วัตถุประสงค์ของการมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ในงานวิศวกรรมระบบทำความเย็นและปรับอากาศในประเทศไทย คือ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการใช้พลังงานที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการใช้พลังงานของระบบปรับอากาศนั้นคิดเป็น 40-60% ของพลังงานที่ใช้ในอาคาร ซึ่งถือว่าเป็นระบบที่ใช้พลังงานมากที่สุด โดยในด้านการทำความเย็นและปรับอากาศนั้น วิศวกรสามารถออกแบบระบบทำความเย็นที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นแต่ใช้พลังงานที่น้อยลงได้ นอกจากนี้ยังสามารถนำเทคโนโลยีที่ใหม่และทันสมัยมาใช้ เช่น การใช้พลังงานจากแหล่งที่มีก๊าซเรือนกระจกต่ำ หรือการใช้ระบบอัจฉริยะในการควบคุมอุณหภูมิอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนการลดระดับปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยออกมาให้มีความสมดุลกับปริมาณคาร์บอนที่ถูกดูดซับจากชั้นบรรยากาศ ซึ่งมีผลต่อการดูแลสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่นและระดับโลก
โดยตอนนี้ NET ZERO ถือเป็นเป้าหมายที่สังคมโลกในยุคปัจจุบันและอนาคตต่างจำเป็นต้องร่วมกันดำเนินการไปสู่การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ โดยเจ้าของโครงการผู้ใช้งานระบบปรับอากาศอย่าง HVAC (Heating, Ventilation and Air Conditioning) ทั้งในภาคอาคารพาณิชย์และภาคอุตสาหกรรม จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อผลักดันเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจให้มีคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมให้น้อยที่สุดนั่นเอง
เป้าหมาย Net Zero Carbon และบทบาทของอุตสาหกรรม HVAC
Carbon Neutral หรือ ความเป็นกลางทางคาร์บอน คือ ปริมาณการปล่อยคาร์บอนเข้าสู่ชั้นบรรยากาศเท่ากับปริมาณคาร์บอนที่ถูกดูดซับกลับคืนมา โดยการ “ลด” และ “ชดเชย”การปล่อยคาร์บอนจนเป็นกลาง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกลไลที่มีความสำคัญต่อโลกเราอย่างมาก เพราะจะช่วยให้โลกของเราน่าอยู่ต่อไปได้อย่างยาวนานและยั่งยืน ซึ่งแตกต่างจากเป้าหมายของ Net Zero Carbon คือการทำให้ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศที่เท่ากับปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกดูดกลับคืนมา โดยการ “ลด” และ “ กำจัด” เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้เป็นศูนย์
ซึ่งอุตสาหกรรม HVAC มีบทบาทที่สำคัญในการสร้างสภาพแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะมีผลต่อการลดการใช้พลังงานและลดการผลิตก๊าซเรือนกระจกที่มีส่วนรับผิดชอบในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากอุตสาหกรรม HVAC มีส่วนสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานสูงในการทำความร้อน ระบายอากาศ และปรับอากาศ โดยเฉลี่ยแล้วอุตสาหกรรมปรับอากาศทั่วโลกต่างปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งนับเป็น 10% ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดนั่นเอง
กลยุทธ์การประหยัดพลังงานในระบบ HVAC
- การบำรุงรักษาโดยทั่วไป (Regular Maintenance) : เป็นกระบวนการที่สำคัญเพื่อให้ระบบทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
- อุปกรณ์สำหรับควบคุมการทำงาน (Programmable Thermostats) : ช่วยในการควบคุมอุณหภูมิในอาคารตามตารางเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า และยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถปรับตัวระบบได้อย่างสะดวกและตรงตามความต้องการ
- การแบ่งพื้นที่ปรับอากาศ (Air Conditioning Zoning) : ทำให้สามารถควบคุมอุณหภูมิในแต่ละพื้นที่ของอาคารได้อย่างอิสระ และมีประสิทธิภาพ ลดการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็น และทำให้ผู้ใช้งานสามารถควบคุมสภาพอากาศให้เหมาะสมและตรงความต้องการของแต่ละโซน
- ฉนวนกันความร้อน (Insulation) : เป็นวัสดุที่ใช้เพื่อลดการสูญเสียความร้อนหรือการถ่ายทอดความร้อนระหว่างสองพื้นที่ที่มีอุณหภูมิต่างกัน
- ตรวจสอบการรั่วของท่อส่งลมเย็น (Leak Test) : เป็นกระบวนการที่ช่วยในการค้นหาและแก้ไขการรั่วของท่อส่งลมเย็นที่เสี่ยงต่อการสูญเสียพลังงานและประสิทธิภาพของระบบทำความเย็น
- ติดตั้งและเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง (Efficient Equipment) : กระบวนการเลือกและการติดตั้งอุปกรณ์ที่สามารถให้ผลลัพธ์ที่ดีในการประหยัดพลังงาน ลดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม และลดค่าใช้จ่าย
- แผ่นกรองอากาศ (Air Filter) : เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบปรับอากาศ เพื่อกรองฝุ่น เชื้อโรค และสิ่งสกปรกอื่น ๆ ที่อาจเป็นอันตรายหรือส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศภายในอาคาร
