอุณหภูมิได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังใช้ในโครงการอาคารที่ต้องการความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการติดตั้งและการก่อสร้าง เนื่องจากแผ่น PIR Sandwich Panel สามารถติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว ช่วยลดเวลาและต้นทุนในการก่อสร้างอีกด้วย
- PU Sandwich Panel: เป็นวัสดุก่อสร้างที่ประกอบด้วยแกนกลาง ซึ่งทำจากโพลียูรีเทน หรือ Polyurethanes (PU) ซึ่งเป็นชนิดของโฟมที่มีคุณสมบัติในการเป็นฉนวนความร้อนและเก็บเสียงที่ดีเยี่ยม ที่อยู่ระหว่างแผ่นวัสดุ เช่น เหล็ก อลูมิเนียม หรือวัสดุอื่น ๆ ที่มีความทนทานต่อสภาพอากาศและสารเคมี โดยมีคุณสมบัติในการช่วยลดการสูญเสียพลังงานและประหยัดค่าใช้จ่ายในการปรับอากาศ รวมถึงลดเสียงรบกวนจากภายนอกหรือภายในอาคาร ง่ายต่อการขนส่งและติดตั้ง ช่วยลดโครงสร้างในการแบกน้ำหนักของอาคาร
ซึ่ง PU Sandwich Panel ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในการก่อสร้างห้องเย็น คลังสินค้า โรงงาน สถานีเพาะชำ อาคารพาณิชยกรรม ห้องคลีนรูม และอื่น ๆ ที่ต้องการความคงทนและการเป็นฉนวนความร้อนที่ดี เนื่องจากมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการควบคุมสภาพแวดล้อมภายในอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความแตกต่างระหว่างคุณสมบัติของ PIR และ PU Sandwich Panel
PIR (Polyisocyanurate) และ PU (Polyurethane) Sandwich Panel เป็นวัสดุก่อสร้างที่ใช้สำหรับเป็นฉนวนกันความร้อนและความเย็น โดยทั้งสองมีลักษณะคล้ายกันแต่มีความแตกต่างที่สำคัญในเรื่องของคุณสมบัติและการใช้งาน ได้แก่
- คุณสมบัติด้านการป้องกันไฟ
PIR: มีคุณสมบัติทนไฟที่ดีกว่า PU และจะเปลี่ยนเป็นถ่านเมื่อถูกไฟ ช่วยลดการแพร่กระจายของเปลวไฟและการปล่อยก๊าซมีพิษ
PU: PU มีความไวต่อไฟมากกว่า PIR เพราะสามารถติดไฟและลุกลามได้ง่ายกว่า
- คุณสมบัติการฉนวนความร้อน
PIR และ PU: ทั้งสองมีประสิทธิภาพการฉนวนความร้อนที่ดี แต่ PIR มักจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าเล็กน้อยเนื่องจากโครงสร้างเซลล์ที่ปิดมากขึ้น
- ความทนทานต่อความชื้น
PIR: มีความทนทานต่อความชื้นและการซึมน้ำได้ดีกว่า PU ทำให้เหมาะสำหรับการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง
PU: แม้ว่าจะมีคุณสมบัติการเป็นฉนวนความร้อนที่ดี แต่มีความเสี่ยงต่อการดูดซับน้ำมากกว่า PIR ซึ่งอาจส่งผลให้ประสิทธิภาพลดลงเมื่อเวลาผ่านไป
- ต้นทุน
PIR: มีราคาสูงกว่าเนื่องจากมีความทนไฟและประสิทธิภาพการฉนวนความร้อนที่ดีกว่า
PU: โดยทั่วไปมีราคาถูกกว่า PIR ทำให้เป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับโครงการที่มีงบประมาณจำกัด
- การใช้งาน
PIR: เหมาะสำหรับสภาพแวดล้อมที่ต้องการการป้องกันไฟและความทนทานที่สูง เช่น ในอุตสาหกรรมหรือสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อไฟ
PU: เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไปที่ไม่ต้องการคุณสมบัติทนไฟสูง แต่ต้องการความเป็นฉนวนความร้อนที่ดีและต้นทุนที่ต่ำ
สรุป: PIR Sandwich Panel มีความทนทานต่อไฟมากกว่า PU Sandwich Panel เนื่องจากมีความต้านทานต่อสารเคมีและความชื้นได้ดีกว่า ทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า ถึงแม้ว่าทั้ง PIR และ PU จะมีประสิทธิภาพในการเป็นฉนวนความร้อนที่ดี แต่ PIR มักจะมีค่าการนำความร้อนที่ต่ำกว่าเล็กน้อย ทำให้มีประสิทธิภาพในการเป็นฉนวนความร้อนที่ดีกว่า PU และ PIR ยังมีความแข็งแรงที่ดีกว่า PU ทำให้เหมาะกับการใช้งานที่ต้องการความทนทานสูง

ข้อดีของ PIR Sandwich Panel ที่มีคุณสมบัติกันไฟได้ดีกว่า
1. เป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี : ด้วยค่า lambda ที่ 0.022 PIR ทำให้มีประสิทธิภาพในการเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดีที่สุดในตลาด โดยมีเพียงฉนวน Resol เท่านั้นที่มีค่าฉนวนที่สูงกว่า แต่ PIR ยังมีคุณสมบัติที่ดีกว่าในด้านความต้านทานต่อแรงกดและความชื้น รวมถึงความง่ายในการใช้งาน
