ผนังห้องเย็น (Cold Room) และผนังห้องคลีนรูม (Cleanroom) แตกต่างกันอย่างไร?

ผนังห้องเย็น (Cold Room) และผนังห้องคลีนรูม (Cleanroom) แตกต่างกันอย่างไร?

การเลือกใช้ผนังที่เหมาะสมสำหรับห้องเย็นและห้องคลีนรูมมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากความต้องการและสภาพแวดล้อมของทั้งสองห้องมีความแตกต่างกัน ถึงแม้ว่าจะเลือกใช้ผนังสำเร็จรูปหรือผนังแซนวิช Sandwich Panel เช่นเดียวกันแต่ก็มีลักษณะของผนังที่ต่างกันออกไป โดยห้องเย็นจะต้องการผนังที่ออกแบบมาเพื่อช่วยรักษาอุณหภูมิในห้องให้คงที่ ช่วยป้องกันความร้อนจากภายนอกของห้องเย็น ส่วนห้องคลีนรูมจะต้องการผนังที่ออกแบบมาเพื่อช่วยควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น ความดัน รวมไปถึงป้องกันอนุภาค ฝุ่นละอองและสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ ร่วมด้วย เพื่อให้ห้องมีความสะอาดเป็นไปตามระดับมาตรฐานคลีนรูม

วัตถุประสงค์ในการใช้งานผนังแซนวิช

วัตถุประสงค์ในการใช้งานผนังแซนวิช

จุดประสงค์ของการใช้งานผนังแซนวิช (Sandwich Panel) สำหรับห้องแต่ละแบบ โดยขึ้นอยู่กับแต่ละอุตสาหกรรม ซึ่งสามารถแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการใช้งานได้ดังนี้

  • ผนังแซนวิชสำหรับห้องเย็น (Cold Room) : การใช้ผนังแซนวิช (Sandwich Panel) สำหรับห้องเย็นมีจุดประสงค์หลายประการ เช่น ป้องกันความเย็นออกจากห้อง ลดการสูญเสียความเย็น และป้องกันการเข้าถึงของอากาศร้อนจากภายนอก เพื่อรักษาอุณหภูมิในห้องเย็นให้คงที่และทำให้การเก็บรักษาอาหารหรือวัตถุดิบที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิเป็นไปได้ง่ายขึ้น
  • ผนังแซนวิชสำหรับห้องคลีนรูม (Cleanroom) : การใช้ผนังแซนวิช (Sandwich Panel) สำหรับห้องคลีนรูมมีจุดประสงค์ในการสร้างพื้นที่ที่มีความสะอาดและป้องกันการปนเปื้อน ผนังแซนวิชช่วยลดการเข้าถึงของสิ่งสกปรกหรือเชื้อโรคจากภายนอก ทำให้ง่ายต่อการทำความสะอาดและช่วยให้ง่ายต่อการรักษามาตรฐานความสะอาดของห้อง นอกจากนี้ยังมีความทนทานต่อสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการทำความสะอาดและดูดซับเสียงได้ดี ทำให้เหมาะสำหรับการใช้ในห้องที่ต้องการความสะอาดและควบคุมสภาพแวดล้อมต่าง ๆ

วัสดุที่ใช้ผลิตผนังห้องเย็นและผนังห้องคลีนรูม

ผนังห้องเย็นและผนังห้องคลีนรูม โดยทั่วไปจะเลือกใช้วัสดุหลักเป็นแผ่นฉนวนกันความร้อนและแผ่นเหล็ก ซึ่งวัสดุอื่น ๆ ที่ใช้จะแตกต่างกันไปตามลักษณะการใช้งานและงบประมาณ เช่น วัสดุที่ใช้ผลิต ความหนาของฉนวน หรือคุณสมบัติของผนัง เป็นต้น 

 

  • วัสดุที่ใช้ผลิต: วัสดุที่ใช้ผลิตสำหรับผนังห้องเย็นและผนังห้องคลีนรูม มีหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น

 