- การระบายอากาศตามธรรมชาติ (Natural Ventilation) : คือการใช้ลมที่อาศัยการลอยตัวของอากาศ เพื่อสร้างการเคลื่อนที่ของอากาศเข้าและออกจากอาคาร
- พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) : คือการใช้พลังงานที่สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่มีวันหมดอายุ เนื่องจากสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
- การนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่ (Heat Recovery System) : เป็นระบบที่ใช้เทคโนโลยีเพื่อกักเก็บความร้อนที่เกิดจากระบบทำความเย็นหรือระบบอื่น ๆ แล้วนำความร้อนกลับมาใช้ใหม่เพื่อประหยัดพลังงาน
- โหมดประหยัดพลังงานไฟฟ้า (DayLight Harvesting) : ช่วยควบคุมไม่ให้มีแสงสว่างที่มากเกินไปเมื่อมีแสงแดดส่องเข้าในอาคาร
- อุปกรณ์ควบคุมอัจฉริยะ (Smart Controller) : เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาควบคุมและจัดการระบบในอาคารหรือบ้านอย่างอัจฉริยะ
คาร์บอนฟุตพรินท์ของระบบ HVAC กลไกสำคัญสู่ Net Zero Emissions
การประเมินคาร์บอนฟุตพรินท์ของผลิตภัณฑ์ คือ การพิจารณาตั้งแต่การได้มาของวัตถุดิบจนไปถึงการกำจัดซากผลิตภัณฑ์ที่เกิดการใช้งานแล้ว ซึ่งเป็นแนวทางที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่าช่วยทำให้บรรลุเป้าหมายของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสาเหตุหลักของคาร์บอนฟุตพรินท์มาจากการใช้พลังงานปริมาณมากตลอดวัฏจักรการใช้งานในระบบ HVAC ที่มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกแฝงในกระบวนการต้นน้ำและปลายน้ำของระบบ จึงเกิดการร่วมมือกันของวิศวกรปรับอากาศและทำความเย็นในการขับเคลื่อนเส้นทางของอุตสาหกรรม HVAC สู่เป้าหมาย Net Zero Carbon เพื่อทำให้อุตสาหกรรมปรับอากาศในไทยก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำได้อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ
อ่านบทความเพิ่มเติมเรื่อง: การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ CFP ในระบบ HVAC&R
เทคโนโลยี/อุปกรณ์ใน HVAC System ที่เกี่ยวข้องกับการประหยัดพลังงาน
ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์ในระบบปรับอากาศ HVAC ที่มีส่วนช่วยในการประหยัดพลังงาน อาทิ ระบบควบคุมอัตโนมัติ เทคโนโลยี IoT หรือเทคโนโลยีสมาร์ทที่ใช้ AI ดังนี้
- ระบบควบคุมอัตโนมัติ (Building Automation System – BAS): ระบบนี้ช่วยในการจัดการและควบคุมการทำงานของระบบ HVAC อัตโนมัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น และคุณภาพอากาศ ซึ่งการใช้ BAS นี้จะช่วยลดการใช้พลังงานโดยการปรับตัวระบบให้ทำงานตามความต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ
- เทคโนโลยี IoT (Internet of Things): การใช้ IoT ในระบบ HVAC ช่วยในการรวบรวมข้อมูลและการควบคุมระบบได้อย่างอัตโนมัติผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้สามารถปรับการทำงานของระบบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- เทคโนโลยีสมาร์ทที่ใช้ AI (Artificial Intelligence): การผสมผสาน AI ในระบบ HVAC ช่วยในการทำนายและปรับระบบให้ตรงตามเงื่อนไขการใช้งานทำให้มีการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพและประหยัดมากขึ้น
CAI Engineering พร้อมขับเคลื่อนอุตสาหกรรม HVAC เพื่อเป้าหมาย Net Zero อย่างยั่งยืน
CAI Engineering ได้มีการตระหนักถึงภาวะเรือนกระจกในปัจจุบัน ซึ่งในอุตสาหกรรม HVAC ถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้พลังงานสูงที่สุดในทุกระบบของอาคาร จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นต้นเหตุหลักที่ทำให้เกิดปัญหาโลกร้อนขึ้น ดังนั้นเราจึงมุ่งมั่นที่จะพาอุตสาหกรรม HVAC ก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย Net Zero ได้อย่างแท้จริง โดยการนำนวัตกรรมต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในทุกขั้นตอนการสร้างคลีนรูม เช่น เทคโนโลยี BIM ที่ได้นำมาใช้ตั้งแต่การออกแบบ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ประหยัดเวลา และลดค่าใช้จ่าย ตลอดจนการนำระบบ BAS เข้ามาอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานในอาคาร และทำให้การใช้งานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ CAI Engineering ได้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในการสร้างห้องคลีนรูมที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน อย่างแบรนด์ Robatherm, Sauter และ WISKIND เป็นต้น
ที่มา: สมาคมวิศวกรรมปรับอากาศแห่งประเทศไทย (ACAT)
ข้อมูลอ้างอิง: สัมมนาวิชาการ – เส้นทางของ HVAC Industry สู่ Net Zero Carbon