2. วัสดุบาง มีน้ำหนักเบา : การเลือกใช้ PIR Sandwich Panel จะช่วยประหยัดพื้นที่เนื่องจากต้องการวัสดุที่น้อยลงในการบรรลุค่าฉนวนเดียวกัน และด้วยน้ำหนัก 32 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร PIR เป็นจึงเป็นวัสดุฉนวนที่มีน้ำหนักเบา ในขณะที่ฉนวน Mineral Wool สำหรับหลังคาแบนจะมีน้ำหนักมากกว่า 120 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
3. แข็งแรงทนทาน : PIR เป็นวัสดุฉนวนที่มีความทนทานสูง เนื่องจากมีความบางและเบา ทำให้โครงสร้างมีน้ำหนักเบาและช่วยประหยัดวัสดุก่อสร้าง
4. ความสามารถในการกันความชื้น : PIR เป็นวัสดุที่ไม่ดูดซับความชื้นจึงรักษาน้ำหนักและค่าความเป็นฉนวนเดิมไว้ได้ดี
5. สามารถรับน้ำหนักและทนแรงกดได้ : มีความสามารถในการทนทานต่อการเดินหรือยืนบนหลังคาที่ติดตั้งด้วย PIR Sandwich Panel
6. ไม่เป็นอันตราย เป็นมิตรกับผู้ใช้งาน : PIR Sandwich Panel ไม่สร้างฝุ่นหรือควัน ปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน และมีคุณสมบัติเทียบเท่ากับวัสดุฉนวนที่ไม่ติดไฟในการใช้งานจริง

ทำไมต้องเลือก PIR Sandwich Panel สำหรับห้องคลีนรูมและห้องเย็น
ห้องคลีนรูม (Cleanroom) เป็นห้องที่ต้องมีการควบคุมอย่างเข้มงวดเพื่อลดระดับของฝุ่น อนุภาค และมลพิษอื่น ๆ ในอากาศ ห้องนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมที่ต้องการความสะอาดระดับสูง เช่น อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ยา การแพทย์ และการผลิตอาหาร เป็นต้น การควบคุมสภาพแวดล้อมในห้องคลีนรูมช่วยป้องกันการปนเปื้อนของอนุภาคที่อาจส่งผลเสียต่อคุณภาพและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ การออกแบบและการบำรุงรักษาห้องคลีนรูมจึงต้องปฏิบัติตามมาตรฐานเฉพาะเพื่อรักษาระดับความสะอาดที่ต้องการได้
ห้องเย็น (Coldroom) เป็นห้องที่ออกแบบมาเพื่อรักษาอุณหภูมิต่ำ เพื่อการเก็บรักษาสินค้าที่ต้องการความเย็นเฉพาะ เช่น อาหาร ผลไม้ ผัก เนื้อสัตว์ ยา และสินค้าทางการเกษตร เป็นต้น ห้องเย็นมีความสำคัญอย่างยิ่งในการยืดอายุการเก็บรักษาสินค้า ป้องกันการเน่าเสีย และรักษาคุณภาพของสินค้า การออกแบบและการบำรุงรักษาห้องเย็นต้องคำนึงถึงการควบคุมอุณหภูมิอย่างเคร่งครัด รวมถึงระบบการระบายอากาศและฉนวนกันความร้อนเพื่อป้องกันการสูญเสียความเย็นที่ต้องการในพื้นที่ที่รักษาอุณหภูมิ ความสะอาด ความปลอดภัย และป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย
โดยแผ่นฉนวนกันไฟ PIR Sandwich Panel ได้รับความนิยมในการใช้งานสำหรับห้องคลีนรูม (Cleanroom) และห้องเย็น (Coldroom) เนื่องจากคุณสมบัติที่เหมาะสมและประโยชน์หลายประการที่ตอบโจทย์ความต้องการในการควบคุมสภาพแวดล้อมที่เฉพาะเจาะจงได้อย่างดี และเหตุผลหลักที่ทำให้ PIR Sandwich Panels เป็นที่นิยม เนื่องจากสามารถกันความร้อนได้ดี ไม่ทำให้ไฟลุกลาม มีความแข็งแรงทนทาน และยังช่วยกันเสียงจากภายนอกไม่ให้เข้ามาในห้องได้อีกด้วย
PIR Sandwich Panel แผ่นฉนวนกันไฟที่ CAI Engineering ใช้สร้างห้องคลีนรูม
CAI Engineering เราเลือกใช้แผ่นฉนวนกันไฟ PIR Sandwich Panel จากแบรนด์ WISKIND สำหรับงานก่อสร้างห้องคลีนรูมและห้องเย็น เนื่องจากมีคุณสมบัติในการกันไฟ กันความร้อนและความเย็นได้ดี เป็นมิตรต่อผู้ใช้งาน และมีความทันสมัยติดตั้งได้ง่าย อีกทั้งยังได้รับการรับรองมาตรฐานจาก FM Approvals หน่วยงานทดสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ด้านการป้องกันอัคคีภัยและระบบดับเพลิงในสหรัฐอเมริกา จึงมั่นใจได้ว่า PIR Sandwich Panel จาก แบรนด์ WISKIND มีประสิทธิภาพและปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุอัคคีภัยอย่างแน่นอน