    1. PS Foam: Polystyrene Foam
    • ลักษณะ: เป็นวัสดุพอลิสไตรีนที่ใช้ในรูปแบบของโฟม ที่มีโครงสร้างมุมมองเฉพาะที่ช่วยในการกันความร้อนและความเย็น
    • คุณสมบัติ: มีความทนทานต่อความเย็นและความร้อน มีน้ำหนักเบา ช่วยในการดูดซับเสียง แต่มีความเปราะบางและติดไฟ 

 

    1. PU Foam: Polyurethane Foam
    • ลักษณะ: วัสดุโพลียูรีเทนที่ใช้ในรูปของโฟม มีโครงสร้างเซลล์ปิดที่ช่วยให้มีความสามารถในการกันน้ำและกันความร้อน
    • คุณสมบัติ: มีความทนทานต่อความเย็นและความร้อน มีประสิทธิภาพในการกันน้ำ มีความแข็งแรง แต่ทนต่อแสงแดดได้ไม่ดี และอาจมีสารที่เกิดการแพ้ต่อมนุษย์ อีกทั้งยังเป็นฉนวนที่ติดไฟ แต่ไม่ลามไฟ

 

    1. PUR Foam: Polyurethane Reactive Foam
    • ลักษณะ: เป็นรูปแบบของ Polyurethane (PU) ที่พัฒนาขึ้นมา มีรูพรุนขนาดเล็กมาก จึงทำให้กันน้ำและความชื้นได้ดี อีกทั้งยังมีความแข็งแรงและมีประสิทธิภาพทางความร้อน
    • คุณสมบัติ: มีความทนทานต่อความร้อนและความเย็น มีน้ำหนักเบา แข็งแรง และทนทาน

 

    1. PIR Foam: Polyisocyanurate Foam
    • ลักษณะ: เป็นรูปแบบของ Polyisocyanurate (PIR) ที่ให้ประสิทธิภาพในการกันความร้อนได้มากกว่าและมีค่าการลามไฟที่ต่ำกว่า PUR Foam ทำให้ปลอดภัยต่อการใช้งานในอาคารและสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้
    • คุณสมบัติ: มีความทนทานต่อความร้อนและความเย็น มีประสิทธิภาพในการกันน้ำ และมีความแข็งแรง จึงนิยมนำมาใช้ในงานต่าง ๆ อาทิ วัสดุก่อสร้าง เช่น ผนัง ฝ้าเพดาน หรือพื้น เป็นต้น

 

    1. FOAM
    •  ลักษณะ: เป็นคำทั่วไปที่ใช้บ่งบอกวัสดุโพลีโฟมในหลายรูปแบบ
    • คุณสมบัติ: มีความทนทานต่อความเย็นและความร้อน รวมถึงมีประสิทธิภาพในการดูดซับเสียงได้ดี 

 

    1. ROCKWOOL
    • ลักษณะ: วัสดุที่ทำจากใยหิน (Stone Wool) โดยนำหินมาหลอมเหลวด้วยอุณหภูมิที่สูงมาก และปั่นให้มีโครงสร้างเป็นเส้นใย จากนั้นนำมาอัดขึ้นรูปเป็นแผ่นหรือม้วนตามต้องการ
    • คุณสมบัติ: เป็นฉนวนกันความร้อนและเสียงที่ดีเยี่ยม ทนทานต่อความร้อนสูง และความชื้น อีกทั้งยังเป็นวัสดุที่ไม่ติดไฟ ไม่ลามไฟ และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

 

การเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมตามความต้องการของห้องเย็นและคลีนรูมจะมีผลในประสิทธิภาพของห้องและความปลอดภัยของสิ่งที่อยู่ในห้องนั้น ๆ และยังรวมไปถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ไม่ว่าจะเป็น…

 

  • ความหนาของฉนวน: ห้องเย็นเป็นห้องที่ต้องควบคุมความเย็นให้คงที่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงต้องเลือกใช้ฉนวนตรงกลางที่ค่อนข้างหนา เพื่อคงประสิทธิภาพในการเก็บรักษาสินค้าไว้ ส่วนห้องคลีนรูมนั้น ฉนวนไม่จำเป็นต้องหนาเนื่องจากทำงานภายใต้อุณหภูมิทั่วไป แต่ต้องป้องกันอากาศรั่ว เพื่อรักษาความดันภายในห้องให้เป็นปกตินั่นเอง

