9 Steps กว่าจะเป็นห้องคลีนรูม โดยวิศวกรมืออาชีพจาก CAI Engineering

9 Steps กว่าจะเป็นห้องคลีนรูม โดยวิศวกรมืออาชีพจาก CAI Engineering

ห้องคลีนรูม (Cleanroom) หรือห้องปลอดเชื้อ เป็นห้องที่ต้องคำนึงถึงความสะอาดเป็นอย่างสูง โดยต้องมีการควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิ ความชื้น ความดัน และฝุ่นละออง ให้เหมาะสมกับการใช้งานตามหลักการในอุตสาหกรรมและมาตรฐานห้องสะอาด ซึ่งกว่าจะมาเป็นห้องคลีนรูมจะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ เช่น วัสดุที่ใช้ การไหลเวียนของอากาศ หรืองานระบบปรับอากาศ (HVAC) และอื่น ๆ อีกมากมาย รวมไปถึงยังต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่าย หรือการใช้พลังงานในการดำเนินงานอีกด้วย 

โดยทาง CAI Engineering มีบริการการดูแลตั้งแต่การให้คำปรึกษา ออกแบบ รับสร้างและติดตั้งห้องคลีนรูมแบบครงวงจร สำหรับอุตสาหกรรมทุกประเภท เช่น ห้องคลีนรูมสำหรับอุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมการแพทย์ หรืออุตสาหกรรมอาหาร ตามหลักการออกแบบวิศวกรรมให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และเป็นไปตามมาตรฐาน ISO 14644 ในระดับสากล โดยวิศวกรมืออาชีพเฉพาะทางผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมคลีนรูมมามากกว่า 20 ปี

ปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการสร้างห้องคลีนรูม (Cleanroom)

ปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการสร้างห้องคลีนรูม (Cleanroom)

การสร้างห้องคลีนรูม (Cleanroom) มีปัจจัยสำคัญหลายประการที่ต้องคำนึงถึงเพื่อให้ได้ห้องคลีนรูมที่มีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์การใช้งาน และเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ โดยมีปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการสร้างห้องคลีนรูม ดังต่อไปนี้

  • ประเภทของห้องคลีนรูม (Types of Cleanrooms) : ประเภทของห้องคลีนรูมมีหลากหลายประเภท ดังนั้นจึงต้องเลือกประเภทของห้องคลีนรูมให้ตอบโจทย์ต่อการใช้งาน
  • อุณหภูมิและความชื้น (Temperature and Humidity) : การควบคุมอุณหภูมิและความชื้นเป็นสิ่งสำคัญมาก หากมีความชื้นที่สูงเกินไป อาจทำให้อุปกรณ์มีเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อนอยู่ได้ และหากความชื้นต่ำเกินไปอาจนำไปสู่การเกิดไฟฟ้าสถิต
  • ความดันอากาศ (Air Pressure) : ความดันอากาศสำคัญอย่างยิ่งในการควบคุมคุณภาพและความสะอาดของสภาพแวดล้อมภายในห้องคลีนรูม การควบคุมความดันอากาศจะถูกออกแบบมาให้เป็นความดันบวก เพื่อป้องกันอากาศที่มีสิ่งปนเปื้อนเข้ามาภายในห้อง
  • อัตราการหมุนเวียนอากาศ (Air Change Rate) : อัตราการหมุนเวียนอากาศช่วยรักษาระดับความสะอาดและควบคุมการปนเปื้อนภายในห้อง โดยใช้ DOAS เพื่อช่วยในการเติมอากาศจากภายนอก และนำเข้ามาสู่ภายในอาคารขนาดใหญ่ และ ใช้ OAU เพื่อรับอากาศจากภายนอกอาคารมาทำการลดอุณหภูมิ ความชื้น และกรองฝุ่นละอองก่อนที่จะจ่ายเข้าไปในภายในอาคาร 
  • มาตรฐานของห้องคลีนรูม: การเลือกระดับความสะอาดเป็นขั้นตอนแรกในการออกแบบห้องคลีนรูมเพื่อให้ตรงกับความต้องการในการใช้ห้อง โดยมีการกำหนดระดับความสะอาดตามมาตรฐาน ISO 14644-1 ซึ่งแบ่งระดับความสะอาดตั้งแต่ ISO1-ISO9
  • ระบบกรองอากาศ : เนื่องจากเป็นห้องที่ต้องการความสะอาดสูง ดังนั้นจึงมีการใช้ HEPA Filter เพื่อกำจัดอนุภาคขนาดเล็กภายในอากาศที่เข้าสู่ห้องคลีนรูม โดย Filter เหล่านี้มีความสำคัญในการรักษาระดับความสะอาดที่ต้องการ
  • การออกแบบและวัสดุของโครงสร้าง : วัสดุที่ใช้และการออกแบบของห้องคลีนรูมควรลดการสะสมของฝุ่นและง่ายต่อการทำความสะอาด