 

  • คุณสมบัติของผนัง: ผนังที่ใช้สำหรับห้องเย็นและคลีนรูมมีคุณสมบัติที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของการใช้งานพิเศษเหล่านี้ เช่น
    • ความกันน้ำและความป้องกันที่ดี: ผนังต้องมีความสามารถในการป้องกันน้ำและความชื้น เพื่อรักษาอุณหภูมิและความสะอาดในห้อง 
    • ความทนทานต่อสารเคมี: สำหรับห้องคลีนรูมผนังควรทนทานต่อสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการทำความสะอาด
    • ความสามารถในการทำความสะอาด: ผนังควรเป็นพื้นผิวที่ง่ายต่อการทำความสะอาดและไม่กระตุ้นการเกิดเชื้อโรคหรือแบคทีเรีย
    • ความทนทานต่ออุณหภูมิ: ผนังควรมีความทนทานต่ออุณหภูมิต่าง ๆ ทั้งความเย็นในห้องเย็นและอุณหภูมิสูงในห้องคลีนรูม
    • การดูดซับเสียง: ผนังที่ดีควรมีความสามารถในการดูดซับเสียงเพื่อลดระดับเสียงที่เกิดขึ้นในห้อง และป้องกันเสียงดังรบกวนจากภายนอกห้องได้
    • ความแข็งแรง: ผนังจะต้องมีความแข็งแรงทนทาน เพื่อรองรับน้ำหนักและป้องกันการทรุดตัวจากสภาพแวดล้อม

การออกแบบผนังให้ตอบโจทย์การใช้งาน

  • ผนังห้องคลีนรูม (Cleanroom)

– เน้นการออกแบบผนังให้มีความสวยงาม เนื่องจากเป็นพื้นที่ทำงานสำหรับบุคลากร

– บริเวณมุมของผนังห้องคลีนรูมจะต้องโค้งมน เพื่อให้ทำความสะอาดได้ง่าย

– ฉนวนตรงกลางไม่จำเป็นต้องหนามาก เนื่องจากใช้ทำงานภายใต้อุณหภูมิทั่วไปและต้องการป้องกันอากาศรั่วเข้าออก เพื่อรักษาความดันภายในห้องให้เป็นปกติเพียงเท่านั้น

– บริเวณผนังห้องคลีนรูมจำเป็นต้องมีกระจกเพื่อให้มองเห็นการทำงานด้านในได้ และที่สำคัญจะต้องเลือกใช้กระจกที่ไม่เกิดไอน้ำเกาะ และควรเป็นกระจกแบบ 2 ชั้น

  • ผนังห้องเย็น (Cold Room) 

– ไม่เน้นดีไซน์ที่สวยงาม เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่สร้างขึ้นมาเพื่อการจัดเก็บสินค้าเท่านั้น

– ผนังห้องเย็นไม่จำเป็นต้องปรับแต่งมุมให้โค้งมนและเรียบเนียนเท่ากับผนังห้องคลีนรูม

– ฉนวนของผนังห้องจำเป็นต้องมีความหนาเพื่อรักษาความเย็น และคงประสิทธิภาพของการเก็บรักษาสินค้าไว้ให้ยาวนาน

– ผนังห้องเย็นไม่มีความจำเป็นจะต้องมีกระจก เนื่องจากเป็นห้องที่ใช้ในการเก็บสินค้าเท่านั้น



การดูแลรักษาผนังห้องเย็น / ผนังห้องคลีนรูม

การดูแลและบำรุงรักษาผนังห้องเย็นและผนังห้องคลีนรูม จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอเพื่อยืดอายุการใช้งาน โดยการดูแลรักษาผนังห้องเย็น โดยทั่วไปจะเน้นไปที่การทำความสะอาดและซ่อมแซมรอยรั่ว ส่วนการดูแลรักษาผนังห้องคลีนรูมจะเน้นไปที่การทำความสะอาดและกำจัดฝุ่นละออง โดยสามารถดูแลบำรุงรักษาได้โดยใช้วิธีการเหล่านี้ เช่น  