9 ขั้นตอนในการออกแบบและติดตั้งห้องคลีนรูมให้มีประสิทธิภาพ

CAI Engineering ในฐานะที่เราเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์ในด้านงานคลีนรูมมามากกว่า 20 ปี ซึ่งใช้องค์ความรู้ตามหลักวิศวกรรมในการออกแบบและก่อสร้างห้องคลีนรูม ผนวกกับการใช้เทคโนโลยี 4.0 อย่างเทคโนโลยี BIM ให้มีประสิทธิภาพ มีความถูกต้อง และแม่นยำอย่างสูงสุด ผ่าน 9 ขั้นตอนหลักที่เราจะนำเสนอ ดังนี้

  • ขั้นตอนที่ 1 : ประเภทของอุตสาหกรรมและระดับความสะอาดที่ต้องการ

ก่อนอื่นทางบริษัทผู้ออกแบบ Cleanroom จะต้องทราบว่าลูกค้าของเรา อยู่ในอุตสาหกรรมอะไร? ผลิตสินค้าประเภทไหน? ต้องการระดับความสะอาดแค่ไหน? 

  • ขั้นตอนที่ 2 : ประเมินทิศทางการไหลหรือการเคลื่อนที่ของอนุภาค 

การประเมินทิศทางการไหล หรือการเคลื่อนที่ของผู้คน รวมถึงอนุภาคอื่น ๆ ในห้องคลีนรูม เป็นสิ่งแรกที่วิศวกรต้องคำนึงถึง เพราะว่าคนคือแหล่งปนเปื้อนที่ใหญ่ที่สุดของห้อง Cleanroom ซึ่งทิศทางการไหลหรือการเคลื่อนที่ของอนุภาค เป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ สำหรับกระบวนการทางเภสัชกรรมและชีวเภสัชภัณฑ์ (Pharmaceuticals and Bio-Pharma) เพื่อป้องกัน Raw Material ปนเปื้อนสู่ Finished Product หรือ Waste Material ปนเปื้อนสู่ Intermediate Product

  • ขั้นตอนที่ 3 : การคำนวณ ออกแบบ และวางระบบปรับอากาศ HVAC 

ข้อมูลนี้จะนำมาทำการพิจารณาในการคำนวณปริมาณการจ่ายลมเข้าห้อง Cleanroom รวมถึงการกระจายความร้อนและการปรับขนาดของ HVAC อีกด้วย

  • ขั้นตอนที่ 4 : การคํานวณปริมาณการรั่วซึมของอากาศ และความสมดุลของอากาศ 

อย่างแรกต้องทราบว่าห้องต่าง ๆ ไม่ได้ปิดผนึกอย่างแน่นหนา มีการรั่วซึมของอากาศทั้งเข้าและออก โดยส่วนใหญ่ห้อง Cleanroom ที่ใช้ระบบผนังแบบ Modular Sandwich Panel ที่จะเป็นแบบกิ่งปิดสนิทมีอัตราการรั่วไหลของปริมาตร 1% ถึง 2% และหากการไหลเป็นแบบ Exfiltration แล้วปริมาณลมดูดจะน้อยกว่าปริมาณลมจ่าย ในทางตรงข้ามหากเป็นการไหลเป็นแบบ Infiltration แล้วปริมาณลมดูดจะมากกว่าปริมาณลมจ่าย

  • ขั้นตอนที่ 5 : การเลือกใช้วัสดุในการสร้างห้องคลีนรูม 

ในยุคปัจจุบันเทคโนโลยี ในการผลิตวัสดุผนัง ฝ้า และประตูได้ก้าวกระโดดอย่างมาก มีชนิดของผนังให้เลือกใช้มากมาย ระบบที่ยอดนิยมมากที่สุดคือ Sandwich Panel เราสามารถแบ่งประเภทวัสดุก่อสร้าง ได้ออกเป็น 2 ประเภทคือ Industrial Type กับ Biological Type

  • ขั้นตอนที่ 6 : การวิเคราะห์โครงสร้างอาคารเพื่อสร้างห้องคลีนรูม

โครงสร้างอาคารเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้ออกแบบ Cleanroom ต้องนำมาวิเคราะห์ หาความเป็นไปได้ในการสร้างห้อง Cleanroom ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด อาทิ ความสูงเหนือห้องคลีนรูม โครงสร้างหลังคา หรือพื้นที่ของโรงงาน เป็นต้น

  • ขั้นตอนที่ 7 : มาตรฐานและแนวทางปฏิบัติของอุตสาหกรรม 

ผู้ออกแบบ Cleanroom จำเป็นต้องใช้ระบบ Environment Monitoring System (EMS) ที่ Software รองรับมาตรฐาน 21 CFR Part 11 และปฎิบัติตาม GAMP 5 เพื่อที่จะสามารถทำ Computerized System Validation หรือ CSV ได้ หรือมีการตรวจสอบกลับของข้อมูล (Data)

ที่จดบันทึกแบบ Electronic ได้

  • ขั้นตอนที่ 8 : การทําลายเชื้อ (Disinfection) และการทําให้ปราศจากเชื้อ (Sterilization) ในอากาศ 

ใน Cleanrooms กลุ่ม Industrial อาจจะไม่จำเป็นต้องใช้ขบวนการฆ่าเชื้อในอากาศทั้งสองแบบนี้ เพียงทำการความสะอาดพื้นผิวของห้องถือว่าเพียงพอ เพราะ Industrial Cleanrooms จะมีตัววัดค่าฝุ่นเฉพาะ non-Viable particle แต่หากเป็น Cleanrooms กลุ่ม Biological แล้ว ทั้ง Disinfection หรือ Sterilization มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อทำการลดค่า Viable particle

  • ขั้นตอนที่ 9 : จรรยาบรรณวิชาชีพของผู้ออกแบบและสร้างห้องคลีนรูม

เพราะผู้ออกแบบห้อง Cleanroomไม่มีทางที่จะออกแบบให้เหมือนกันได้ถึงแม้ว่าผู้ว่าจ้างจะให้โจทย์เดียวกันก็ตาม ดังนั้นควรจะเลือกผู้ออกแบบที่มีประสบการณ์การเพื่อให้คลีนรูมมีคุณภาพตรงตามมาตรฐาน

CAI Engineering ผู้นำด้านอุตสาหกรรมห้องคลีนรูมแบบครบวงจร

CAI Engineering ผู้นำด้านอุตสาหกรรมห้องคลีนรูมแบบครบวงจร

CAI Engineering เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านงานคลีนรูม ให้คำปรึกษา ออกแบบ และสร้างห้องคลีนรูมแบบครบวงจรด้วยประสบการณ์ยาวนานกว่า 20 ปี ตั้งแต่ Consulting service, EPC Service, CQV Service ตลอดจน After Sales Service โดยออกแบบตามหลักวิศวกรและความต้องการของลูกค้า วางแผนจัดการงบประมาณให้คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพมากที่สุด อีกทั้งยังเลือกใช้วัสดุที่ดีมีคุณภาพ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการออกแบบและก่อสร้าง Cleanroom 4.0 มาประยุกต์ใช้ในการสร้างและใช้งานห้องคลีนรูม และแม้จะส่งมอบงานเรียบร้อยแล้ว CAI Engineering ก็มีวิศวกรผู้เชี่ยวชาญคอยอำนวยความสะดวกสบายให้แก่ลูกค้า เมื่อพบปัญหา เพราะความพึงพอใจของลูกค้า คือความภูมิใจของเรา

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ห้องแรงดันบวก VS ห้องแรงดันลบ แตกต่างกันอย่างไร ? สำคัญอย่างไรกับห้องปลอดเชื้อ

ห้องแรงดันบวก VS ห้องแรงดันลบ แตกต่างกันอย่างไร ? สำคัญอย่างไรกับห้องปลอดเชื้อ

มาเข้าใจหลักการทำงานและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างห้องแรงดันบวกและห้องแรงดันลบ ว่าทำไมทั้งสองประเภทจึงมีบทบาทสำคัญในห้องปลอดเชื้อกันกัน

Read More »
Cleanroom 101 : คู่มือปฏิบัติงานสำหรับมือใหม่ในห้องคลีนรูม

Cleanroom 101 : คู่มือปฏิบัติงานสำหรับมือใหม่ในห้องคลีนรูม

คำแนะนำในการทำงานรวมถึงชุดคลีนรูมที่ถูกต้องเพื่อให้ผู้ใช้งานห้องคลีนรูมเข้าใจและปฏิบัติตามมาตรฐานของห้องคลีนรูม (Cleanroom) ได้อย่างถูกต้อง

Read More »

By clicking “Accept”, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts. Privacy Policy

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า