  1. การทำความสะอาดประจำวัน: ให้ทำความสะอาดผนังประจำวันด้วยน้ำและสบู่เพื่อกำจัดสิ่งสกปรกและเชื้อโรคที่อาจสะสมได้
  2. การใช้สารล้างทำความสะอาด: ใช้สารล้างทำความสะอาดที่เหมาะสมตามวิธีการของผู้ผลิตหรือคำแนะนำเฉพาะ เพื่อป้องกันการทำลายพื้นผิวหรือวัสดุ
  3. การตรวจสอบความสมบูรณ์: ตรวจสอบผนังเพื่อความสมบูรณ์และทำการซ่อมแซมทันทีหากมีความเสียหาย
  4. การรักษาอุณหภูมิที่เหมาะสม: รักษาอุณหภูมิในห้องในเกณฑ์ที่ผู้ผลิตระบุ เพื่อรักษาประสิทธิภาพของผนังให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
  5. การป้องกันการกัดกร่อน: หากผนังมีความเสี่ยงที่จะเกิดการกัดกร่อน ให้ใช้วิธีการป้องกันด้วยการใส่ซิลิโคนหรือวัสดุกันกัดกร่อน เป็นต้น
  6. การรักษาความปลอดภัย: การรักษาความปลอดภัยในห้องเย็นและห้องคลีนรูม ควรตรวจสอบระบบทำความเย็น ระบบรักษาความสะอาด และอุปกรณ์ป้องกันเพื่อให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 

โดยการดูแลและบำรุงรักษาอย่างถูกต้องจะช่วยให้ผนังห้องเย็นและคลีนรูมมีอายุการใช้งานที่ยาวนานและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

WISKIND ผนังห้องเย็นและผนังห้องคลีนรูมที่ได้มาตรฐานสากล

CAI Engineering รับออกแบบและสร้างห้องคลีนรูม ด้วยผนังแบบ Sandwich Panel จากแบรนด์ WISKIND ที่ได้รับรองมาตรฐานอย่าง FM Approvals เพราะการดีไซน์ผนัง ประตู และ กระจกหน้าต่างของแบรนด์ WISKIND นั้นมีการออกแบบให้มีความทันสมัย อีกทั้งยังมีแบบให้เลือกหลากหลาย ทำให้เราสามารถเลือก ผนัง ประตู และกระจกหน้าต่าง ให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ามากที่สุด ทำให้ลูกค้าได้ห้องคลีนรูมที่ถูกใจและเหมาะสมตามการใช้งานที่ได้รับรองมาตรฐานจากสากล เพราะฉะนั้นหากคิดจะสร้างห้องคลีนรูม คิดถึง CAI Engineering

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ห้องแรงดันบวก VS ห้องแรงดันลบ แตกต่างกันอย่างไร ? สำคัญอย่างไรกับห้องปลอดเชื้อ

ห้องแรงดันบวก VS ห้องแรงดันลบ แตกต่างกันอย่างไร ? สำคัญอย่างไรกับห้องปลอดเชื้อ

มาเข้าใจหลักการทำงานและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างห้องแรงดันบวกและห้องแรงดันลบ ว่าทำไมทั้งสองประเภทจึงมีบทบาทสำคัญในห้องปลอดเชื้อกันกัน

Read More »
Cleanroom 101 : คู่มือปฏิบัติงานสำหรับมือใหม่ในห้องคลีนรูม

Cleanroom 101 : คู่มือปฏิบัติงานสำหรับมือใหม่ในห้องคลีนรูม

คำแนะนำในการทำงานรวมถึงชุดคลีนรูมที่ถูกต้องเพื่อให้ผู้ใช้งานห้องคลีนรูมเข้าใจและปฏิบัติตามมาตรฐานของห้องคลีนรูม (Cleanroom) ได้อย่างถูกต้อง

Read More »

By clicking “Accept”, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts. Privacy Policy

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า